วรรณกรรมไทยที่แปลจากพงศาวดารจีน นับเป็นเรื่องที่สามต่อจาก "สามก๊ก" และ "ไซฮั่น"
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่อง เลียดก๊ก นี้ มีหลักฐานเท่าที่ ปรากฏอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างน้อย ทราบเบื้องต้นเพียง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดประชุมนักปราชญ์ในราชสํานัก แปลพงศาวดารจีนเรื่องนี้ เป็นหนังสือจำนวน 153 เล่มสมุดไทย เมื่อ พ.ศ.2362 และโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2413
รายละเอียดเรื่องการแปลปรากฏในตอนต้นเรื่อง ซึ่งระบุผู้ที่มีส่วนในการแปลเรื่อง เลียดก๊ก ว่าเป็นผู้สูงศักดิ์ และทรงความสามารถ ถึง 11 คน คือ
- กรมหมื่นนเรศโยธี
- เจ้าพระยายมราช
- เจ้าพระยาวงษาสุรียศักดิ์
- พระยาโชดึกหนึ่ง
- ขุนท่องสื่อ
- จหมื่นไวยวรนาถ
- เล่ห์อาวุธ
- นายจ่าเรศ
- หลวงลิขิตปรีชา
- หลวงญาณปรีชา
- ขุนมหาสิทธิโวหาร
เนื้อเรื่องสลับซับซ้อน ว่าด้วยการขับเคี่ยวชิง ชัยกันระหว่างนครรัฐต่าง ๆ ในยุคศักดินาสวามิภักดิ์ ของจีน มีตัวละคร จํานวนมากนับพันตัว แสดงบทบาท ที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ ในแง่มุมต่างๆ โดยมีสงครามเป็นบรรยากาศ หลักของเรื่อง และ ในยุคนี้ได้ถือกําเนิดนักคิดคน สําคัญของจีน ได้แก่ เล่าจื๊อ ขงจื๊อ และหันเฟยจื้อ อีกด้วย
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนที่ เป็นเหตุการณ์ในเรื่องเลียดก๊กนั้น แบ่งออกเป็น 2 ช่วง เรียกว่า ยุคชุนชิว (722 ปีก่อน ค.ศ. ถึง 481 ปีก่อนคริสตศักราช) และยุคจั้นกว๋อ (403 ถึง 221 ปีก่อนคริสตศักราช )
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิว นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า "เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว 战国七雄" ได้แก่
- รัฐฉี 齐
- รัฐฉู่ 楚
- รัฐเยียน 燕
- รัฐหาน 韩
- รัฐเจ้า 赵
- รัฐเว่ย 魏
- รัฐฉิน 秦
อ่าน เลียดก๊ก ออนไลน์
"ห้องสมุดวชิรญาณ" โครงการห้องสมุดดิจิทัล ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือต่างๆ ในประเทศไทยในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงเพื่อศึกษาและค้น คว้าได้สะดวกอย่างกว้างขวางทั่วถึง
"เลียดก๊ก" ในเว็บไซต์ห้องสมุดวชิรญาณ เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปอ่าน หรือปริ้นท์หนังสือมาเก็บไว้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังมีหนังสือดี ๆ อีกมากมาย
เชิญนักอ่าน หรือท่านที่สนใจเข้าไปอ่านกันได้เลยครับ
น่าจะมีเขียนแปลเป็นแบบจีนกลาง เขียนแปลแบบจีนบ้านนอกอ่านแล้วขัดหูขัดตา
ตอบลบนั่นแหละ ตอนนี้ ผมยังสงสยในใจ ว่าหงอเส็ง มันคือใคร ไปหา googleก็มีแต่หมอเส็ง จะขายยาให้ซะงั้น 555
ตอบลบรอเมื่อไหร่หนังสือแปลจีน เป็นไทยสมัย รัชกาลที่ 1 หรือสมัยอื่นที่แปลเป็นไทยสำเนียงฮกเกี้ยน น่าจะแปลใหม่ให้เป็นสำเนียงจีนกลางได้แล้วนะครับ เพราะถ้าเอาไปเทียบกับหนังสือประวัติศาสตร์จีนที่แปลไทยสมัยหลังๆเป็นสำเนียงจีนกลางทั้งหมด จะเอามาศึกษาเทียบเคียงกันยากมาก
ตอบลบ