Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms)

สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms)

     สามก๊ก (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms ; จีนตัวย่อ: 三国演义; จีนตัวเต็ม: 三國演義; พินอิน: Sānguó yǎnyì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หมิง บทประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง (จีน: 羅貫中; พินอิน: Luó Guànzhōng) แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย

     สามก๊กมีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน ภาพโดยรวมของสามก๊กกล่าวถึงประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก ในปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 โดยจุดเริ่มต้นของสามก๊กเริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. 726 ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง รวมทั้งการแย่งและช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นของก๊กต่าง ๆ อันประกอบด้วยวุยก๊กหรือก๊กเว่ย (魏) จ๊กก๊กหรือก๊กสู่ (蜀) และง่อก๊กหรือก๊กหวู (吳) จนถึงการสถาปนาราชวงศ์จิ้นโดยสุมาเอี๋ยน รวมระยะเวลาประมาณ 60 ปี นอกจากนี้ สามก๊กยังเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับไซอิ๋ว ซ้องกั๋งและความฝันในหอแดง ซึ่งนักอ่านหนังสือจำนวนมากยกย่องสามก๊กเป็นบทเรียนตำราพิชัยสงครามภาคปฏิบัติ การบริหารและเศรษฐกิจ

----------------

สารบัญ

  1. ประวัติการประพันธ์
  2. สามก๊กในรูปแบบต่าง ๆ
  3. อาณาจักรสามก๊ก
  4. เนื้อเรื่องย่อสามก๊ก
  5. ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
  6. กลศึกสามก๊ก
  7. สงครามสามก๊ก
  8. ศิลปะการใช้คน
  9. ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
  10. ตัวละครหลัก
  11. การแปลเป็นภาษาต่าง ๆ
  12. ความนิยม
  13. สามก๊กในปัจจุบัน
----------------

ประวัติการประพันธ์

คำสาบานในสวนท้อ


สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น

ซึ่งจีนในขณะนั้นบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์วุ่นวายระส่ำระสาย เกิดการแตกแผ่นดินออกเป็นก๊กต่าง ๆ รวมสามก๊กด้วยกัน รวมทั้งมีการทำสงครามอันยาวนานนับ 100 ปี และสุดท้ายจีนที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่าก็กลับมารวมเป็นจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งในสมัยราชวงศ์จิ้นขึ้นปกครองประเทศจีนต่อ ภายหลังได้มีการชำระประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตในยุคนั้น โดยนักปราชญ์ชาวจีนชื่อตันซิ่ว(เฉินโซ่ว/Chen Sou)

บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจือ (จีน: 三國志) ซึ่งเป็นผลงานการเขียนในลักษณะพงศาวดารโดยตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว บัณฑิตแห่งราชวงศ์จิ้น อดีตข้าราชการอาลักษณ์คนหนึ่งของจ๊กก๊กที่ถูกกวาดต้อนมายังวุยก๊กหลังจากพ่ายแพ้ศึกสงคราม โดยเขียนขึ้นตามบัญชาของพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ต่อมาในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 1873 - พ.ศ. 1943 หลัว กวั้นจงในขณะที่เขากำลังทำงานเป็นกุนซือให้ก๊กต่อต้านราชวงค์หยวนกลุ่มหนึ่ง(ต่อมาถูกจูหยวนจางโจมตี) เขาได้นำซันกั๋วจือมาแต่งใหม่ในรูปแบบนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดนำมาจากซันกั๋วจือบ้างและแต่งเพิ่มเติมเองบ้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับซันกั๋วจือนั้น พบว่ามาจากซันกั๋วจือร้อยละ 70 และแต่งเองร้อยละ 30 โดยประมาณ

สามก๊กในรูปแบบต่าง ๆ

สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms)

เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสามก๊ก เคยมีผู้นำมาเล่าเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน และนำมาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีน จนกระทั่งหลัว กวั้นจง นักปราชญ์จีนในสมัยยุคราชวงศ์หมิง ในปี พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 2186 ได้นำสามก๊กมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้งในรูปแบบของหนังสือ ต่อมาภายหลังเม่าจงกังและกิมเสี่ยถ่าง (จิ้นเสิ้งทั่น) ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนของสามก๊กและนำไปตีพิมพ์ในจีน หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อของ "สามก๊ก" ได้กลายเป็นวรรณกรรมอมตะที่ได้รับการกล่าวขานและแพร่หลายในจีน รวมทั้งอีกหลาย ๆ ประเทศและได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบภาษาต่าง ๆ หลายภาษา

ซันกั๋วจื้อ

ซันกั๋วจื้อ (จีน: 三国志) ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของตันซิ่ว ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยของยุคสามก๊กชุดแรก ซึ่งถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด มีความยาว 65 เล่ม ประกอบไปด้วย วุยจี่ (จดหมายเหตุก๊กวุย) จำนวน 30 เล่มสมุด จ๊กจี่ (จดหมายเหตุก๊กจ๊ก) จำนวน 15 เล่มสมุด และง่อจี่ (จดหมายเหตุก๊กง่อ) จำนวน 20 เล่มสมุด มีตัวอักษรรวมทั้งหมดประมาณ 360,000 ตัว ซึ่งในตอนแรกนั้นตันซิ่วไม่ได้ตั้งชื่อบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊กว่า "ซันกั๋วจวื้อ" ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ต้าซ่งผู้หนึ่งเป็นผู้ตั้งให้ แต่เนื่องจากตันซิ่วรับราชการเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นหรือวุยก๊ก ซึ่งทำให้การเขียนจดหมายเหตุสามก๊กนั้นเป็นการเขียนที่ยึดเอาราชวงศ์จิ้นเป็นหลัก ตันซิ่วยกให้วุยก๊กของโจโฉเป็นก๊กที่ปกครองแผ่นดินอย่างถูกต้อง ส่วนจ๊กก๊กของเล่าปี่และง่อก๊กของซุนกวน กลายเป็นเพียงรัฐที่มีการปกครองเพียงบางส่วนของประเทศจีนเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ทำให้มุมมองของตันซิ่วที่มีต่อจ๊กก๊กและง่อก๊กแตกต่างจากสามก๊กของหลัว กวั้นจง ซึ่งนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กมาดัดแปลงเพิ่มเติมจนกลายเป็นสามก๊กในปัจจุบัน

ตันซิ่วกล่าวยกย่องจักรพรรดิของวุยก๊กทุกพระองค์ด้วยราชทินนามเช่น เรียกพระเจ้าโจโฉว่า "วุยบู๊เต๊" เรียกพระเจ้าโจผีว่า "วุยบุ๋นเต้" และเรียกพระเจ้าโจยอยว่า "วุยเหม็งเต้" และสำหรับพระเจ้าโจฮอง พระเจ้าโจมอและพระเจ้าโจฮวน ตันซิ่วยกย่องให้เป็นสามจักพรรดิพระองค์น้อย นอกจากนี้ตันซิ่วยังให้คำที่แปลว่าจักรพรรดิของแต่ละก๊กที่แตกต่างกัน โดยคำว่าจักรพรรดิของวุยก๊กใช้คำว่า "จี้" แปลว่าพระราชประวัติ แต่สำหรับจ๊กก๊กและง่อก๊ก ตันซิ่วเลือกใช้เพียงคำว่า "จ้วน" ที่แปลว่าชีวประวัติบุคคลเท่านั้น แต่สำหรับจักรพรรดิของจ๊กก๊กคือพระเจ้าเล่าปี่ ตันซิ่วยังคงให้เกียรติอยู่บ้างในฐานที่เคยอาศัยในจ๊กก๊ก จึงเรียกพระเจ้าเล่าปี่ว่า "เฉียนจวู่" แปลว่าเจ้าผู้ครองรัฐพระองค์แรก และเรียกพระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า "โฮ่วจวู่" แปลว่าเจ้าผู้ครองรัฐพระองค์หลัง แต่สำหรับง่อก๊กนั้นตันซิ่วเลือกใช้คำสามัญธรรมดาด้วยการเรียกชื่อโดยตรงคือซุนเกี๋ยน ซุนกวนและซุนเหลียงเป็นต้น

นอกจากนี้ตันซิ่วยังเปลี่ยนชื่อเรียกขานของจ๊กก๊กจาก "ฮั่น" เป็น "จ๊ก" ด้วยเหตุผลที่ว่าหากตันซิ่วเลือกใช้คำว่า "ฮั่น" ก็จะเท่ากับเป็นการให้เล่าปี่สืบทอดราชสมบัติและราชอาณาจักรต่อจากราชวงศ์ฮั่นอย่างถูกต้อง ซึ่งจะกลายเป็นการไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายวุยก๊ก ตันซิ่วจึงเลือกที่จะลดฐานะของเล่าปี่จากเชื้อสายราชวงศ์ฮั่นเป็นเพียงเจ้าผู้ครองมณฑลเสฉวนหรือจ๊กก๊กเท่านั้น ซึ่งการเลือกใช้คำเรียกเล่าปี่ของตันซิ่วนี้ เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ไม่พอใจและตำหนิตันซิ่วที่มีความลำเอียงและเลือกเข้าข้างวุยก๊กและราชวงศ์จิ้น รวมทั้งมีอคติที่ไม่ดีต่อจูกัดเหลียงที่สืบมาจากความเคียดแค้นในเรื่องส่วนตัว แต่ถึงอย่างนั้นนักประวัติศาสตร์จีนก็ให้การยกย่องตันซิ่วที่มีความสามารถในการเขียนประวัติศาสตร์ ที่สามารถเก็บบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด

ซันกั๋วจือผิงฮว่า

การแสดงงิ้วในฉบับซันกั๋วจือผิงฮว่า


ซันกั๋วจือผิงฮว่า (จีน: 三国之评话) เป็นการนำจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเขียนขึ้นใหม่ในรูปของนิทานและบทแสดงของงิ้วโดยนักปราชญ์สมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงประเพณีโบราณของจีนที่ให้ความสำคัญกับความกตัญญู ข้าราชการ เสนาธิการและเหล่าขันทีภายในราชสำนักจะต้องจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิอย่างไม่มีเงื่อนไข เนื้อหาบางส่วนของจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วที่กล่าวถึงโจโฉที่ใช้อำนาจในการข่มพระเจ้าเหี้ยนเต้ตลอดมานั้น รวมทั้งการที่โจผีบังคับให้พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติให้แก่ตน ตามหลักการของลัทธิขงจื๊อถือว่าเป็นบาปเท่ากับกลายเป็นโจรปล้นราชสมบัติ ซันกั๋วจือผิงฮว่าจึงกลายเป็นสามก๊กฉบับชาวบ้านที่เล่าสืบทอดกันมาและมีความแตกต่างจากจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว

ซันกั๋วจือผิงฮว่า เป็นการนำเอาหลักการความเชื่อในด้านศาสนาและลัทธิเต๋าของจีนมาผสมผสานไว้ในเนื้อเรื่อง ผูกโยงร่วมกับนิทานพื้นบ้านของจีนเรื่องไซ่ฮั่น โดยสมมุติเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในซันกั๋วจือผิงฮว่าใหม่ทั้งหมด ซึ่งตัวละครในแต่ละตัวจะพบผลกรรมที่ตนเองได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้ในยุคไซ่ฮั่นเช่น มีการแต่งเนื้อเรื่องเพิ่มเติมว่าฮั่นสินได้กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นโจโฉ เล่าปังหรือพระเจ้าฮั่นโกโจ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นพระองค์แรก กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ เนื่องจากในชาติที่แล้ว เล่าปังได้เนรคุณฮั่นสินที่มีบุญคุณต่อตนเองภายหลังจากได้ช่วยให้ครอบครองแผ่นดินได้สำเร็จ เมื่อกลับมาเกิดใหม่เป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้จึงถูกฮั่นสินที่กลับมาเกิดเป็นโจโฉกดขี่ข่มเหงและกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา หรือแม้แต่สุมาต๋ง ก็ได้หวนกลับมาเกิดใหม่เป็นสุมาอี้ ผู้วางรากฐานจีนแผ่นดินใหญ่และการรวบรวมก๊กต่าง ๆ ทั้งสามก๊กให้เป็นแผ่นดินเดียวกันได้สำเร็จ

ซันกั๋วจือผิงฮว่า ถูกนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในรูปแบบของนิทานพื้นบ้านและการแสดงงิ้วของคนจีน จึงพบว่ามีเนื้อหาบางและข้อมูลบางส่วนมีความผิดพลาดจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของจีนเช่น การให้เตียวหุยกลายเป็นสุดยอดขุนศึกที่มีความเก่งกาจ สามารถเอาชนะลิโป้ได้อย่างง่ายดายจนต้องหลบหนีเอาตัวรอด หรือแม้แต่เอาชนะจูล่งได้ที่กู่เฉิง บีบคออ้วนซงบุตรชายของอ้วนสุดจนตายคามือ เป็นต้น

เผย์ซงจือ

สามก๊ก ฉบับเผย์ซงจือ (จีน: 裴松之) เป็นการนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ และอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนโดยเผย์ซงจือ นักปราชญ์ที่เกิดและเติบโตในเมืองวิ่นเฉิงหรือมณฑลซานซีในปัจจุบัน เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม เผย์ซงจือได้รับราชการเป็นอาลักษณ์ให้แก่ราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ชำระจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยที่เผย์ซงจือชำระจดหมายเหตุสามก๊กเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 972 และมีการกล่าวเพิ่มเติมรวมทั้งให้คำอธิบายในบางส่วนเกี่ยวกับภูมิประเทศและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีการกล่าวอ้างถึงในต้นฉบับเดิม

นอกจากนี้ เผย์ซงจือยังแก้ไขในเรื่องของระยะเวลาที่มีความขัดแย้งในตัวเองของจดหมายเหตุสามก๊กและเพิ่มเติมความคิดเห็นบางส่วนของตนลงไป โดยที่ไม่ตัดทอนรายละเอียดและเรื่องราวต่าง ๆ ของจดหมายเหตุสามก๊กออกแต่อย่างใด จึงนับได้ว่าการชำระจดหมายเหตุสามก๊กของเผย์ซงจือทำให้ซันกั๋วจือเป็นที่กล่าวขานครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง

ซันกั๋วจือทงสูหยั่นอี้

ซันกั๋วจือทงสูหยั่นอี้ (จีน: 三国之通俗演義) เป็นสามก๊กฉบับนิยายที่ประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง นักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์หมิง ผู้เป็นศิษย์เอกของซือไน่อัน หลัว กวั้นจงเป็นผู้นำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ โดยแต่งเสริมเพิ่มเติมในบางส่วนจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ในแบบฉบับของตนเอง รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจีนให้กลายเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นการต่อสู้กันเองระหว่างฝ่ายคุณธรรมและฝ่ายอธรรมตามแบบฉบับของงิ้ว ที่จะต้องมีการกำหนดตัวเอกและตัวร้ายอย่างชัดเจนในเนื้อเรื่อง

สามก๊กของหลัว กวั้นจงได้มีการกำหนดให้เล่าปี่เป็นฝ่ายคุณธรรม มีจิตใจโอบอ้อมเมตตาอารีและมีคุณธรรมสูงส่งที่พยายามปราบปรามโจโฉที่เป็นฝ่ายอธรรม ช่วงชิงราชสมบัติและล้มล้างราชวงศ์ฮั่น ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติศาสตร์จีน นักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นถึงสามก๊กของหลัว กวั้นจงที่มีใจเอนเอียงไปทางเล่าปี่อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมีเหตุผลยืนยันความถูกต้องตามประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่

ซันกั๋วหยั่นอี้

ซันกั๋วหยั่นอี้ (จีน: 三国演義) เป็นสามก๊กที่ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่โดยเหมาหลุนและเหมาจ้งกัง สองพ่อลูกในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งได้ทำการปรับปรุงสามก๊กในแบบฉบับของหลัว กวั้นจงใหม่อีกครั้ง และมอบหมายให้กิมเสียถ่าง (จิ้นเซิ่งทั่น) เป็นผู้เขียนคำนำเรื่อง โดยที่สามก๊กฉบับที่เหมาหลุนและเหมาจ้งกังช่วยกันปรับปรุงแก้ไข โดยยึดแนวทางการเขียนของหลอกว้างจงเป็นต้นแบบคือแบ่งเป็นสองฝ่ายและแย่งชิงอำนาจวาสนากันในสมัยราชวงศ์ฮั่น ให้ฝ่ายเล่าปี่เป็นฝ่ายที่เป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นที่ถูกต้องของแผ่นดินจีน โจโฉเป็นฝ่ายกบฏที่ทะเยอทะยานในอำนาจของตนเอง

เหมาจ้งกังได้ปรับแก้ไขสำนวนการใช้ภาษาของหลัว กวั้นจงในบางจุด ซึ่งเป็นภาษาพูดและเป็นการใช้สำนวนภาษาแบบยุคราชวงศ์หยวนหรือหงวน ให้กลายเป็นการใช้สำนวนภาษาในแบบภาษาเขียนของราชวงศ์ชิงหรือแมนจู นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับเปลี่ยนลักษณะและบุคลิกของตัวละครในสามก๊กใหม่ทั้งหมดตามแนวความคิดของตนเอง รวมทั้งยังปรับเปลี่ยนชื่อและตำแหน่งขุนนาง สถานที่ของสามก๊กต้นฉบับของหลัว กวั้นจงผิดไปตามชื่อจริงในยุคนั้น ๆ ซึ่งสามก๊กของหลัว กวั้นจงนั้นได้เขียนชื่อตัวละคร ตำแหน่งและสถานที่ค่อนข้างชัดเจนและถูกต้องตามความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ แต่การปรับปรุงแก้ไขของเหมาหลุนและเหมาจ้งกังช่วยทำให้การดำเนินเรื่องไม่เยิ่นเย้อ เดินเรื่องกระชับ และเป็นการขัดเกลาภาษาทำให้อ่านสนุกน่าติดตาม

อาณาจักรสามก๊ก

ภาพแผนที่สามก๊กได้แก่วุยก๊ก จ๊กก๊กและง่อก๊ก

ในการปกครองบ้านเมืองของจีน ราชวงศ์ฮั่นถือเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปไกล ขับไล่ชนเผ่านอกด่านออกไปจากภาคเหนือของประเทศได้ ด้านทิศเหนือครอบครองแมนจูเรียและเกาหลีบางส่วน ทิศใต้ครองมณฑลกวางตุ้งและกว่างซีรวมถึงตอนเหนือของเวียดนาม ครั้นถึงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกหรือตงฮั่น จักรพรรดิทรงอ่อนแอ ขันทีมีอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขุนศึกหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่องและตั้งกองกำลังส่วนตัวขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไปทั่วแผ่นดิน ราษฎรได้รับความเดือนร้อนไปทั่วจนทำให้เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลืองขึ้น กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันโดยไม่สนใจรัฐบาลกลาง ในที่สุดแผ่นดินจีนแตกออกเป็นสามก๊กอย่างชัดเจนภายหลังจากที่โจโฉพ่ายแพ้แก่เล่าปี่และซุนกวนในการศึกที่ผาแดง เมื่อปี พ.ศ. 751

วุยก๊ก

วุยหรือเฉาเว่ย (จีน: 曹魏) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่

  • พระเจ้าโจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 - 769 
  • พระเจ้าโจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 - 782 
  • พระเจ้าโจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 - 797 
  • พระเจ้าโจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 - 803 
  • พระเจ้าโจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 - 808

วุยก๊กถูกยึดอำนาจโดยครอบครัวขุนนางตระกูลสุมา ต่อมาก็ถูกโค่นล้มราชวงศ์วุยโดยสุมาเอี๋ยน ซึ่งต่อมาภายหลังได้สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนและรวบรวมแผ่นดินที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

จ๊กก๊ก

จ๊กหรือสู่ฮั่น (จีน: 蜀汉) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263)จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่

  • พระเจ้าเล่าปี่ ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 764 - 766 
  • พระเจ้าเล่าเสี้ยน ปกครองจ๊กก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 766 - 806

จ๊กก๊กมีอายุได้แค่เพียง 42 ปีก็ล่มสลายลงด้วยกองทัพของวุยก๊ก เนื่องจากการปกครองแผ่นดินที่ล้มเหลวเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาไร้ความสามารถวัน ๆ เอาแต่เสพสุขของพระเจ้าเล่าเสี้ยน

ง่อก๊ก

ง่อหรืออาณาจักรหวูตะวันออก (จีน: 東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่

  • พระเจ้าซุนกวน ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 765 - 795 
  • พระเจ้าซุนเหลียง ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 795 - 801 
  • พระเจ้าซุนฮิว ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 801 - 807 
  • พระเจ้าซุนโฮ ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 807 - 823 

ง่อก๊กเป็นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาอาณาจักรสามก๊กที่ล่มสลายโดยกองทัพของสุมาเอี๋ยนและราชวงศ์จิ้น

เนื้อเรื่องย่อสามก๊ก

ภาพวาดเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สามพี่น้องร่วมคำสาบานในสวนท้อ

ภายหลังพระเจ้าฮั่นโกโจสถาปนาราชวงศ์ฮั่นจนมีอายุกว่าสี่ร้อยปี ในรัชกาลพระเจ้าเลนเต้ ฮ่องเต้ขาดความเฉลียวฉลาด เชื่อแต่คำของเหล่าสิบขันที เหล่าขุนนางถืออำนาจขูดรีดราษฏรจนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว โจรผู้ร้ายชุกชุมปล้นสะดมไปทั่วแผ่นดิน ดังจดหมายเหตุของจีนตอนหนึ่งได้บันทึกไว้ว่า "ขุนนางถือราษฏรดั่งหนึ่งอริราชศัตรู ขูดรีดภาษีอากรโหดร้ายยิ่งกว่าเสือ" เกิดกบฏชาวนานำโดยเตียวก๊ก หัวหน้ากลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองออกปล้นชิงเมืองต่าง ๆ จนเกิดความวุ่นวายแตกแยกแผ่นดินเป็นก๊กเป็นเหล่าภายใต้ขุนศึกต่าง ๆ

ภายหลังพระเจ้าเลนเต้สวรรคต เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชโอรสต่างพระชนนีสองพระองค์ พระเจ้าหองจูเปียนได้สืบทอดราชสมบัติโดยมีโฮเฮาพระชนนีเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในราชสำนักคงเกิดความวุ่นวายจากสิบขันที โฮจิ๋นผู้เป็นพระเชษฐาของโฮเฮาจึงวางอุบายให้ตั๋งโต๊ะมาช่วยกำจัดเหล่าขันที แต่โฮจิ๋นกลับถูกลวงไปฆ่าทำให้เหล่าทหารของโฮจิ๋นยกเข้าวังหลวงเพื่อแก้แค้นจนเกิดจลาจลขึ้น ภายหลังตั๋งโต๊ะยกทัพมาถึงวังหลวงและฉวยโอกาสยึดอำนาจมาเป็นของตน สั่งถอดพระเจ้าหองจูเปียนและปลงพระชนม์ และสถาปนาพระเจ้าหองจูเหียบขึ้นแทน ทรงพระนามว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้ และสถาปนาตนเองเป็นพระมหาอุปราช มีฐานะเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้

ตั๋งโต๊ะถืออำนาจเป็นใหญ่ในราชสำนัก สั่งประหารชีวิตผู้คัดค้านจนเหล่าขุนนางพากันโกรธแค้น โจโฉพยายามลอบฆ่าตั๋งโต๊ะแต่ไม่สำเร็จต้องหลบหนีออกจากวังหลวงและลอบปลอมแปลงราชโองการ นำกำลังทัพจากสิบแปดหัวเมืองมากำจัดตั๋งโต๊ะ แต่กองทัพหัวเมืองกลับแตกแยกกันเองจึงทำให้การกำจัดตั๋งโต๊ะล้มเหลว อ้องอุ้นจึงวางแผนยกเตียวเสี้ยนบุตรสาวบุญธรรมให้แก่ตั๋งโต๊ะและลิโป้บุตรบุญธรรม จนตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้เรื่องนางเตียวเสี้ยน ทำให้ลิโป้แค้นและฆ่าตั๋งโต๊ะ หลังจากตั๋งโต๊ะตาย ลิฉุยและกุยกีได้เข้ายึดอำนาจอีกครั้งและฆ่าอ้องอุ้นตาย รวมทั้งบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ภายใต้อำนาจ สร้างความคับแค้นใจให้แก่พระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นอย่างยิ่ง จนมีรับสั่งให้เรียกโจโฉมาช่วยกำจัดลิฉุย กุยกี จากนั้นโจโฉย้ายนครหลวงไปที่เมืองฮูโต๋

โจโฉเข้าปราบปรามกบฏและควบคุมราชสำนัก ทำศึกรบชนะลิโป้ จึงควบคุมหัวเมืองในภาคกลางไว้ได้ ในศึกกับลิโป้ก็ได้เล่าปี่มาเข้าสวามิภักดิ์ ระหว่างนั้นพระเจ้าเหี้ยนเต้มีความระแวงว่าโจโฉจะคิดทะเยอทะยาน ขณะนั้น เล่าปี่ซึ่งอ้างตนเป็นผู้สืบสายราชวงศ์ฮั่น มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ และได้รับแต่งตั้งเป็นพระเจ้าอา พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องการปราบโจโฉ จึงใช้พระโลหิตเขียนสาสน์ให้เหล่าขุนนางที่จงรักภักดีให้ช่วยกำจัดโจโฉแต่ถูกจับได้ทำให้เหล่าขุนนางถูกสังหาร แต่เล่าปี่ได้อ้างว่าจะนำทหารไปปราบอ้วนสุดแล้วแยกตัวออกมา จากนั้นก็ลุกฮือต่อต้านโจโฉ แต่ก็พ่ายแพ้ จึงต้องหนีลงไปเกงจิ๋วแล้วไปขอพึ่งพิงเล่าเปียว เตรียมทำศึกกับโจโฉต่อ

ระหว่างนั้น โจโฉทำศึกรวบรวมแผ่นดินภาคเหนือและภาคกลาง รบชนะกองกำลังต่าง ๆ สามารถปราบอ้วนเสี้ยวซึ่งครองภาคเหนือลงได้ จึงเข้าควบคุมจงหยวน หรือบริเวณภาคกลางและภาคเหนือในลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีนได้แทบทั้งหมด

โจโฉต้องการบุกปราบภาคใต้ แต่ฝ่ายเล่าปี่ ก็มีขุนพลทหารเอกที่เก่งกล้าอย่าง กวนอู เตียวหุย จูล่ง แล้วยังได้เชิญจูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง มาเป็นที่ปรึกษา ระหว่างนั้นขงเบ้งได้เสนอแผนการแบ่งแผ่นดินเป็นสามขึ้นมา แล้วแนะนำให้เล่าปี่จับมือเป็นพันธมิตรกับซุนกวน เจ้าเมืองกังตั๋ง พันธมิตรระหว่าง เล่า-ซุน จึงเกิดขึ้น แล้วซุนกวนก็ได้มอบหมายให้จิวยี่ เป็นแม่ทัพใหญ่ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันทำศึกกับโจโฉในยุทธการที่ผาแดง แล้วก็ได้รับชัยชนะ ทำให้แผ่นดินจีนเริ่มก่อสภาพเป็นสามขั้วใหญ่ขึ้น

โจโฉ ได้ตั้งหลักที่ภาคกลางและภาคเหนือ บีบบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้แต่งตั้งตนขึ้นเป็นวุยก๋งและเป็นวุยอ๋องตามลำดับ เล่าปี่เข้ายึดครองเกงจิ๋ว แล้วทำศึกเข้ายึดเมืองเสฉวนมาครอง และตั้งตัวอยู่ในภาคตะวันตก ซุนกวนตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ในกังตั๋งทางภาคตะวันออก ควบคุมกองทัพเรือที่เข้มแข็ง แต่ก็ไม่สามารถขยายดินแดนได้มากนัก หลังจากเริ่มก่อรูปเป็นสามก๊ก ทั้งสามฝ่ายต่างทำศึกสงครามกันตลอด แต่ก็ไม่อาจเอาชนะซึ่งกันและกันได้อย่างเด็ดขาด

ต่อมา โจโฉได้สิ้นชีพลง โจผีบุตรชายขึ้นครองราชสมบัติแทน สั่งปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ทรงพระนามว่าพระเจ้าเหวินตี้ ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์วุย เล่าปี่ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่นก็สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิสืบทอดราชวงศ์ฮั่น โดยใช้เมืองเสฉวนเป็นเมืองหลวง ซุนกวนซึ่งไม่ยอมขึ้นกับพระเจ้าโจผีหรือเล่าปี่จึงตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิบ้าง ปกครองเมืองกังตั๋ง

ภายหลัง พระเจ้าโจผี พระเจ้าเล่าปี่ และพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปหมดสิ้น ผู้เชื้อสายต่อมาเริ่มอ่อนแอลง จึงเป็นโอกาสให้ สุมาอี้ ที่ปรึกษาและมหาเสนาบดีของวุยก๊ก ซึ่งเข้ามาทำงานรับใช้สกุลโจตั้งแต่สมัยโจโฉ ได้เริ่มสร้างอำนาจบารมีมากขึ้น สุมาอี้ยังสามารถทำศึกชนะขงเบ้งได้ จึงยิ่งมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมา สุมาอี้ได้กระทำการชิงอำนาจโจซอง และได้สังหารเชื้อพระวงศ์ของวุย วางรากฐานให้ลูกหลาน

หลังจากสุมาอี้สิ้นแล้ว บุตรชายคือ สุมาเจียว ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นมหาอุปราชของวุยก๊กต่อมา ก็สามารถส่งทหารรบชนะจ๊กก๊ก ควบคุมตัวพระเจ้าเล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้สำเร็จ หลังจากสุมาเจียวตาย สุมาเอี๋ยนบุตรชายสืบทอดตำแหน่งแทนและช่วงชิงราชสมบัติของวุยก๊กมาจากพระเจ้าโจฮวนและแต่งตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิ ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยนสามารถปราบพระเจ้าซุนโฮแห่งง่อก๊กให้ยินยอมสวามิภักดิ์ได้สำเร็จ

นับแต่นั้น แผ่นดินจีนที่เคยแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่ามายาวนาน กลับรวมกันเป็นอาณาจักรเดียวได้อีกครั้ง ก่อนที่จะแตกแยกเป็นยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ในเวลาต่อมา

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

  • [accordion]
    • พ.ศ. 727 
      • เตียวก๊กตั้งกองกำลังโจรโพกผ้าเหลือง
        พระเจ้าเลนเต้แต่งตั้งโฮจิ๋น โลติด ฮองฮูสง จูฮี ให้เป็นแม่ทัพปราบโจรโพกผ้าเหลือง
        เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สาบานเป็นพี่น้องร่วมสาบาน
        เล่าปี่ โจโฉ และซุนเกี๋ยนร่วมศึกปราบโจรโพกผ้าเหลือง
        เตียวก๊ก เตียวโป้ และเตียวเหลียงเสียชีวิต โจรโพกผ้าเหลืองถูกปราบราบคาบ
        เล่าปี่ได้รับตำแหน่งนายอำเภออันห้อกวนหลังเสร็จศึกปราบโจรโพกผ้าเหลือง
        เตียวหุยทำร้ายผู้ตรวจการ (ต๊กอิ้ว) เล่าปี่ลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอ เดินทางไปอยู่กับกองซุนจ้าน
    • พ.ศ. 730
      • ซุนเกี๋ยนปราบโจรคูเสง และได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเตียงสา
    • พ.ศ. 732
      • เล่าปี่ช่วยเล่าหงีปราบโจรเตียวกี เตียวซุ่น
        เล่าปี่ได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเพงงวนก๋วน
        พระเจ้าเลนเต้สวรรคต หองจูเปียน พระราชบุตรองค์โต ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเซ่าตี้ โดยมีโฮจิ๋นเป็นผู้หนุนหลัง
        สิบขันทีลวงโฮจิ๋นมาฆ่า
        โจโฉและอ้วนเสี้ยวนำทหารกำจัดสิบขันที
        ตั๋งโต๊ะยกทัพเข้ายึดเมืองหลวงลกเอี๋ยง
        ลิโป้สังหารเต๊งหงวนพ่อบุญธรรมและฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของตั๋งโต๊ะ
        ตั๋งโต๊ะปลดพระเจ้าเซ่าตี้และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้
    • พ.ศ. 733
      • ตั๋งโต๊ะส่งคนมาปลงพระชนม์อดีตฮ่องเต้หองจูเปียนและพระนางโฮเฮาผู้เป็นพระมารดา
        โจโฉวางแผนกำจัดตั๋งโต๊ะ แต่ไม่สำเร็จ จึงหลบหนีออกจากเมืองลกเอี๋ยง
        โจโฉแอบอ้างราชโองการฮ่องเต้ ก่อตั้งกองกำลังจาก 18 หัวเมือง เพื่อล้มล้างตั๋งโต๊ะ
        อ้วนเสี้ยวได้รับเลือกให้เป็นผู้นำกองกำลังพันธมิตร โจโฉเป็นเลขาธิการกองทัพ
        ฮัวหยง ทหารเอกของตั๋งโต๊ะอาสาปราบกองทัพ 18 หัวเมือง สามารถสังหารขุนศึกได้หลายนาย แต่ก็พลาดท่าถูกกวนอูสังหาร
        เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ร่วมกันรบกับลิโป้ สร้างชื่อเสียงโด่งดัง
        ตั๋งโต๊ะเผาเมืองลกเอี๋ยง ย้ายเมืองหลวงไปเตียงฮัน
    • พ.ศ. 734
      • ซุนเกี๋ยนพบตราหยกแผ่นดินในซากเมืองลกเอี๋ยง
        กองกำลัง 18 หัวเมืองแตกสามัคคี แยกย้ายกันกลับเมืองของตน และบางส่วนวางแผนชิงเมืองของคนอื่นด้วย
    • พ.ศ. 735
      • อ้วนเสี้ยวเข้ายึดแคว้นกิจิ๋ว
        อ้วนเสี้ยวและกองซุนจ้านแตกหักกัน กรณีผลประโยชน์เมืองกิจิ๋ว กองซุนจ้านเปิดศึกกับอ้วนเสี้ยวที่แม่น้ำพวนโห้
        จูล่งช่วยชีวิตกองซุนจ้าน เล่าปี่เข้าร่วมกับกองซุนจ้าน
        ตั๋งโต๊ะอ้างราชโองการเพื่อให้อ้วนเสี้ยวและกองซุนจ้านสงบศึก
        ซุนเกี๋ยนถูกทหารของเล่าเปียวสังหารที่ซอกเขาฮีสัน ซุนเซ็กบุตรชายคนโตรับตำแหน่งแทนซุนเกี๋ยน
        อ้องอุ้นวางแผนใช้นางเตียวเสียนในการยุยงให้ลิโป้แตกคอกับตั๋งโต๊ะ
        ลิโป้สังหารตั๋งโต๊ะ
        ลิฉุย กุยกี ยึดเมืองเตียงฮัน ประหารอ้องอุ้น
        ลิโป้หนีออกจากเมืองเตียงฮัน
        โจรโพกผ้าเหลืองก่อการกำเริบขึ้นใหม่
        โจโฉออกปราบโจรโพกผ้าเหลืองในภาคตะวันออก และได้เป็นเจ้าแคว้นกุนจิ๋ว
    • พ.ศ. 736
      • เตียวคี ทหารโตเกี๋ยมเจ้าเมืองชีจิ๋ว สังหารโจโก๋บิดาของโจโฉและครอบครัว
        โจโฉยกทัพบุกชีจิ๋วเพื่อล้างแค้นให้บิดา
        เล่าปี่และขงหยงยกทัพไปช่วยโตเกี๋ยมที่ชีจิ๋ว
    • พ.ศ. 737
      • ลิโป้ร่วมมือกับเตียวเมา ตลบหลังโจโฉ ยึดแคว้นกุนจิ๋ว
        โจโฉยกทัพกลับเพื่อไปตีเอากุนจิ๋วคืนจากลิโป้ได้
        โตเกี๋ยมเสียชีวิต เล่าปี่ได้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทน จากคำร้องขอของโตเกี๋ยมก่อนตาย
    • พ.ศ. 738
      • ลิโป้รบแพ้โจโฉ เสียเมืองกุนจิ๋ว หนีไปพึ่งเล่าปี่ที่เมืองชีจิ๋ว
    • พ.ศ. 739
      • เอียวปิววางแผนหวังให้ลิฉุยและกุยกีแตกคอกันเอง
        พระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จหนีภัยไปเมืองลกเอี๋ยง
        โจโฉนำทัพปราบลิฉุยและกุยกี ลิฉุยและกุยกีพ่ายแพ้หลบหนี
        โจโฉทูลเชิญพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้ย้ายเมืองหลวงไปที่ฮูโต๋
        โจโฉได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช
        ลิโป้ยึดเมืองชีจิ๋ว แต่ก็ให้เล่าปี่พำนักที่เมืองเสียวพ่าย
        ซุนเซ็กใช้ตราหยกแผ่นดินแลกทหารกับอ้วนสุด แล้วนำทัพไปรวบรวมแคว้นกังตั๋งให้เป็นปึกแผ่น
        ลิโป้ตีเมืองเสียวพ่าย เล่าปี่หนีไปพึ่งโจโฉ
        โจโฉตีเมืองอ้วนเซีย เตียวสิ้วเจ้าเมืองยอมสวามิภักดิ์
        เตียวสิ้วก่อกบฏโจมตีโจโฉขณะที่ยังอยู่ในเมืองอ้วนเซีย โจงั่ง โจอั๋นบิ๋น และเตียนอุย เสียชีวิตในที่รบ ส่วนโจโฉนำทัพหนีกลับฮูโต๋
        เตียวสิ้วแต่งเตียวต๊กเป็นผู้คุมเมืองเตงเชีย
    • พ.ศ. 740
      • อ้วนสุดตั้งตนป็นฮ่องเต้
        ซุนเซ็กประกาศตัดขาดจากอ้วนสุด
    • พ.ศ. 742
      • ลิฉุย กุยกีถูกตวนอุย งอสิบสังหาร
        โจโฉ เล่าปี่ ลิโป้ ซุนเซ็กร่วมกันโจมตีอ้วนสุด อ้วนสุดพ่ายแพ้หลบหนี
        โจโฉยกทัพตีเตียวสิ้ว แต่ได้ข่าวว่าอ้วนเสี้ยวบุกฮูโต๋ จึงยกทัพกลับมารักษาฮูโต๋
        โจโฉยึดชีจิ๋ว ประหารลิโป้ แล้วได้เตียวเลี้ยวเป็นทหารเอก
        ตังสินรวบรวมกำลังคนคิดกำจัดโจโฉ
        อ้วนเสี้ยวมีชัยเหนือกองซุนจ้าน ยึดเมืองปักเป๋ง กองซุนจ้านฆ่าตัวตาย
        เล่าปี่ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองชีจิ๋ว
        เล่าปี่ยกทัพพิชิตอ้วนสุด
        อ้วนสุดเสียชีวิต
    • พ.ศ. 743
      • แผนลอบสังหารของตังสินถูกเปิดโปง ตังสินและพรรคพวกถูกประหาร
        โจโฉยึดเมืองชีจิ๋ว เล่าปี่หนีไปพึ่งอ้วนเสี้ยว เตียวหุยหนีไปเมืองเก๋าเซีย
        โจโฉจับตัวกวนอูได้ กวนอูไปอาศัยกับโจโฉ
        กวนอูสังหารงันเหลีบง บุนทิว แม่ทัพของอ้วนเสี้ยวที่แป๊ะแบ๊
        กวนอูได้ข่าวเล่าปี่จึงลาโจโฉจากไป
        กวนอูฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพล
        เล่าปี่ กวนอู เตียวหุยได้พบกันอีกครั้ง
        เล่าปี่ได้จูล่ง กวนเป๋ง จิวฉองมาร่วมกองทัพ
        ซุนเซ็กเสียชีวิต ซุนกวนน้องชายขึ้นครองตำแหน่ง
        โจโฉมีชัยต่ออ้วนเสี้ยวในศึกกัวต๋อ
    • พ.ศ. 744
      • เล่าปี่วางแผนลอบโจมตีเมืองฮูโต๋ร่วมกับเล่าเพ๊ก แต่พ่ายแพ้
        เล่าปี่หนีไปพึ่งเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋ว
        เล่าปี่เสนอให้เล่าเปียวลอบโจมตีโจโฉ แต่ถูกปฏิเสธ
    • พ.ศ. 745
      • อ้วนเสี้ยวเสียชีวิต อ้วนซงบุตรชายคนเล็กได้รับมอบอำนาจ
    • พ.ศ. 747
      • โจโฉยึดได้แคว้นกิจิ๋ว
    • พ.ศ. 750
      • อ้วนซงถูกสังหาร
        โจโฉได้ครอบครองภาคเหนือทั้งหมด
        เล่าปี่ช่วยเล่าเปียวปราบเตียวบู ตันสูน ได้ม้าเต๊กเลาไว้ในครอบครอง
        เล่าปี่ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองซินเอี๋ย
    • พ.ศ. 751
      • เล่าปี่ได้ขงเบ้งเป็นที่ปรึกษา
        ซุนกวนโจมตีกังแฮ สังหารหองจอ เจ้าเมืองกังแฮ
        ขงเบ้งวางอุบายเผาทัพโจโฉที่นำโดยแฮหัวตุ้นที่ทุ่งพกบ๋อง
        เล่าเปียวเสียชีวิต เล่าจ๋องบุตรชายคนเล็ก ขึ้นเป็นเจ้าแคว้นเกงจิ๋ว
        เล่าจ๋องยกแคว้นเกงจิ๋วให้โจโฉ
        เล่าปี่ถูกโจโฉตีแตกที่ทุ่งเตียงปัน
        จูล่งฝ่าทัพโจโฉช่วยชีวิตอาเต๊า (เล่าเสี้ยน) บุตรชายของเล่าปี่
        เตียวหุยขับไล่ทหารโจโฉที่สะพานเตียงปันเกี้ยว
        เล่าปี่หนีเข้าเมืองกังแฮ
        เล่าปี่และซุนกวนร่วมเป็นพันธมิตรต้านโจโฉ
        จิวยี่และขงเบ้งวางอุบายเผาทัพเรือโจโฉ
        จิวยี่เผาทัพเรือของโจโฉที่ตำบลเซ็กเพ็ก โจโฉหนีกลับฮูโต๋
    • พ.ศ. 752
      • เล่าปี่ยึดแค้วนเกงจิ๋ว ได้ฮองตงและอุยเอี๋ยนร่วมกองทัพ
        ซุนกวนรบโจโฉที่เมืองหับป๋า ไทสูจู้เสียชีวิตในการรบ
        เล่าปี่แต่งงานกับซุนฮูหยินน้องสาวซุนกวน
    • พ.ศ. 753
      • จิวยี่กระอักเลือดเสียชีวิต โลซกรับตำแหน่งแม่ทัพแทน
        เล่าปี่ได้บังทองเป็นที่ปรึกษา
    • พ.ศ. 754
      • โจโฉประหารม้าเท้งเจ้าเมืองเสเหลียง
        ม้าเฉียว บุตรชายม้าเท้ง ยกทัพโจมตีโจโฉแก้แค้นให้บิดา
        โจโฉตัดหนวดหนีตายจากม้าเฉียว
        โจโฉพิชิตกองทัพม้าเฉียว ยึดได้เมืองเสเหลียง ม้าเฉียวแตกทัพหลบหนี
    • พ.ศ. 755
      • โจโฉได้ขึ้นเป็นวุยก๋ง
        โจโฉปะทะซุนกวนที่ปากน้ำญี่สู
        เล่าปี่เปิดศึกชิงแคว้นเสฉวนกับเล่าเจี้ยง
    • พ.ศ. 756
      • บังทองเสียชีวิตที่เนินหงส์ร่วง
        เตียวหุยรบชนะเงียมหงัน เจ้าเมืองปากุ๋น แล้วได้เงียมหงันมาร่วมกองทัพ
        ม้าเฉียวเข้าด้วยกับเล่าปี่
        เล่าเจี้ยงยอมจำนนต่อเล่าปี่ เล่าปี่ได้ครองแคว้นเสฉวน ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเอ๊กจิ๋ว
    • พ.ศ. 757
      • โจโฉประหารมเหสีฮกเฮาและพระญาติ
    • พ.ศ. 758
      • โจโฉยึดได้เมืองฮันต๋ง
        ซุนกวนรบกับเตียวเลี้ยว แม่ทัพใหญ่ของโจโฉที่หับป๋า
    • พ.ศ. 759
      • โจโฉขึ้นเป็นวุยอ๋อง
    • พ.ศ. 760
      • โลซกเสียชีวิต ลิบองรับตำแหน่งแม่ทัพแห่งกังตั๋งแทน
        โจโฉแต่งตั้งโจผีเป็นรัชทายาท
    • พ.ศ. 762
      • เล่าปี่เปิดศึกชิงเมืองฮันต๋ง
        ฮองตงสังหารแฮหัวเอี๋ยน แม่ทัพของโจโฉ
        เล่าปี่ยึดได้ฮันต๋งและตั้งตนเป็นฮันต๋งอ๋อง
        เล่าปี่ตั้งกวนอู เตียวหุย จูล่ง ฮองตง และม้าเฉียวเป็นขุนพลห้าทหารเสือ
        กวนอูตีเมืองอ้วนเซีย
        ลิบองยึดเมืองเกงจิ๋วของกวนอู
        กวนอูและกวนเป๋ง ถูกซุนกวนจับได้ และถูกประหาร
    • พ.ศ. 763
      • ลิบองเสียชีวิต
        โจโฉถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองลกเอี๋ยง โจผีขึ้นเป็นวุยอ๋อง
        โจผีปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้และสถาปนาตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ ก่อตั้งราชวงศ์วุย
    • พ.ศ. 764
      • เล่าปี่สถาปนาตนเป็นฮ่องเต้แห่งจ๊กก๊ก
        พระเจ้าเล่าปี่จัดทัพเตรียมโจมตีซุนกวน แก้แค้นให้กวนอู
        เตียวหุยถูกฮอมเกียงและเตียวตัดผู้เป็นลูกน้องลอบสังหาร
        ซุนกวนขึ้นเป็นง่ออ๋อง
    • พ.ศ. 765
      • พระเจ้าเล่าปี่โจมตีง่อก๊กของซุนกวน แต่พ่ายแพ้ต่อกลอุบายของลกซุน ถูกเผาทัพที่อิเหลง
        พระเจ้าเล่าปี่เสด็จหนีไปเมืองเป๊กเต้
    • พ.ศ. 766
      • พระเจ้าเล่าปี่สวรรคตที่เมืองเป๊กเต้ เล่าเสี้ยนได้ขึ้นเสวยราชย์
        จ๊กก๊กและง่อก๊กกลับมาทำสัญญา คืนความเป็นพันธมิตรต่อกัน
    • พ.ศ. 767
      • พระเจ้าโจผีโจมตีง่อก๊กแต่ไม่สำเร็จ
    • พ.ศ. 768
      • ขงเบ้งยกทัพปราบชนเผ่าม่าน จับเบ้งเฮ็กหัวหน้าชาวม่านได้ 7 ครั้ง และปล่อยทั้ง 7 ครั้ง
        เบ้งเฮ็กสวามิภักดิ์ต่อขงเบ้ง
    • พ.ศ. 769
      • พระเจ้าโจผีสวรรคต โจยอยขึ้นครองราชย์
    • พ.ศ. 770
      • ขงเบ้งยกทัพตีวุยก๊กครั้งแรก
        สุมาอี้ เสนาธิการวุยก๊ก ถูกปลดจากตำแหน่งด้วยอุบายของขงเบ้งและม้าเจ๊ก
        เกียงอุยแห่งวุยก๊กสวามิภักดิ์ต่อขงเบ้ง
    • พ.ศ. 771
      • สุมาอี้กลับเข้ารับราชการ
        ม้าเจ๊กถูกสุมาอี้เสียค่ายที่ตำบลเกเต๋ง ถูกสุมาอี้ตีแตกพ่าย
        ขงเบ้งประหารม้าเจ๊ก
        ลกซุนเอาชนะโจฮิวที่ตำบลเซ็กเต๋ง
        จูล่งเสียชีวิตด้วยโรคชรา
        ขงเบ้งยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 2 แต่พ่ายแพ้ ต้องถอยกลับจ๊กก๊ก
    • พ.ศ. 772
      • ขงเบ้งยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 3 ยึดได้เมืองปูเต๋าและอิมเป๋ง แต่เสบียงหมด ต้องถอยทัพกลับ
        ซุนกวนสถาปนาตนเป็นฮ่องเต้แห่งง่อก๊ก
    • พ.ศ. 774
      • ขงเบ้งยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 4 แต่เสบียงหมด ต้องถอยทัพกลับ
        เตียวคับขุนพลวุยก๊กเสียชีวิตจากการซุ่มโจมตีของขงเบ้ง
    • พ.ศ. 777
      • ขงเบ้งยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 5 แต่ยังไม่ทันสำเร็จ ขงเบ้งก็ถึงแก่อนิจกรรม ณ ทุ่งราบอู่จ้าง ทัพจ๊กก๊กต้องถอนทัพกลับ
        อุยเอี๋ยนก่อกบฏต่อจ๊กก๊ก แต่ถูกม้าต้ายสังหาร
    • พ.ศ. 778
      • สุมาอี้ขึ้นเป็นมหาอุปราช
    • พ.ศ. 780
      • สุมาอี้พิชิตกองซุนเอี๋ยนแห่งเลียวตั๋ง
    • พ.ศ. 783
      • พระเจ้าโจยอยสวรรคต โจฮองขึ้นครองราชย์
        โจซองบั่นทอนอำนาจของสุมาอี้
    • พ.ศ. 788
      • ลกซุนเสียชีวิต
    • พ.ศ. 792
      • สุมาอี้ยึดอำนาจคืนจากโจซอง
        สุมาอี้ประหารโจซองและพรรคพวก
        แฮหัวป๋าสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊ก
        เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 1
    • พ.ศ. 794
      • สุมาอี้ถึงแก่อนิจกรรม สุมาสูบุตรชายขึ้นสืบทอดตำแหน่ง
    • พ.ศ. 795
      • พระเจ้าซุนกวนสวรรคต ซุนเหลียงขึ้นครองราชย์
        เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 2
    • พ.ศ. 797
      • สุมาสูปลดพระเจ้าโจฮอง ตั้งโจมอขึ้นครองราชย์
    • พ.ศ. 798
      • สุมาสูถึงแก่อนิจกรรม สุมาเจียวน้องชายขึ้นสืบทอดตำแหน่ง
        เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 3
    • พ.ศ. 799
      • เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 4
    • พ.ศ. 801
      • ซุนหลิมถอดพระเจ้าซุนเหลียง ตั้งซุนฮิว
        ซุนหลิมถูกพระเจ้าซุนฮิววางแผนสังหาร
        เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 5
        เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 6
    • พ.ศ. 803
      • พระเจ้าโจมอถูกปลงพระชนม์ สุมาเจียวตั้งโจฮวนขึ้นครองราชย์
    • พ.ศ. 804
      • เกียงอุยยกทัพตีวุยก๊กครั้งที่ 7
    • พ.ศ. 806
      • เตงงายยกทัพตีจ๊กก๊ก พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมจำนนต่อวุยก๊ก
    • พ.ศ. 807
      • เกียงอุยคิดกอบกู้จ๊กก๊ก แต่ไม่สำเร็จ จึงปลิดชีวิตตนเอง
        สุมาเจียวได้ขึ้นเป็นจิ้นอ๋อง
    • พ.ศ. 808
      • สุมาเจียวถึงแก่อนิจกรรม สุมาเอี๋ยนบุตรชายขึ้นสืบทอดตำแหน่ง
        สุมาเอี๋ยนปลดพระเจ้าโจฮวน สถาปนาตนเป็นฮ่องเต้ ก่อตั้งราชวงศ์จิ้น
        พระเจ้าซุนฮิวสวรรคต ซุนโฮขึ้นครองราชย์
    • พ.ศ. 823
      • กองทัพจิ้นโจมตีง่อก๊ก
        พระเจ้าซุนโฮสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์จิ้น
        พระเจ้าสุมาเอี๋ยนรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ

กลศึกสามก๊ก

ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก มีการทำศึกสงครามมากมายหลายต่อหลายครั้ง การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งการนำกำลังไพร่พลทหารในการบุกโจมตีและยึดครองสถานที่ หรือทางการพิชิตชัยชนะทางการทูตในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง การใช้คนอย่างถูกต้อง การโจมตีทางด้านจิตใจรวมทั้งการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มี เพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ซึ่งกันและกัน

แต่มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊ก

สงครามสามก๊ก

สงครามสามก๊ก

  • โจโฉ ผู้สถาปนาวุยก๊ก
  • เล่าปี่ ผู้สถาปนาจ๊กก๊ก
  • ซุนกวน ผู้สถาปนาง่อก๊ก
  • สุมาเอี๋ยน ผู้สถาปนาราชวงศ์จิ้น

ศิลปะการใช้คน

ตลอดทั้งเรื่องสามก๊ก เราจะสังเกตเห็นตัวละครทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น เล่าปี่ จูกัดเหลียง หรือ โจโฉ ต่างต้องการคนเก่งคนดีมาเข้าร่วมกับฝ่ายนั้น ๆ ซึ่งตัวละครหลักอย่างที่กล่าวมาขั้นต้นจะมีกลวิธีแตกต่างกันไป เช่น ครั้นอุยเอี๋ยนเคยคิดจะทรยศเล่าปี่ จูกัดเหลียงรู้ทันแผนการจึงจะสั่งประหารอุยเอี๋ยนเพราะไม่ต้องการคนที่ไม่มีสัตย์มารับใช้ แค่เล่าปี่รู้ว่าอุยเอี๋ยนแม้จะไม่มีความซื่อสัตย์แต่มีความสามารถ เล่าปี่จึงค้านให้จูกัดเหลียงประหารอุยเอี๋ยน อุยเอี๋ยนสำนึกในบุญคุณและไม่เคยทรยศเล่าปี่หรือจูกัดเหลียงอีกเลย ตลอดทั้งชั่วอายุที่เล่าปี่และจูกัดเหลียงมีชีวิต แต่อย่างไรก็ตามอุยเอี๋ยนคิดกบฏหลังจากที่จูกัดเหลียงเสียชีวิต แต่เราก็นับได้ว่าสัตย์ของอุยเอี๋ยนดังกล่าวนั้นจริง และการซื้อใจคนของเล่าปี่นั้นมีประโยชน์อยู่บ้าง

ในขณะเดียวกัน ครั้นซีชียังอยู่กับเล่าปี่ ซีชีนั้นมีใจรักรับราชการกับเล่าปี่และช่วยเล่าปี่ต่อสู้กับโจโฉ จนโจโฉพ่ายแก่เล่าปี่ลายครั้ง โจโฉจึงคิดจะแผนร้ายหวังให้ซีชีห่างจากเล่าปี่ก็เป็นพอ ไม่ได้คิดจะหากุนซือที่รู้ทันการณ์หรือความสามารถมารับมือกับซีชีเลย โจโฉจึงวางแกล้งแต่งหนังสือถึงซีชีว่าจะจับมารดาซีชีมาเผาทั้งเป็น เมื่อสารถึงมือซีชี ซีชีหลงอุบายแล้วจึงลาเล่าปี่ พร้อมยืนกรานว่าจะภักดีกับเล่าปี่ไม่คิดจะเสนออุบายใด ๆ แก่โจโฉ ซีชีก็ได้เข้ากับโจโฉ แต่ก็เสียมารดาของตนเพราะแค้นใจผูกคอตายที่ลูกหลงกลของโจโฉ อย่างไรก็แม้จะละทิ้งนายอย่างเล่าปี่ไปคุณความดีทีของซีชีก็มีอยู่บ้าง นั่นคือเฉลยว่า มังกรหลับ และ หงส์ดรุณ คือบุคคลใดในปริศนาของสุมาเต๊กโช พร้อมแนะนำศิษย์ร่วมสำนักอย่างขงเบ้งและบังทองแก่เล่าปี่ ไม่ว่าซีชีจะตามโจโฉไปรบที่ใด ซีชีจะปิดปากเงียบ ต่อมาในศึกยุทธการผาแดง ซีชีก็ติดตามโจโฉไปรบ ขงเบ้งและจิวยี่ก็วางแผนจะแตกทัพนาวีของโจโฉ แผนแตกทัพเรือนี้ประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือลมตะวันออกเฉียงใต้ และ นาวีทัพที่เชื่อมติดกัน จูกัดเหลียงจึงส่งบังทองให้ไปแนะโจโฉผูกทัพนาวีทั้งหมดเข้าด้วยกัน โจโฉหลงเชื่อบังทอง ด้วยความเป็นศิษย์ร่วมสำนักกับจูกัดเหลียงและบังทอง ซีชีรู้ทันแผนการทั้งหมดแต่กลับไม่ห้ามโจโฉ ซ้ำยังปล่อยข่าวลือว่าม้าเท่งแห่งแค้วนเหลียงตะวันตกจะเข้าตีฮูโต๋ว โจโฉห่วงหน้าพวงหลัง ซีชีจึงลาโจโฉกลับไปพิทักษ์ฮูโต๋ว แล้วปล่อยให้ทัพนาวีของโจโฉแตกพินาศ เช่นนี้แล้วแม้โจโฉจะได้ที่ปรึกษาที่เก่งกาจมีความรู้เหมือนจูกัดเหลียงและบังทองแต่ด้วยวิธีการของโจโฉ แม้ซีชีจะยอมเข้าร่วมแต่ก็ไม่สามารถทำให้ซีชีจะเต็มใจช่วยเหลือโจโฉได้

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก แสดงรายการเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เรียงตามลำดับเหตุการณ์ พร้อมอธิบายความแตกต่างระหว่างเนื้อเรื่องในวรรณกรรมและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

วรรณกรรมเรื่องสามก๊กมีเนื้อหาที่อิงมาจากประวัติศาสตร์ปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกต่อยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้อ่านหลายคนเข้าใจผิดว่าเนื้อเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในยุคสามก๊ก แหล่งข้อมูลของประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อหรือสามก๊กจี่) ที่เขียนโดยตันซิ่ว และเพิ่มอรรถาธิบายโดยเผยซงจือ แหล่งข้อมูลอื่นๆที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กได้แก่ โฮ่วฮั่นซู (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) ของฟ่านเย่ และ จิ้นซู (จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น) ของฝางเสฺวียนหลิ่ง ด้วยความที่วรรณกรรมเรื่องสามก๊กเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องหลายส่วนจึงเป็นเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้น หรือนำมาจากนิทานพื้นบ้าน หรืออิงมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคอื่นๆของประวัติศาสตร์จีน

ตัวละครหลัก

  • [accordion]
    • โจโฉ  (Cao Cao 曹操) 
    • โจโฉ  (Cao Cao 曹操)

      • โจโฉ เป็นชาวตำบลเจี้ยวจวิ้น เมืองเพ่ยโก้วะ (ตำบลเจียวก๋วน เมืองไพก็ก) มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่า เหมิ่งเต๋อ

        เดิมแซ่แฮหัว (เสี้ยโหว) แต่เนื่องจากโจโก๋ผู้บิดา เป็นลูกเลี้ยงของเฉาเถิง ขุนนางตำแหน่งจงฉางซื้อ จึงเปลี่ยนแซ่เป็นเฉา (โจ) ด้วย

        สูง 7 ฟุต คิ้วเล็ก หนวดยาว มีไหวพริบดีเลิศ ชอบสุรานารี ชำนาญในพิชัยสงคราม มีสติปัญญาสูงกว่าคนธรรมดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ เคยแต่งตำราพิชัยสงครางเล่มหนึ่งชื่อว่า เหมิ่งเต๋อชินชู แต่ถูกสบประมาทจากเตียงสงว่า ลอกขี้ปากคนโบราณมาก็สั่งให้ทำลายตำรานั้นเสีย

        ในสามก๊กไทย โจโฉดำรงตำแหน่งมหาอุปราช ในสามก๊กจีน โจโฉดำรงตำแหน่ง ไจเสี่ยง ซึ่งสามก๊กอังกฤษแปลว่า Prime Minister (สมุหนายก)

        สามารถควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ไว้ในอำนาจอย่างเด็ดขาด พระเจ้าเหี้ยนเต้พยายามกู้พระราชอำนาจ 2 ครั้ง ก็ถูกโจโฉจับได้ทุกที และลงโทษผู้ร่วมคบคิดอย่างรุนแรงที่สุด ถึงกับจับพระมเหสีไปฆ่า และยกลูกสาวของตนให้เป็นพระมเหสีแทน

        เป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในแผ่นดิน สามารถปราบเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆได้เกือบหมด เหลือเพี่ยงง่อก๊กของซุนกวน กับจกก๊กของเล่าปี่เท่านั้น

        ทำทีจะตั้งตัวขึ้นมาเป็นกษัตริย์ จึงสถาปนาตัวขึ้นเป็น จิ้นอุ้ยอ๋อง (วุยอ๋อง) ประกอบด้วยเครื่องราชอิสริยยศทั้ง 9

        เป็นโรคเส้นประสาทอย่างแรง ปวดศรีษะจนกระทั้งตาย เป็นการตายอย่างทรมานที่สุด สิ้นชีพที่เมืองลกเอี๋ยงอายุ 66 ปี ศพฝังที่เกาหลิง มณฑลส่านซี

        เมื่อโจผีผู้บุตร แย่งราชสมบัติได้จากพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั้งตัวเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ ได้สถาปนาโจโฉผู้ตายขึ้นเป็น อู่หวงตี้ (จักรพรรดิ) ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงค์วุย

        ภรรยาเดิมแซ่ติ้ง ไม่มีบุตรต่อกัน ภรรยาคนที่สอง ชื่อเล่าซี มีบุตรชายคนนึงชื่อโจงั่ง ตายในการรบเมืองอ้วนเซีย ภรรยาคนที่สามชื่อเปียนซี มีบุตรชาย 4 คนชื่อ โจผี โจเจียง โจสิด และโจหิม นางเปียนซีเป็นที่รักของโจโฉมาก และได้เลื่อนที่ขึ้นเป็นภรรยาหลวง
    • เล่าปี่ (Liu Bei 刘备)
    • เล่าปี่ (Liu Bei 刘备)

      • เล่าปี่ เป็นเชื้อพระวงค์ฮั่น สืบสกุลจากเล่าเส็ง(หลิวเสิ้ง) ผู้เป็นอ๋องครองเมืองจงซาน บิดาชื่อเล่าเหง (หลิวเจิ้ง) มีบรรดาศักดิ์เป็นโหว (พระยา) ครองเมืองตุ้นกวน (จวอเสี้ยน) มณฑลเหอเป่ย ขาดส่งเครื่องราชบรรณาการเซ่นบรรพบุรุษ จึงถูกปลดออกจากราชการ

        (เครื่องราชบรรณาการที่กล่าวนั้นเรียกว่า จ้อโฉว เป็นเงินที่ขุนนางต้องหามาถวายกษัตริย์เป็นประจำปี ตามความสำคัญของตำแหน่ง ถ้าหามาถวายไม่ได้ ก็ถูกปลดฐานหย่อนความสามารถ)

        เมื่อบิดาสิ้นชีพแล้ว เล่าปี่อยู่กับมารดาที่หมู่บ้านเล่าซองฉุน (โหวงซางชุน) เมืองตุ้นกวน ทอเสื่อและสานรองเท้าขายเลี้ยงชีวิต

        สูง 8 ฟุต หูยาน มือยาวเลยเข่า ตาชำเลืองเห็นถึงหู หน้าขาวราวหยก ริมฝีปากแดงดั่งทาชาด ใจคอกว้างขวาง สุภาพเรียบร้อย เยือกเย็น มีความกตัญญู พูดน้อย ยิ้มน้อย ดีใจหรือเสียใจไม่แสดงออกให้ปรากฏ มีชื่อรองว่า เสียนเต๋อะ แปลว่า ผู้มีคุณธรรมอันประเสริฐ

        ชำนาญในการใช้กระบี่ เหน็บกระบี่คู่ติดตัวเสมอ สาบานเป็นพี่น้องกับกวนอูและเตียวหุย พยายามสร้างตัวขึ้นจนกระทั้งได้ครองแคว้นจกก๊ก (เสฉวน ) เมื่อโจผีล้มราชวงค์ฮั่น ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ เล่าปี่ก็ตั้งตัวเป็นกษัติรย์ราชวงศ์ฮั่นสืบต่อไป ทางประวัติศาสตร์เรียกพระนามว่า เซียนจู่ (สามก๊กไทยเรียก เจี๋ยงบู๊) ต่อมาได้ยกทัพไปปราบง่อก๊กแก้แค้นแทนกวนอู แต่พ่ายแพ้ยับเยิน ประชวรสิ้นพระชนม์ที่เมืองเป็กเต้เสีย (ไป๋ตี้เฉิง) มณฑลเสฉวน พระศพฝังไว้ที่เมืองฮุ้ยหลิง ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าเล่ย์หวงตี้ (จักรพรรดิ) 
    • ซุนกวน (Sun Quan 孙权)
    • ซุนกวน (Sun Quan 孙权)

      • ซุนกวน ผู้เป็นบุตรของซุนเกี๋ยน เป็นน้องชายของซุนเซ็ก เกิดจากนางง่อฮูหยิน มารดาเดียวกัน มีชื่อรองว่า จงโหมว

        คางสี่เหลี่ยม ปากใหญ่ ตาสีเขียว หนวดสีน้ำตาล สติปัญญาดี จิตใจดี รักความเป็นธรรม มีความรู้กว้างขวางทั้งวิชาทหารและการปกครอง

        ได้ครองอำนาจในแว่นแคว้นกังตั๋งสืบต่อจากซุนเซ็กพี่ชาย อายุน้อยกว่า โจโฉ กับ เล่าปี่มาก อาศัยความรุ่งเรืองของการค้าขายติดแม่น้ำ สร้างความแข็งแกร่ง ให้กับก๊กตัวเอง ได้ใช้ชื่อว่า ง่อก๊ก  ได้ร่วมกับเล่าปี ขงเบ้ง โจมตีทัพเรือโจโฉแตกที่เซ็กเพ็ก (ชื้อปี้) ซึ่งเป็นประวัติการณ์ที่สำคัญยิ่งและทำให้แคว้นกังตั๋งเข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้นเป็นอันมาก ภายหลังพระเจ้าโจผีทรงแต่งตั้งเป็นเงาอ๋อง เพื่อกีดกันมิให้กังตั๋งร่วมเป็นพันธมิตรกับเล่าปี

        ซุนกวนดำรงตำแหน่งเป็นเงาอ๋องอยู่ 7 ปี จึงตั้งตัวเป็นกษัตริย์ ณ เมืองเกี๋ยนเงียบ (นานกิง) เมื่อปี พ.ศ. 772 (ค.ศ. 229) ครองราชย์สมบัติอยู่ 24 ปี จึงสิ้นพระชนม์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น ต้าหวงตี้ (มหาจักรพรรดิ)
    • กวนอู (Guan Yu 关羽)
    • กวนอู (Guan Yu 关羽)

      • กวนอู เป็นชาวตำบลเจ่ย์เหลียง (ไก่เหลียง) เมืองเหอตง (ฮอตั๋ง) มีชื่อรองว่า หวินฉาง (หุนเตี๋ยง)

        สูง 9 ฟุต หนวดยาว 2 ฟุต ใบหน้าเหมือนผลพุทรา ริมฝีปากแดงเหมือนทาชาด ตาดั่งนกหงส์ คิ้วดั่งตัวหนอนไหม เป็นคนไว้ตัวต่อคนที่สูงศักดิ์ แต่ถ่อมตัวต่อคนที่ต่ำศักดิ์ สู้กับคนที่เก่งกว่า ไม่รังแกคนที่อ่อนแอกว่า รู้คุณคน เจ็บแล้วจำจนตาย มีศีลมีสัตย์ รู้การทหาร ชำนาญในการใช้ง่าวเป็นอาวุธ ชอบอ่านประวัติศาสตร์ชุนชิว (คือประวัติศาสตร์ตอนราชวงค์โจววุ่นวายแตกแยกกันภายใน)

        เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่ เตียวหุย ช่วยกันตั้งตัวเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ไม่ทอดทิ้งกัน มีชื่อเสียงมากตอนหักด่านทั้ง 5 หนีโจโฉ และฆ่าทหารเอกของโจโฉเสีย 6 คน คือ ขงสิ้ว เบงทัน ฮันฮก เปี๋ยนฮี ออกเซ็ก จินกี๋

        เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของขงเบ้ง ได้เป็นผู้ครองแคว้นเกงจิ๋ว ภายหลังถูกอุบายของลิบอง แม่ทัพง่อก๊ก ยึดเกงจิ๋วไป และถูกจับตัวได้ที่ช่องเขาเจาสัน นอกเมื่องเป๊กเสีย (ไหมเฉิง) มณฑลหูเป่ย เนื่องจากไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อซุนกวน จึงถูกประหารชีวิต

        ตายแล้วได้รับบรรดาศักดิ์เป็น จงอี้โหว (ขุนนางชั้นพระยา) ศึรษะของกวนอู ซุนกวนส่งไปให้โจโฉ เพื่อป้ายความรับผิดชอบให้พ้นตัว โจโฉให้ฝังไว้ที่ริมประตูเมืองลกเอี๋ยงด้านทักษิณ 
    • เตียวหุย (Zhang Fei 张飞)
    • เตียวหุย (Zhang Fei 张飞)

      • เตียวหุย เป็นชาวเมืองตุ้นกวน (จวอเสี้ยน) มณฑลเหอเป่ย มีชื่อรองว่า จี้เต๋อ (สามก๊กไทยเรียก เอ๊กเต๊ก)

        ร่างสูง 8 ฟุต ศรีษะคล้ายเสือดาว ตากลมใหญ่ คางนกนางแอ่น หนวดเสื่อโคร่ง เสียงดังฟ้าลั่น มีกำลังวังชาราวม้าห้อตะบึง จิตใจรุนแรงราวไฟ มีศีลสัตย์หนักแน่นราวภูเขา เคารพผู้มีคุณธรรม เมตตาต่อผู้ยาก มีอาชีพขายสุราและฆ่าหมูขาย ถือทวนยาว 10 ฟุตเศษเป็นอาวุธ

        สาบานเป็นพี่น้องกับเล่าปี่ และกวนอู แล้วออกศึกร่วมกัน เพื่อสร้างตัวสร้างชาติ เริ่มแต่ปราบพวกโจนโพกผ้าเหลือง จนในที่สุดสามารถตั้งตัวขึ้นได้ที่แคว้นเสฉวน และเตียวหุยได้กินเมืองลองจิ๋ว (ปาซี) ครั้นกวนอูถูกซุนกวนฆ่าตาย พระเจ้าเล่าปี่โกรธ ยกทัพไปรุกซุนกวน เตียวหุยยกตามไปด้วย เตียวหุยเร่งรัดทหารเกินไป ตกกลางคือ ฮอมเกียงกับเตียวตัดนายทหารในบังคับบัญชา เห็นเตียวหุยเมาเหล้าหลับอยู่ก็เข้าไปแทงตาย แล้วตัดศีรษะนำไปสวามิภักดิ์ต่อซุนกวน

        เตียวหุยตายเมืออายุ 50 ปี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หวนโหว (พระยา) 
    • ขงเบ้ง (จูกัดเหลียง Zhuge Liang 诸葛亮)
    • ขงเบ้ง (จูกัดเหลียง Zhuge Liang 诸葛亮)

      • ขงเบ้ง เป็นชาวตำบลหยังตู เมืองหลังเอ๋ย์มณฑลซานตุง มีชื่อรองว่า ข่งหมิง (ขงเบ้ง) เป็นผู้สืบสกุลจากจูเก๋อฟง ผู้มียศเป็นซือลี้เจี้ยวอุ้ย ในราชวงค์หั้น

        สูง 8 ฟุต หน้าขาวนวลเหมือนหยกน้ำหนึ่ง โพกผ้ามีไหมห้อยระย้า ถือพัดขนนกเป็นนิจ

        เป็นผู้รักความยุติธรรม ซื่อตรง เปิดเผย รักความสงบ และความสันโดษ มีความรู้ความสามารถอย่างยอดเยี่ยม ชำนาญในพิชัยสงครามราวเทวดา

        เบื่อความวุ่นวายในประเทศ จึงหลบไปทำไร่ไถนาอยู่ที่เมืองหนานหยัง (ลำหยง) ณ เขาโงลังกั๋ง ชาวบ้านขนานนามว่า อาจารย์ฮกหลง (มังกรซ่อนกาย) เล่าปี่รู้ข่าวจากซีซี อุตส่าห์ไปหาถึงสามครั้งสามหน ขอเชิญตัวมาช่วยกู้แผ่นดิน จึงยอมลงมาช่วยเล่าปี่

        ดำรงตำแหน่งไจเสี่ยง (สมุหนายก) ของพระเจ้าเล่าปี่ และพระเจ้าเล่าเสี้ยนแห่งจกก๊ก คำพูด คำสอน หนังสือ และคำกราบบังคมทูลมีจำนวนมากมาย มีผู้รวบรวมเป็นชุด จำนวน 24 เล่ม

        ออกศึก ณ บริเวณเขากิสาน (ฉีซาน) ถึง 6 ครั้ง เพื่อปราบวุยก๊ก แต่มีอุปสรรค ถึงแก่กรรมในสนามรบ ที่อู้จ้าง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเม่ยอู่ มณฑลส่านซี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น อู่เซียงโหว (พระยา) ตายแล้วได้เลื่อนเป็น จงอูโหว 
    • สุมาอี้ (Sima Yi 司马懿)
    • สุมาอี้ (Sima Yi 司马懿)

      • สุมาอี้ เป็นชาวอำเภออุน เมืองเหอเน่ย (โห้ลาย) มณฑลเหอหนาน มีฉายาว่า ชงต๋า

        มีบุคลิกลักษณแปลกกว่าคนธรรมดา แววตาคมราวเหยี่ยว ท่าทางราวสุนัขจิ้งจอก เป็นคนฉลาดเฉียบแหลม ชำนาญพิชัยสงคราม เป็นคู่ปรับที่ร้ายแรงที่สุดของขงเบ้ง ทำให้ขงเบ้งไม่อาจเข้ายึดวุยก๊กได้ ทั้งๆที่ได้ใช้ความพยายามอย่างแสนสาหัส บางครั้งก็เกือบจะถูกสุมาอี้จับตัวได้

        มีบุตรสองคน คือสุมาสูกับสุมาเจียว ตำแหน่งสุดท้ายของสุมาอี้ คือเซงเสี่ยง (ฉบับอังกฤษแปลว่า Prime Minister คือ สมุหนายก) กับได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้ง 9 ซึ่งเรียกว่า จิ่วซิ ( สามก๊กภาษาอังกฤษแปลว่า Nine Gifts )

        สุมาอี้สิ้นชีพที่เมืองลกเอี๋ยง หลานชายแย่งราชบัลลังก์ได้จากพระเจ้าโจฮวน ตั้งตัวเป็นกษัตริย์แล้ว ได้สถาปนาสุมาอี้ขึ้นเป็นเซวียนตี้  จักรพรรดิ)
    • จูล่ง (Zhao Yun 赵云)
    • จูล่ง (Zhao Yun 赵云)

      • จูล่ง เป็นชาวตำบลเจิงติ้ง เมืองฉางซัน (เสียงสัน) มณฑลเหอเป่ย มีชื่อรองว่า จื่อหลง (จูล่ง)

        สูง 8 ฟุต คิ้วดก ตาโต หน้าผากกว้างโหนก เป็นคนซื่อ สุภาพเรียบร้อย กล้าหาญอย่างน่าอัศจรรย์ ชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ

        เดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว เห็นอ้วนเสี้ยวไม่มีสัตย์ จึงไปอยู่กับกองซุนจ้าน แล้วชอบพอรักใคร่เล่าปี่ผู้เป็นมิตรของกองซุนจ้าน ครั้งกองซุนจ้านถูกอ้วนเสี้ยวฆ่าตาย จูล่งจึงไปอยู่กับเล่าปี่

        ทำการรบมีความชอบมากมาย การรบที่ทำให้จูล่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคือ การรบที่เตียงปั่นเกี้ยว (ฉางปั่นเฉียว) นอกเมืองตงหยง (ตังหยัง) มณฑลหูเป่ย ซึ่งจูล่งแสดงความกล้าหาญ พาอาเต๊า บุตรเล่าปี่แหวกวงล้อมของโจโฉหนีรอดไปได้อย่างหวุดหวิด

        เป็นผู้ตีเมืองฮุยเอี๋ยน (กุ้ยหยัง) มณฑลหูหนาน ได้ด้วยกำลังทหารสามพัน เตียวหอมเจ้าเมืองจะยกนางฮวนซี พี่สะใภ้ให้เป็นภรรยาก็ไม่รับ อ้างว่าเล่าปี่ยังตั้งตัวไม่ได้ จึงไม่ขอมีภรรยา

        เป็นผู้ชิงตัวอาเต๊าจากนางซุนฮูหยินคืนมาได้ ขณะที่นางซุนฮูหยินถูกซุนกวนลวงให้กลับกังตั๋ง อ้างว่ามารดาเจ็บหนัก

        เป็นกำลังสำคัญของขงเบ้งในการปราบเบ้งเฮก เบ้งฮิว ในมณฑลยูนาน พระเจ้าเล่าปี่ตั้งให้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือ เมื่อตาย ขงเบ้งร้องไห้จนสลบ บอกว่าแขนซ้ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนขาดแล้ว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ซุ้นผิงโหว (พระยา) 
    • กำฮูหยิน (Lady Gan 甘氏)
    • กำฮูหยิน (Lady Gan 甘氏)

      • กำฮูหยิน เป็นชาวเมืองไพก๊ก มณฑลเจียงซู เป็นภรรยาหลวงของเล่าปี่ ให้กำเนิดอาเต๋า (ซึ่งต่อมาเป็นพระเจ้าเล่าเสี้ยน) ที่เมืองซินเอี๋ย ถึงแก่กรรมที่เมืองเกงจิ๋ว หลังจากเล่าปี่ยึดแคว้นนั้นไว้ได้

        เมื่ออาเต๋าเป็นกษัตริย์แล้ว ได้สถาปนาราชอิสริยยศให้เป็น เจ้าเล้ว์หวงโฮ้ว(ตำแหน่งฮองเฮา)

        พระศพฝังไว้ที่ลำกุ๋น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 765 ( ค.ศ. 222 ) ได้ย้ายพระศพไปฝังไว้ที่แคว้นจก(เสฉวน)
    • กุยแก (Guo Jia 郭嘉)
    • กุยแก (Guo Jia 郭嘉)

      • กุยแก เป็นชาวตำบลหยังตี๋ หรือหยังจ่าย เมืองอิ่งชวน มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า ฟ้งเสี้ยว

        เป็นที่ปรึกษาของโจโฉที่สำคัญที่สุด ตั้งแต่สมัยโจโฉตั้งตัวใหม่ๆ มีตำแหน่งเป็นเจิ้นตงเจียง (นายทหารพิทักษ์ภาคตะวันออก)

        เป็นผู้แนะนำให้โจโฉโจมตีทำลายอ้วนเสี้ยวผู้ครองแคว้นกิจิ๋ว ทั้งๆที่โจโฉกำลังน้อยกว่า เพราะเห็นว่าคนอย่างอ้วนเสี้ยวเลี้ยงคนไม่เป็น มีทหารมากก็เหมือนมีน้อย

        เมื่อโจโฉยกทัพไปตีแคว้นกิจิ๋วตามคำแนะนำของกุยแก ก็ประสบชัยชนะอย่างงดงามแต่กุยแกซึ่งไปด้วยป่วยตายกลางทาง ก่อนตายได้เขียนจดหมายแนะนำโจโฉว่า อ้วนฮี อ้วนซง บุตรอ้วนเสี้ยวที่หนีไปพึ่งกองซุนของในเลียวตังนั้น ขอให้โจโฉอย่ายกทัพไปตีเลียวตังเพราะกองซุนของคงจะตัดศีรษะอ้วนฮี และอ้วนซงส่งมาเอง ซึ่งการณ์ก็เป็นไปเช่นนั้นจริงๆ

        เข้ารับข้าราชการอยู่กับโจโฉตั้งแต่อายุ 27 ปี เป็นเวลา 11 ปี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 38 ปี ศพฝังที่ราชธานีฮูโต๋ มีตำแหน่งราชการเป็นจวินจี้จิ่ว ตายแล้วได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจินโหว (ขุนนางชั้นพระยา) 
    • เคาทู (Xu Zhu 许褚)
    • เคาทู (Xu Zhu 许褚)

      • เคาทู เป็นชาวอำเภอเจียว ในเมืองเจี้ยวโก้วะ (เจียวก๊ก) มณฑลอันฮุย มีชื่อรองว่า จังคัง

        เมื่อโจรโพกผ้าเหลืองก่อการกำเริบขึ้น ได้พาครอบครัวและสมัครพรรคพวกประมาณ 500 คน ไปอยู่ถ้ำที่เอ๊กจิ๋ว ต่อมาโจโฉยกทัพมาปราบคณะโพกผ้าเหลือง ได้พบกับเคาทู เคาทูรบกับเตียนอุย ทหารเอกโจโฉ ไม่แพ้ไม่ชนะกัน โจโฉชอบใจเกลี้ยกล่อมเอามาทำราชการ ตั้งให้เป็นตำแหน่งโตวเว่ย (สามก๊กไทยเรียกว่า โตอุ้ย และ แปลว่า นายทหารเอก ที่จริงตำแหน่งนี้เป็นนายทหารองครักษ์)

        เคาทูเป็นคนซื่อสัตย์ และเคร่งครัดต่อหน้าที่ วันหนึ่งถือทวนรักษาหน้าห้องนอนของโจโฉ โจหยินน้องชายโจโฉจะเข้าหาโจโฉในห้อง เคาทูไม่ยอมให้เข้า โจหยินโกรธ เกิดวิวาทกับเคาทู ได้ยินถึงโจโฉ ก็สรรเสริญว่าปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง

        เป็นคนมีกำลังมาก เคยดึงหางโคคู่หนึ่ง ลากกลับถ้ำโดยง่าย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นจิ้นอุยเจียงจวิน (นายพล)
    • งักจิ้น (Yue Jin 乐进)
    • งักจิ้น (Yue Jin 乐进)

      • งักจิ้น เป็นชาวเมืองหยังผิง ในเขตอุ้ยโก้วะ มีฉายาว่า อุ๋ยเชียน รูปร่างเล็ก เตี้ย แต่จิตใจห้าวหาญเข็มแข็ง ความคิดดี รอบคอบ

        รับราชการเป็นทหารอยู่ในบังคับบัญชาของโจโฉ เป็นที่เชื่อถือของโจโฉยิ่งนัก ออกรบแนวหน้าหลายครั้ง มีความชอบได้เลือนยศเป็นเจ๋อชงเจียงจวิน (นายพล) ป่วยตาย แล้วได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น อุยโหว (พระยา) 
    • จิวยี่ (Zhou Yu 周瑜)
    • จิวยี่ (Zhou Yu 周瑜)

      • จิวยี่ เป็นชาวเมืองอำเภอซู เมืองหลูเจียง (โลกั๋ ) มณฑลอันฮุย มีชื่อรองว่า กงจิน

        รูปร่างสง่างาม จิตใจกว้างขวาง มีความรู้ความสามารถทางทหาร ชำนาญการดนตรี และติดจะเจ้าชู้ ภรรยาชื่อเสียวเกี้ยว เป็นบุตรคนที่สองของเฉียวกง

        ชอบพอกับซุนเซ็ก เรียกซุนเซ็กว่าพี่ ร่วมมือกันสร้างอำนาจในกังตั๋งเป็นผลสำเร็จจึงได้เป็นเจี้ยนอุยจงหลังเจี้ยง (นายทหารองครักษ์) บัญชาการทหารอยู่ที่ด่านปาขิว ในมณฑลเจียงสี

        เมื่อซุนเซ็กตายแล้ว ได้ร่วมมือกับซุนกวนสร้างอำนาจต่อไป จนสามารถตีทัพเรือโจโฉที่เซ็กเพ็ก (ชื้อปี้) ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังยิ่ง

        ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 36 ปี ที่ด่านปาขิว

        ความในหนังสือสามก๊กว่า ขงเบ้งลวงจิวยี่ให้โกรธแค้นอย่างถึงขนาดถึง 3 ครั้งและตายด้วยความแค้นนั้น “จิวยี่คิดแค้นในใจนัก จึงแหงนหน้าขึ้นดูฟ้าแล้วร้องว่า เทพยดาองค์ใดหนอซึ่งให้เราเกิดมา แล้วเหตุใดจึงให้ขงเบ้งเกิดมาด้วยเล่า” แต่เรื่องเหล่านี้ไม่มีปรากฏในพระราชพงศาวดารจีน เป็นเรื่องแต่งขึ้นเพิ่มเติม
    • โจผี (Cao Pi 曹丕)
    • โจผี (Cao Pi 曹丕)

      • โจผี เป็นบุตรชายคนโตของโจโฉ เกิดจากนางเปียนซี มีชื่อรองว่า จื่อหวน เกิด ณ เจี้ยวจวิ้น แห่งเดียวกับโจโฉ

        เป็นคนทีไหวพริบดีอย่างพ่อ มีหัวเป็นกวี มีความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ ชำนาญในการขี้นม้ายิงเกาทัณฑ์และการใช้กระบี่ เป็นแม่กองร่วมกับโจสิดจัดสร้างปราสาทตั้งเซ็กไต๋ (ข่งเช่ไถ) ริมแม้น้ำเจียงโห ตามคำสั่งโจโฉ

        ออกศึกตั้งแต่อายุ 18 ปีเมื่อโจโฉยึดกิจิ๋วได้จากอ้วนเสี้ยว โจผีเห็นนางเอียนซี ภรรยาอ้วนฮี (บุตรอ้วนเสี้ยว) รูปงามยิ่งนัก ก็เอาไว้เป็นภรรยา

        เมื่อโจโฉสิ้นชีพแล้ว โจผีครองอำนาจในราชธานีสืบไป และได้โค้นล้มราชวงค์หั้นตั้งตัวเป็นกษัตริย์ราชวงค์วุย เมื่อปี 763 (ค.ศ. 220) ตั้งฮูโต๋เป็นราชธานีก่อนแล้วย้ายไปลกเอี้ยง

        โจผีครองราชสมบัติได้ 7 ปี จึงสิ้นพระชนม์เมื่ออายุ 40 ปี แล้วได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอุ๋นหวงตี้ ( จักรพรรดิ ) พระศพฝังที่หยังหลิง มณฑลส่านซี
    • ซิหลง (Xu Huang 徐晃)
    • ซิหลง (Xu Huang 徐晃)

      • ซิหลง เป็นชาวเมืองตำบลหยังจวิ้น เมืองเหอตง มณฑลซานสี มีฉายาว่า กงหมิง

        เป็นนักรบที่เข้มแข็งกล้าหาญ ซื่อตรง ชำนาญในการใช้ขวานใหญ่เป็นอาวุธ เดิมเป็นทหารอยู่ในบังคับบัญชาของเอียวฮอง ซึ่งตีจากลิฉูย กุยกีมาช่วยพระเจ้าเหี้ยนเต้คืนกลับพระนครลกเอี๋ยง โจโฉเห็นเป็นคนเก่ง ก็ให้หมันทองไปเกลี้ยกล่อมเอาตัวมาเป็นพวก และขอให้ตัดศรีษะเอียวฮองมากำนัลด้วย ซิหลงยอมเข้าด้วยกับโจโฉ แต่ไม่ยอมทำร้ายเอียวฮองผู้เป็นนายเก่า โจโฉตั้งให้ซิหลงเป็นเจี้ยวอุ้ย (นายพัน) ก่อน

        ซิหลงก็ได้ออกศึกในบังคัญบัญชาของโจโฉหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุด คือ การรบกับกวนอูที่เมืองอ้วนเซีย(หวั่นเฉิง) ความในสามก๊กว่า “กวนอูขี่ม้า ถือง้าวเข้ารบกับซิหลงได้ประมาณแปดสิบเพลง กวนอูชำนาญในขบวนรบหามีผู้ใดเปรียบมิได้ แต่ทว่าปวดไหล่ทั้งกำลังน้อย ซิหลงจึงต้านทานได้ ฝ่ายกวนเป๋งเห็นว่าบิดาป่วยอยู่ เกลือกจะสู้ซิหลงมิได้ จึงตีม้าล่อสำคัญให้ถอย”

        ชัยชนะครั้งนั้น ทำให้ซิหลงได้เลือนยศขึ้นเป็น อิ้วเจียงจวิน ( นายพลฝ่ายขวา ) เมื่อสุมาอี้ยกทัพไปปราบเบ้งตัดที่เมืองซงหยง ซิหลงเป็นกองทัพหน้าควบม้าพาทหารเข้าไปถึงคูเมือง ถูกทหารของเบ้งตัดระดมยิงด้วยเกาทัณฑ์ ถูกหน้าผากซิหลง พอกลับมาถึงค่ายก็สิ้นใจ

        ซิหลงตายเมื่ออายุ 59 ปี ศพฝังไว้ที่เมืองลกเอี๋ยง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น จ้วงโหว ( พระยา )
    • ตั๋งโต๊ะ (Dong Zhuo 董卓)
    • ตั๋งโต๊ะ (Dong Zhuo 董卓)

      • ตั๋งโต๊ะ เป็นชาวอำเภอหลินเถา เมืองหลงซี (หลงเส) มณฑลกานซุ มีชื่อรองว่า จ้งอิ่ง

        รูปร่างล่ำสันใหญ่โต มีกำลังบ่าเหนือคนอื่น ชำนาญการขี่ม้ายิงเกาทัณฑ์ ใจคอเหี้ยมเกรียม มักมากในกามารมณ์

        บิดาเป็นนายอำเภอหลินเถา เมื่อเกิดการกำเริบของโจรโพกผ้าเหลือง ตั้งโต๊ะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการปราบปราม แต่ทำการไม่สำเร็จ ต้องติดสินบนขันทีทั้ง 10 จึงรอดจากพระราชอาญา ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารประจำดินแดนภาคตะวันตก ณ เมืองซีหลง (คือหลงซี) ต่อมาโฮจิ๋นพี่นางโฮเฮา เรียกเข้ามาช่วยระงับความวุ่นวายในราชธานีลกเอี๋ยง ตั๋งโต๊ะเลยยึดอำนาจในเมืองหลวง ถอดหองจูเปียนออกจากราชบัลลังก์ ตั้งหองจูเหียบเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้ ภายหลังเลยหาเหตุฆ่าหองจูเปียนกันโฮเฮา ราชมารดาเสียเลย

        แล้วแต่งตั้งตัวเป็นเซียงก๊ก (สมุหนายก) ครองอำนาจเหนือพระเจ้าเหี้ยนเต้ อ้วนเสี้ยวกับโจโฉและหัวเมืองต่างๆจึงยกทัพมาปราบ ตั๋งโต๊ะสู้ไม่ได้เผาเมืองลกเอี๋ยงเสีย แล้วย้ายราชธานีไปตั้งที่เมืองเตียงฮัน มณฑลส่านซี

        อ้องอุ้นขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งภักดีกษัตริย์จึงวางอุบาย ส่งเตียวเสี้ยนสาวสวยเป็นนกต่อเข้าไปยุให้ตั๋งโต๊ะแตกคอกับลิโป้ทหารเอก ลิโป้จึงฆ่าตั๋งโต๊ะตาย เอาศพตระเวนรอบเมือง แล้วเอาประจานไว้ที่ทางสามแพร่ง ฟั่นชุดใส่สะดือ เอาไฟจุดตามต่างตะเกียง ภายหลังมีผู้ภักดีเอาศพไปฝังที่เมืองเม่ยอู่ แต่ก็ถูกฟ้าผ่า พายุพัดฝนตกหนัก ทำลายกระดูกหมดสิ้นไป 
    • เตียวเลี้ยว (Zhang Liao 张辽)
    • เตียวเลี้ยว (Zhang Liao 张辽)

      • เตียวเลี้ยว เป็นชาวตำบลหม่าอี้ เมืองเอี้ยนเหมิน มณฑลซานสี มีชื่อรองว่า อุ๋นเหวี่ยน

        เดิมแซ่เน้ย์ แต่เพื่อหลบหลีกศัตรู จึงเปลี่ยนเป็นแซ่เตียว เป็นนักรบผู้มีฝีมือยอดเยี่ยม ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ชำนาญในพิชัยสงคราม ซื่อตรง

        เข้าเป็นทหารของลิโป้ก่อน เมื่อลิโป้ถูกโจโฉประหารชีวิตแล้ว โจโฉเกลี้ยกล่อมเตียวเลี้ยวไว้เป็นพวก เตียวเลี้ยวก็ตกลง จึงได้รับยศทหารเป็นจงหลังเจี้ยง (นายทหารองครักษ์) ทำการรบมีชื่อเสียงโด่งดังโดยรวดเร็ว เป็นที่ครั่นคร้านของฝ่ายตรงข้ามมาก โจโฉจึงให้ครองเมืองหับป๋า (เหอเฟย) ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญต่อกับกังตั๋ง ซุนกวนยกทหารสิบหมื่นมาโจมตี เตียวเลี้ยววางแผนยุทธศาสตร์อย่างแนบเนียน นำทหารแปดร้อยโจมตีซุนกวนแตกยับเยินที่สะพานเสียวเกียว ครั้งนั้น “ทหารเลวเมืองกังตั๋งกลัวฝีมือเตียวเลี้ยวมาก ถ้าเด็กร้องไห้มีผู้ขู่ออกชื่อเตียวเลี้ยว เด็กนั้นก็กลัวนิ่งอยู่” จึงได้ยศเป็นเฉียงเจียงจวิน (นายพล)

        ครั้นโจโฉตายแล้ว พระเจ้าโจผียกทัพไปรุกรานกังตั๋งอีก เตียวเลี้ยวร่วมทัพไปด้วยเสียทีถูกเตงฮอง แม่ทัพกังตั๋งยิงด้วยเกาทัณฑ์ถูกบั้นเอว ไปสิ้นใจที่ราชธานีเจียงตู และศพฝังไว้ ณ ที่นั้นด้วย

        ตายแล้ว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น กางโหว (พระยา)
    • เทียหยก (Cheng Yu 程昱)
    • เทียหยก (Cheng Yu 程昱)

      • เทียหยก เป็นชาวอำเภอตงอา เมืองตงจวิ้น มณฑลชานตุง มีชื่อรองว่า จงเต๋อะ

        สูง 8 ฟุต 3 นิ้ว หนวดเครางาม แข็งแกร่ง แต่เจ้าอารมณ์ มักพูดขัดหูผู้อื่น มีความรู้ความสามาถดี

        เข้ารับราชการอยู่กับโจโฉตั้งแต่เริ่มตั้งตัวเป็นใหญ่ มีความชอบมากมายหลายครั้ง เป็นที่นับถือของโจโฉ

        ดำรงตำแหน่งอุ้ยอุ้ย (นายทหารผู้ใหญ่ฝ่ายรักษาวัง) จนตาย
    • บิฮูหยิน (Lady Mi 糜氏)
    • บิฮูหยิน (Lady Mi 糜氏)

      • บิฮูหยิน เป็นน้องสาวของบิต๊ก เป็นภรรยาน้อยของเล่าปี่ ไม่มีบุตรต่อกัน

        ในขณะที่โจโฉเข้าโจมตีแคว้นเกงจิ๋ว เล่าปีอพยพหนีพลัดกันกับลูกเมีย บิฮูหยินอุ้มอาเต๋า บุตรเล่าปี่ซึ่งเกิดจากนางกำฮูหยินภรรยาหลวงวิ่งหนี เผอิญถูกทวนแทงขา จึงได้ซ่อนตัวอยู่ที่ผนังตึกแห่งหนึ่ง จูล่งตามมาพบเข้า เชิญขึ้นม้า นางบิฮูหยินเกรงว่าจะไปไม่รอด และอาเต๋าจะพลอยเป็นอันตราย จึงมอบอาเต๋าให้จูล่ง แล้วกระโจนลงบ่อน้ำตาย เพื่อไม่ให้ถูกจับเป็นเมียของผู้อื่น จุล่งกลบบ่อแล้วพาอาเต๋าหนีรอดไปได้

        ในประวัติศาสตร์จีน ไม่ได้เอ่ยถึงนางบิฮูหยินเลย สงสัยไม่มีตัวตนอยู่จริง
    • มอกาย (Mao Jie 毛玠)
    • มอกาย (Mao Jie 毛玠)

      • มอกาย เป็นชาวผิวชิว เมืองเฉินหลิว (ตันลิว) มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า เสี้ยวเซียน

        เป็นคนสุภาพเรียบร้อย รักความเป็นธรรม มีเมตากรุณา มีความรู้ความสามารถสูง โจโฉเชิญตัวมารับราชการเป็นที่ปรึกษา ก็ตั้งอยู่ในความเทียงธรรม ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง จะคัดเลือกใครเข้ารับราชการ ก็สรรแต่คนดีมีความรู้ความสามารถจริงๆ ได้เลี้ยงบุตรของพี่ชาย ซึ่งกำพร้าพ่อแม่เหมือนบุตรของตัวเอง

        เมื่อโจโฉเสียกลจิวยี่ ฆ่าชัวมอกับเตียวอุ๋น ผู้ชำนาญในการเรือของแคว้นเกงจิ๋วเสียแล้ว ได้ให้มอกายกับอิกิ๋ม เป็นผู้ฝึกหัดทหารเรือแทน

        ตอนสุดท้าย ถูกคนกลั่นแกล้งใส่ร้าย จึงต้องไปอยู่บ้านเดิม เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ได้รับพระราชทานหีบศพและเงินผ้าไหว้ และลูกชายได้ดำรงตำแหน่งหลางจง
    • ม้าเท้ง (Ma Teng 馬騰)
    • ม้าเท้ง (Ma Teng 馬騰)

      • ม้าเท้ง เป็นชาวเมืองหลงซี (เสเหลียง) มณฑลการซุ มีฉายาว่า โซ้วเฉิง สืบสกุลมาจากม้าอ้วน ผู้ดำรงยศเป็นฟุปอเจียงจวินคนแรกของประเทศจีน ในฐานที่ยกทัพปราบภาคใต้ (น่ำอวด) สำเร็จ บิดาชื่อม้าซู้

        สูง 8 ฟุต รูปร่างสง่าผ่าเผย กริยาสุภาพนิ่มนวล เป็นที่รักและเคารพของคนทั่วไป มีความสามารถในการปกครองทั้งฝ่ายทหารและผลเรือน ในฐานที่เป็นเจ้าเมืองเสเหลียง

        ยกทัพไปช่วยปราบตั๋งโต๊ะ และลิฉุย กุยกี ณ พระนครด้วย ครั้งโจโฉรุกรานพระเจ้าเหี้ยนเต้ ทำทีคล้ายจะแย่งราชสมบัติ ม้าเท้งตกลงเข้าร่วมกับตังสินจะโค่นโจโฉด้วยผู้หนึ่ง แต่ระหว่างที่มีการจับกุมกวาดล้างตังสินและพวกนั้น ม้าเท้งมิได้อยู่ในพระนคร จึงมิได้เป็นอันตราย ต่อมาโจโฉอาศัยกระแสรับสั่ง เรียกม้าเท้งเข้ามายังพระนครฮูโต๋ ม้าเท้งพลาดท่า ถูกทหารโจโฉจับตัวได้ โจโฉจึงเอาตัวม้าเท้งไปประหารชีวิต

        ตำแหน่งสุดท้าย เป็น เจิงซีเจียงจวิน (นายพล) มีบรรดาศักดิ์เป็น หวยหลี่โหว ( พระยา)
    • ลิเตียน (Li Dian 李典)
    • ลิเตียน (Li Dian 李典)

      • ลิเตียน เป็นชาวตำบลจวี้เอ่ย์ เมืองซานหยัง มณฑลเหอหนาน มีซื่อรองว่า มั้นเฉิง

        เป็นผู้มาเข้าช่วยโจโฉ ตั้งแต่โจโฉประกาศเรียกคนอาสาไปปราบตั๋งโต๊ะ เป็นคนสุภาพอ่อนโยน จนกลายเป็นอ่อนแอ ไม่แย่งความดีความชอบกับใครๆ มีความรู้ดี การศึกษามากทั้งการทหารและการปกครอง ได้ออกศึกเสมอ และได้ยศทหารเป็นพ้อหลู่เจียนจวิน

        เมื่อสิ้นชีพมีอายุ 36 ปี ได้รับประราชทานบรรดาศัดดิ์เป็นหมิ่นโหว (พระยา)
    • ลิโป้ (Lü Bu 吕布)
    • ลิโป้ (Lü Bu 吕布)

      • ลิโป้ เป็นชาวเมืองอู่เหยียนจิ่วเหยียน (ปัจจุบันคืออำเภออู่เหยียน มณฑลซานสี) มีชื่อรองว่า เฟิงเซียน

        รูปร่างสง่าผ่าเผย มีกำลังบ่ายิงเกาทัณฑ์ และช่ำชองการขี่ม้ายิ่งกว่าคนอื่นๆ แต่เป็นคนสับปลับ มักมากในสุรานารี ถือเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง

        เตียวหุยผู้เป็นปฏิปักษ์ประนามว่า ลิโป้เป็นลูกสามพ่อ เพราะมีพ่อที่ให้กำเนิด ต่อมาเข้ารับราชการเป็นทหารองครักษ์ของเต๊งหงวน ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋วก่อน ประจบเรียกเต๊งหงวนว่าพ่อ พอตั๋งโต๊ะติดสินบนก็ทรยศ ตัดศีรษะเต๊งหงวนไปให้ตั๋งโต๊ะ แล้วฝากตัวอยู่กับตั๋งโต๊ะ เรียกตั๋งโต๊ะว่าพ่ออีก ไม่ช้าก็ฆ่าตั๋งโต๊ะเสีย แยกเอานางเตียวเสี้ยนมาเป็นเมียตามอุบายของอ้องอุ้น หลังจากนั้นได้รับพระราชทานยศเป็นเฟิ้นอุยเจียงจวิน (นายพล) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอุนโหว (พระยา) เป็นบำเหน็จความชอบที่ได้ฟื้นอำนาจของกษัตริย์ให้พระเจ้าเหี้ยนเต้

        ครั้นลิฉุย กุยกีนายทหารของตั๋งโต๊ะแย่งอำนาจในเมืองหลวงได้อีกโดยฆ่าอ้องอุ้นเสีย ลิโป้หนีไปพึ่งอ้วนสุด อ้วนเสี้ยว แต่ถูกตระเพิด จึงไปพึ่งเตียวเอี๋ยน เจ้าเมืองเซียงต๋ง แล้วดำเนินการแผ่อำนาจต่อไป โจโฉกับอ้วนเสี้ยวร่วมกันปราบ ลิโป้ต้องไปขอพึ่งเล่าปี่อยู่ที่ซีจิ๋ว มิช้ามินานก็ทรยศต่อเล่าปี่ ยึดอำนาจในชีจิ๋วไว้เสียเอง ในที่สุดโจโฉจับตัวได้ที่เมืองแห้ฝือ (เสี้ยเผย) มณฑลเจียงซู จึงเอาไปแขวนคอแล้วตัดศรีษะเสียบประจานไว้
    • อ้วนถำ (Yuan Tan 袁谭)
    • อ้วนถำ (Yuan Tan 袁谭)

      • อ้วนถำ  เป็นบุตรชายคนโตของอ้วนเสี้ยว มีฉายาว่า เสียนซือ บิดาให้ไปกินเมืองเซียงจิ๋ว

        เมื่อโจโฉรุกรานมณฑลเหอเป่ย และอ้วนเสี้ยวตรอมใจตาย อ้วนถำกับอ้วนซงน้องคนเล็กแย่งกันเป็นใหญ่ในแคว้นกิจิ๋วแทนบิดา อ้วนถำสู้ไม่ได้ จึงเข้าสวามิภักดิ์ต่อโจโฉขอพึ่งบุญปราบอ้วนซง

        โจโฉก็ให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกลูกสาวให้เป็นภรรยา แต่แล้วเมื่อโจโฉยึดแคว้นกิจิ๋วได้ทั้งหมด แล้วอ้วนซงหนีไปแล้ว อ้วนถำกลับเกิดความสำนึกว่า ไม่ควรยอมจำนนต่อโจโฉ จึงเตรียมสู้รบกับโจโฉอยู่ที่เมืองลำพี้ โจโฉตามไปปราบ รบพุ่งกันหลายครั้ง อ้วนถำเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงขอสวามิภักดิ์อีกครั้งหนึ่ง แต่โจโฉไม่ยอมรับ

        ในที่สุดโจหอง ทหารเอกโจโฉก็เอาง้าวฟ้นอ้วนถำหลายทีจนตกม้าตาย โจโจให้ตัดศีรษะเอาไปเสียบไว้ที่ประตูเมืองด้านเหนือ
    • อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao 袁绍)
    • อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao 袁绍)

      • อ้วนเสี้ยว เป็นชาวอำเภอยู่หยัง เมืองยู่หนาน มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า เปิ่นชู

        เป็นเชื่อสายขุนนางเก่าแก่ถึงสี่ห้าชั่วคน เป็นผู้มีร่างสูงใหญ่ ท่าทางองอาจผึ่งผาย ปรกติเป็นคนสุภาพเรียบร้อย จิตใจกว้างขวาง เสียใจหรือดีใจไม่ปรากฏออกนอกหน้า แต่เป็นคนขึ้ระแวง มีความอิจฉาริษยา ชำนาญในพิชัยสงคราม แต่บกพร้องในการตัดสินใจ ไม่รู้จักวิธีเลี้ยงใจคน

        เป็นผู้เข้ารวมกับโฮจิ๋นขจัดอิทธิพลของขันที่ทั้งสิบสมัยพระเจ้าเลนเต้ แล้วผิดใจกับตั๋งโต๊ะ ในเรื่องถอดหองจูเปียนออกจากราชสมบัติ จึงหนีไปอยู่กิจิ๋ว แล้วได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองปุดไฮ ไม่ช้าก็เป็นผู้นำทัพเมืองต่างๆ เข้าตีตั๋งโต๊ะที่ลกเอี๋ยง แต่ควบคุมกันไม่ติดจึงทำการไม่สำเร็จ หวนกลับไปยึดแคว้นกิจิ๋วไว้ในอำนาจทั้งหมด และตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นที่มณฑลเหอเป่ย

        ครั้นโจโฉเป็นใหญ่ขึ้นในแผ่นดิน อ้วนเสี้ยวไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ จึงเกิดรบกันเป็นศึกใหญ่ อ้วนเสี้ยวเสียทีโจโฉที่กัวต๋อ (กวนตู้) เป็นความปราชัยอย่างย่อยยับ นับแต่นั้นก็ชะตาตก เสียแผ่นดินแก่โจโฉเป็นลำดับ ในที่สุดตรอมใจตายที่กิจิ๋วนั้นเอง

        มีบุตร 3 คน คือ อ้วนถำครองเมืองเซียงจิ๋ว อ้วนฮีครองเมืองอิวจิ๋ว อ้วนซงครองพระนคร
    • อิกิ๋ม (Yu Jin 于禁)
    • อิกิ๋ม (Yu Jin 于禁)

      • อิกิ๋ม เป็นแม่ทัพของวุยก๊ก เป็นชาวจวี้ผิงไท่ซาน มณฑลซานตุง มีชื่อรองว่า อุ๋ยเจ๋อ

        เป็นทหารตลอดชีวิต รบทัพจับศึกมานานตั้ง 30 ปี เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยมากแต่มีนิสัยชอบริษยาเพื่อน ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ชอบ

        โจโฉให้เป็นแม่ทัพไปปราบกวนอู เจ้าเมืองเกงจิ๋ว ไปตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า (เจิงโข่วชวน) เหนือเมืองฮวนเสีย ฝนตกน้ำท่วม หนีไม่รอดถูกกวนอูจับได้ ก็ยอมสวามิภักดิ์ต่อกวนอู ครั้นกวนอูตายแล้ว ซุนกวนปล่อยตัวกลับไปวุยก๊ก โจผีผู้ครองเมืองต่อจากโจโฉ ไม่ชอบนิสัยนี้ จึงให้เขียนรูประจานไว้ที่ผนังที่ฝังศพของโจโฉ เป็นรูปอิกิ๋มกลัวตาย กราบไหว้กวนอูอ้อนวอนขอชีวิต แล้วให้อิกิ๋มอยู่เฝ้าที่ฝังศพแห่งนั้น อิกิ๋มมีความละอาย ไม่ช้าก็ตรอมใจตาย
    • แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun 夏侯恩)
    • แฮหัวตุ้น (Xiahou Dun 夏侯恩)

      • แฮหัวตุ้น เป็นชาวอำเภอเจี้ยว เมืองเพ่ยโก้วะ (ไพก๊ก) มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่า เหวียนยั้ง เป็นผู้สืบสายโลหิตจากแฮหัวเอง ( เสี้ยโหวอิง ) บุคคลสำคัญสมัยต้นราชวงศ์หั้น

        เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์บริสุทธิ์ มีความประหยัดมัธยัสถ์ ไม่กอบโกยหาประโยชน์ใส่ตัว

        ฝึกการใช้ทวนและกระบองมาแต่เล็ก เมื่ออายุ 14 ปี เข้าเรียนวิชารบจากอาจารย์ วันหนึ่งมีคนมาพูดดูหมิ่นอาจารย์ แฮหัวตุ้นจึงฆ่าเสีย แล้วหนีไปซ่องสุมผู้คนอยู่ในป่าเขา เมื่อโจโฉประกาศเรียกคนอาสาสมัครไปปราบตั๋งโต๊ะ แฮหัวตุ้นนำกำลังมาร่วมกับโจโฉ หลังจากนั้นก็รับใช้โจโฉจนกระทั้งตาย

        ในการรบกับโกซุ่น นายทหารลิโป้ที่เมืองเสียวพ่าย โจเสง นายทหารอีกคนหนึ่งของลิโป้ ลอบใช้เกาทัณฑ์ยิงถูกตาซ้ายแฮหัวตุ้น ลูกเกาทัณฑ์ปักแน่น แฮหัวตุ้นร้องขึ้นด้วยเสียงอันดัง จึงชักลูกเกาทัณฑ์ออกมา เห็นลูกตาติดอยู่ปลายเกาทัณฑ์ก็ร้องว่า ลูกตานี้เป็นดวงแก้วอันประเสริฐ ไม่ควรจะทิ้งเสีย แล้วก็ดูดกลืนลูกตานั้นเข้าท้องไป พลางควบม้าเอาทวนแทงโจเสงตกม้าตาย ทัพโกซุ่นก็แตกพ่าย

        เป็นผู้ที่โจโฉเคารพมาก และให้ยศทหารเป็นต้าเจียงจวิน (จอมพล) เมื่อถึงแก่กรรมแล้ว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นจงโหว (พระยา)
    • แฮหัวเอี๋ยน (Xiahou Yuan 夏侯渊)
    • แฮหัวเอี๋ยน (Xiahou Yuan 夏侯渊)

      • แฮหัวเอี๋ยน เป็นน้องร่วมแซ่ของแฮหัวตุ้น มีชื่อรองว่า เหมี้ยวฉาย

        เป็นคนเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ และกล้าหาญในการรบ เมื่อโจโฉประกาศเรียกคนอาสาสมัครไปปราบตั๋งโต๊ะ ได้มาสมัครพร้อมกับแฮหัวตุ้นพี่ชาย และรับใช้โจโฉด้วยความซื่อสัตย์ตลอดชีวิต

        โดยเหตุที่โจโฉเป็นบุคคนในแซ่แฮหัว (เสี้ยโหว) มาแต่เดิม จึงมีความสัมพันธ์ฉันพี่น้องอยู่กับแฮหัวตุ้น กับ แฮหัวเอี๋ยนด้วย

        แฮหัวเอี๋ยนชำนาญในการขว้างมีด ได้ยกกำลังไปปราบพวกเจี๋ยง จนมีความดีความชอบ ได้เลื่ยนยศเป็นเจิงซีเจียงจวิน (นายพล) ตั้งกองรักษาเสบียงอยู่ที่เขาเตงกุนสัน มณฑลส่านซี เล่าปี่จึงให้ฮองตงไปโจมตีทำลายที่มั่นที่เขานั้นเสีย ทั้งสองฝ่ายรบพุ่งกันอยู่ช้านาน ในที่สุดแฮหัวเอี๋ยนพลาดท่า ถูกฮองตงเอาดาบฟันศีรษะขาด เมื่อตายแล้วได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมิ่นโหว (พระยา)

        มีบุตร 4 คน คือ แฮหัวป๋า แฮหัวหุย แฮหัวฮุย และ แฮหัวโห

การแปลเป็นภาษาต่าง ๆ

การแปลสามก๊กเป็นภาษาต่าง ๆ นั้น ในหนังสือ "ตำนานสามก๊ก" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรวบรวมประวัติการแปลหนังสือสามก๊กเป็นภาษาต่าง ๆ จนถึง พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นปีที่ทรงพระนิพนธ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น ดังนี้

  • ภาษาญี่ปุ่น ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2235
  • ภาษาไทย แปลเมื่อ พ.ศ. 2345 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2408
  • ภาษาสเปน ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2373
  • ภาษาฝรั่งเศส ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2388
  • ภาษาเกาหลี ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2402
  • ภาษาญวน ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2452
  • ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2469 ก่อนหน้านี้มีการแปลสามก๊กเป็นภาษาอังกฤษในบางตอนแล้ว แต่ฉบับที่พิมพ์ในปี พ.ศ. 2469 เป็นการแปลตลอดทั้งเรื่อง ผลงานของบริวิต เทเลอร์
  • ภาษาเขมร ไม่ทราบปีที่แปลอย่างชัดเจน และยังไม่มีการตีพิมพ์สามก๊กฉบับภาษาเขมรในขณะที่ทรงนิพนธ์ เชื่อได้ว่าการแปลสามก๊กเป็นภาษาเขมรนั้น ได้ต้นฉบับจากสามก๊กภาคภาษาไทย
  • ภาษามลายู พิมพ์เมื่อใดไม่มีข้อมูล (พิมพ์ที่สิงคโปร์)
  • ภาษาละติน ไม่ทราบปีที่แปลอย่างชัดเจน แต่มีต้นฉบับอยู่ที่รอยัลอาเซียติคโซไซเอตี (Royal Asiatic Society) โดยมีบาทหลวงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นบิชอปอยู่ในประเทศจีนเป็นผู้แปล

นอกจากนี้ยังทรงเชื่อว่ายังมีสามก๊กที่แปลในภาษาอื่นที่ยังสืบความไม่ได้ เช่นภาษามองโกล เป็นต้น

ในประเทศไทย สามก๊กได้รับการแปลและเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพื่อนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการตีพิมพ์ ดังนั้นเมื่อนำสามก๊กของหลัว กวั้นจงซึ่งเป็นต้นฉบับ นำมาเปรียบเทียบเคียงกับภาษาไทยที่แปลโดย สังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นการแปลออกมาในรูปแบบของตำราพิชัยสงคราม หรือสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ หรือฉบับสามก๊ก ฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ จะเห็นว่าเนื้อและความหมายของบทประพันธ์ในหลายตอนมีคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการคลาดเคลื่อนของความหมายในสามก๊กนั้นเกิดจากผู้แปลโดยตรง อย่างไรก็ดี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 วรรณคดีสโมสร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ได้ตัดสินให้ "สามก๊ก" เป็นวรรณคดีประเภทเรียงความยอดเยี่ยมประเภทนิทาน เสมอกับเรื่องราชาธิราช เนื่องจากมีการใช้สำนวนภาษาที่สละสลวย เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและทอดแทรกแฝงแง่คิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยถือว่าสามก๊กนั้น เป็นตำราสำหรับใช้ในการศึกษากลยุทธ์ในการทำสงครามและประวัติศาสตร์ของจีนได้เป็นอย่างดี

ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

สามก๊กฉบับหลัว กวั้นจงได้มีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2345 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระราชดำริให้จัดแปลพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก ไซ่ฮั่น และแปลพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช เพื่อให้คนไทยได้ใช้ศึกษาเป็นตำราพิชัยสงคราม โดยมอบหมายให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นผู้อำนวยการแปลสามก๊ก มีความยาวทั้งสิ้น 95 เล่มสมุดไทย ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไม่ได้แปลสามก๊กจากต้นฉบับทั้งหมด เนื่องจากการใช้สำนวน ภาษา และรูปแบบการแปลในตอนท้ายเรื่องเป็นคนละสำนวนกับตอนต้นเรื่อง สามก๊กฉบับนี้ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือแบบฝรั่งครั้งแรกโดยโรงพิมพ์หมอบรัดเล มีจำนวน 4 เล่มจบ เมื่อปี พ.ศ. 2408 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมากลายเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีกล่าวถึงในบทละครนอกเรื่องคาวี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ว่า

"เมื่อนั้น ไวยทัตหุนหันมาทันตรึก
อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก
จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก
ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก ได้เรียนไว้ในอกสารพัด
ย้ายกลับไปทูลพระเจ้าป้า ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด
ค่ำวันนี้คอยกันเป็นวันนัด จะเข้าไปจับมัดเอาตัวมา

     - บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่องคาวี

เนื้อหาในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่มีการกล่าวถึงตำราพิชัยสงครามและสามก๊ก นับเป็นหลักฐานการยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้นเคยของชาวไทยที่มีต่อสามก๊ก และได้มีการค้นพบจดหมายเหตุในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งโปรดปรานบทร้อยแก้วของสามก๊กที่เป็นการแปลฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และกลายเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้มีพระราชดำริรับสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง เพื่อสำหรับนำไปใช้ในการบริหารราชการบ้านเมืองสืบต่อไป

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดให้ราชบัณฑิตยสภาชำระสอบทานต้นฉบับ แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือพระราชทานในงานพระเมรุสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ต่อมาโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรได้ขอประทานอนุญาตจัดพิมพ์จำหน่าย ในชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" ในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งสามก๊กที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหลังจากนั้น พิมพ์ตามต้นฉบับหนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภามาโดยตลอด จนกระทั่งมีการตรวจสอบและชำระสอบทานต้นฉบับอีกครั้งด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์ดอกหญ้ากับหอสมุดแห่งชาติ

ฉบับวณิพก (ยาขอบ)

สามก๊ก ฉบับวณิพก โดยสำนักพิมพ์ผดุงศึกษา

สามก๊กฉบับวณิพก ผลงานการประพันธ์ของยาขอบ เป็นการเล่าเรื่องสามก๊กใหม่ในแบบฉบับของตนเอง และเน้นตัวละครเป็นตัวไป เช่น เล่าปี่ผู้พนมมือแด่ชนทุกชั้น, โจโฉผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ, จิวยี่ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า, ตั๋งโต๊ะผู้ถูกแช่งทั้งสิบทิศ, ลิโป้อัศวินหัวสิงห์, จูกัดเหลียงผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน, เตียวหุยคนชั่วช้าที่น่ารัก, กวนอูเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ, จูล่งวีรบุรุษแห่งเสียงสาน, ยี่เอ๋งผู้เปลือยกายตีกลอง เป็นต้น อีกทั้งยังได้เพิ่มสำนวนและการวิเคราะห์ส่วนตัวเข้าไปด้วย โดยอาศัยสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์มาประกอบร่วมกับสามก๊กฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ผดุงศึกษา ในปี พ.ศ. 2529 จำนวน 2 เล่ม และตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2530 - 2540 โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้าในรูปแบบของหนังสือชุดจำนวน 8 เล่ม และตีพิมพ์เป็นเครื่องระลึกในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาลของยาขอบโดยสำนักพิมพ์แสงดาว ในปี พ.ศ. 2551 จัดพิมพ์เป็นหนังสือปกแข็งสองเล่ม

ฉบับวรรณไว พัธโนทัย

แปลโดย นายวรรณไว พัธโนทัย เป็นสามก๊กฉบับแรกที่พยายามแปลจากต้นฉบับสามก๊กภาษาจีนของ หลอก้วนจง ทำให้เป็นสามก๊กฉบับแปลไทยฉบับแรกที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับภาษาจีนและภาษาอังกฤษของ บริเวตต์ เทย์เลอร์ สามก๊กฉบับวรรณไว พัธโนทัย ยังเป็นฉบับที่ถือว่าแปลตามลักษณะของนิยายตะวันตกคือแปลคำต่อคำ โดยไม่ได้ดัดแปลงสำนวนภาษาแต่อย่างใด จึงค่อนข้างอ่านง่าย สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีรสทางวรรณกรรมเทียบเท่ากับสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ซึ่งใช้สำนวนเป็นภาษาชาววังโบราณ ส่วนฉบับนี้ภาษาที่ใช้ก็เป็นสำนวนปกติทั่วไป อีกจุดหนึ่งที่สามก๊กฉบับนี้ยังคงไว้จากต้นฉบับคือ บทร้อยกรองต่าง ๆ และเนื้อหาของฎีกาหรือข้อความบรรยายบางจุดที่ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตัดออก ในฉบับนี้ก็ยังมีอยู่ครบ แต่กระนั้นก็ยังมีบางจุดที่แปลผิดพลาดอยู่บ้าง

ฉบับตำราพิชัยสงคราม (สังข์ พัธโนทัย)

สามก๊ก ฉบับตำราพิชัยสงคราม แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย สังข์ พัธโนทัย ลักษณะการแปลเป็นการรวบรวมเอาตัวละครเด่น ๆ ของเรื่อง มาสรุปเป็นตัว ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเสื่อมราชวงศ์ฮั่น ตั๋งโต๊ะยึดอำนาจ ฯลฯ ไปจนถึงอวสานยุคสามก๊กและมีการอ้างอิงตัวละครทั้งหมดในท้ายเล่ม มีการเทียบเสียงจีนกลาง แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน เพื่อเป็นการเปรียบเทียบรายชื่อตัวละครและสถานที่สำคัญในเนื้อเรื่อง นอกจากนี้สามก๊ก ฉบับตำราพิชัยสงคราม ยังเได้รับยอมรับว่า เป็นหนังสือเล่มแรกที่ผู้คิดเริ่มอ่านสามก๊ก ควรอ่านก่อนสามก๊กฉบับอื่น ๆ เพราะอ่านง่ายและสรุปเรื่องได้ดี ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประดู่ลาย

ฉบับคนขายชาติ

เรียบเรียงโดย เรืองวิทยาคม มีทั้งสิ้น 655 ตอน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ในเครือผู้จัดการ เหตุในการเรียบเรียงสามก๊กฉบับนี้ มาจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมด้วยปัญหาทางการเมืองควบคู่กัน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเรียบเรียงสามก๊กฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งในเนื้อหาเจตนาผู้เขียนมิได้กระทบกระเทียบเสียดสีผู้ใดในบ้านเมือง

ความนิยม

นิยายสามก๊กของหลัว กวั้นจง ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างยิ่งในยุคของราชวงศ์หมิง ที่ครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หยวน โดยมีการนำไปเล่นเป็นงิ้ว อันเป็นการแสดงที่เข้าถึงผู้คนทั่วทุกหัวระแหง และมีการแต่งตั้งให้กวนอูเป็น "เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์" ที่เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชาและศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมากแทนที่งักฮุยหรือเยี่ยเฟย กวนอูได้รับการยกย่องให้เป็นถึง "จงอี้เหรินหย่งเสินต้าตี้" ซึ่งมีความหมายคือ มหาเทพบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งความจงรักภักดี คุณธรรมและความกล้าหาญ

ศาลเจ้าสามก๊ก

ศาลเจ้าจูกัดเหลียงภายในศาลเจ้าสามก๊ก


ศาลเจ้าสามก๊ก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดอู่โหวซื่อ ที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน สร้างขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์จิ้นตะวันตก ด้านหลังของวัดเป็นที่ตั้งสุสานของพระเจ้าเล่าปี่และจูกัดเหลียง ซึ่งเป็นตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในสามก๊ก ซึ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจีน เรื่องราวต่าง ๆ ในสามก๊กเริ่มต้นในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เนื่องจากในขณะนั้นเล่าปี่ปกครองและแต่งตั้งเสฉวนเป็นราชธานี โดยมีจูกัดเหลียงเป็นที่ปรึกษา ราษฏรใช้ชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุข แต่เมื่อเล่าปี่สวรรคตแล้ว ประชาชนต่างให้การยอมรับและนับถือจูกัดเหลียงมากกว่า จึงร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้นมาเพื่อเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่นานทางรัฐบาลจีนเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงมีคำสั่งให้สร้างศาลเล่าปี่ขึ้น รวมทั้งให้มีรูปปั้นขุนนาง 14 ท่านภายในศาลเจ้า

ศาลเจ้าสามก๊ก ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 766 หรือเมื่อประมาณ 1,700 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์สามก๊กในสมัย พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 สร้างขึ้นโดยพระบัญชาของจักรพรรดิแห่งอาณาจักรเฉิงปลายราชวงศ์จิ๋น ในอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 3,700 ตารางเมตร สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในศาลเจ้าสามก๊ก เป็นผลงานการก่อสร้างที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นในปีที่ 11 ของจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง และได้รับการยกย่องเป็นโบราณสถานแห่งชาติของจีนในปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2527

ภายในศาลมีการแบ่งแยกพื้นที่ออกเป็นหลายส่วน รวมทั้งมีการแยกศาลต่าง ๆ ออกเป็นเฉพาะบุคคลคือศาลเล่าปี่ จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กและราชวงศ์ฮั่น ศาลเจ้ากวนอูที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของ 5 ทหารเสือฝ่ายบู๊ กวนอูเป็นตัวแทนของความซื่อสัตย์และกตัญญู จนได้รับการยกย่องจากชาวจีนให้เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์และโชคลาภ ศาลเจ้าจูกัดเหลียงที่มีความโด่งดังในด้านของสติปัญญาและความฉลาดเฉลียว ภายในศาลมีรูปปั้นจูกัดเหลียงขนาดใหญ่มีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี ชาวจีนเรียกกันว่า "ทาสอุ้มทรัพย์" ตามความเชื่อต่อ ๆ กันของชาวจีน ถ้าผู้ใดได้ลูบที่รูปปั้นจูกัดเหลียงแล้วจะมีโชคลาภ จูกัดเหลียงได้ชื่อว่าเป็นกุนซือหรือที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ที่มีความเฉลียวฉลาด วางแผนการรบและกลศึกต่าง ๆ ที่มีความสลับซับซ้อน ชาวจีนส่วนใหญ่จะนับถือจูกัดเหลียงมากกว่าศาลเจ้าเล่าปี่และศาลเจ้ากวนอู จนมีการเรียกศาลเจ้าสามก๊กเป็นศาลเจ้าจูกัดเหลียงแทน นอกจากศาลเจ้าเล่าปี่ กวนอูและจูกัดเหลียงแล้ว ภายในบริเวณศาลยังมีรูปปั้นประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญในสมัยราชวงศ์สู่ เรื่องราวต่าง ๆ จากตำนานอันยิ่งใหญ่ของสามก๊กของบุคคลอื่น ๆ อีกเช่น โจโฉ เตียวหุย และอีก 14 เสนาธิการทหารเอก

แต่เดิมสุสานของพระเจ้าเล่าปี่และจูกัดเหลียงไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่ได้มีการย้ายศาลจูกัดเหลียงจากเมืองเซ่าเฉิงมาอยู่ในบริเวณใกล้กันในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ ในราวปี พ.ศ. 963 - พ.ศ. 1132 จนถึงยุคราชวงศ์หมิงจึงรวมสุสานและศาลเล่าปี่กับจูกัดเหลียงเข้าด้วยกัน และได้พัฒนาศาลเจ้าดังกล่าวโดยสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่ของเล่าปี่ จูกัดเหลียง กวนอู และเตียวหุย เป็นประธานอยู่ในห้องโถงกลาง ด้านข้างมีรูปปั้นตัวละครและขุนศึกต่าง ๆ ในยุคสามก๊กประดับเรียงรายตลอดทางระเบียงเป็นที่สำหรับให้ประชาชนมาเคารพสักการะ ในเวลาต่อมาวัดอู่โหวซื่อก็กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อศาลจูกัดเหลียงหรือศาลเจ้าสามก๊ก และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองเฉิงตูในปัจจุบัน

อุทยานสามก๊ก

อุทยานสามก๊ก จังหวัดชลบุรี

อุทยานสามก๊ก ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในอาณาเขตพื้นที่กว่า 36 ไร่ มีการจัดวางรูปแบบตามหลักฮวงจุ้ยของจีน พื้นที่ทั้งหมดของอุทยานสามก๊กประกอบไปด้วยต้นไม้และสถาปัตยกรรมแบบจีนเป็นจำนวนมาก มีหยินและหยางตามแบบฉบับปรัชญาแห่งความสมดุลของจีน สร้างขึ้นตามเจตนารมณ์ของคุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ออกแบบโดย อาจารย์ธีรวัลย์ วรรธโนทัย และอาจารย์รณฤทธิ์ ธนโกเศศ สถาปนิกแห่งกรมศิลปากร เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและจีนได้อย่างลงตัว

พื้นที่ตั้งของอุทยานสามก๊กเป็นพื้นที่ลาดต่ำไปทางทิศใต้ มีภูเขาขนาดย่อมทอดตัวอยู่ทางทิศเหนือ มีลักษณะการยกระดับขึ้นไปเป็นระยะ ๆ จนเชื่อมต่อกับบันไดทางขึ้น บริเวณโดยรอบวางผังแบบรูปทรงเรขาคณิต ตามหลักการวางผังบริเวณที่เป็นมงคลมาแต่โบราณทั้งของไทยและจีน มีซุ้มประตูทางเข้าวางเป็นตัวกั้นแบ่งพื้นที่ส่วนอนุสรณ์สถานที่อยู่ทางทิศเหนือกับส่วนบริการทางทิศใต้ วางแนวแกนตะวันออก-ตะวันตกเพื่อเป็นที่ตั้งของอาคารศาลเจ้าแม่กวนอิมกับอาคารอเนกประสงค์ โดยมีระเบียงโค้งแบบจันทร์เสี้ยวเป็นตัวเชื่อมต่อและโอบล้อมอาคารทั้ง 3 หลังเป็นหนึ่งเดียวกัน มีสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีนที่เรียกว่าเก๋ง จำนวน 3 อาคาร

อาคารกลางหรืออาคารประธานมีความสูงที่สุด มีทั้งหมด 4 ชั้น มุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งสื่อถึงท้องทะเลและท้องฟ้า มีการประดับรูปประติมากรรมเพื่อความเป็นมงคลตามหลักความเชื่อดั้งเดิมของจีนเช่น คนชราขี่สัตว์รูปร่างคล้ายไก่หรือเซียนเหญิน, มังกรสี่ขาท่านั่ง รูปร่างคล้ายสัตว์จตุบาท เรียกอีกอย่างว่า "จตุบาทพันธุ์มังกร" เป็น 1 ในบุตรชายทั้ง 9 ของพญามังกร , หงส์ สัตว์จตุบาทรูปลักษณะหงส์ ซึ่งแต่เดิมนั้นหงส์จัดเป็นส่วนประดับหลักของอุทยานสามก๊ก แต่เนื่องจากจักรพรรดิเทียบเท่าได้กับมังกร หงส์ซึ่งหมายถึงฝ่ายหญิงหรือฮองเฮา

ชั้นที่ 2 เป็นภาพวาดประวัติศาสตร์สีน้ำมัน เป็นการบันทึกเรื่องราวและชีวประวัติทั้งหมดของจูกัดเหลียง มีทั้งหมด 8 ตอนด้วยกัน และชั้นที่ 3 เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวของจูกัดเหลียงในช่วงที่ 2 เป็นภาพเขียนฝาผนังยาว 100 เมตร ทั้งหมด 8 ตอน โดยฝีมือของจิตรกรชาวจีน ใช้ระยะเวลาในการเขียนภาพฝาผนังเป็นเวลานานถึง 5 ปี ชั้นที่ 4 เป็นหอแก้วสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ค้นพบที่ถ้ำแห่งหนึ่งในลำพูน โดย ดร.วรภัทร ภู่เจริญ เป็นผู้มอบให้แก่อุทยานสามก๊กเพื่อเป็นที่สักการบูชา หันหน้าออกทางทะเลตามหลักฮวงจุ้ย พร้อมรูปปั้นพระสังกัจจายน์และพระถังซำจั๋ง

ภายในอุทยานสามก๊ก มีระเบียงจิตรกรรมบนกระเบื้องกังไสจีน เป็นการจัดแสดงฉากจากพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก จำนวน 56 ตอน ความยาว 240 เมตร เป็นการคัดย่อวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กเฉพาะในส่วนตอนที่สำคัญตั้งแต่ตอนต้นเรื่องคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย สามวีรบุรุษร่วมสาบานในสวนท้อ กระทั่งถึงตอนสุดท้ายที่สุมาเอี๋ยนได้รวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ถือได้ว่านอกจากอุทยานสามก๊กจะได้ย่อตำนานพงศาวดารจีนที่มีความยาวเป็นอย่างมากไว้ภายในอุทยานแล้ว ยังได้นำเสนอเรื่องราวของสามก๊กผ่านระเบียงจิตรกรรม นอกจากนั้นยังมีตัวละครเอกในรูปแบบของรูปปั้นกังไสกระเบื้องประดับภายในอุทยานอีกด้วย ซึ่งอุทยานสามก๊กจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้นำเอาศิลปะความเป็นจีน นำเสนอผ่านทางรูปแบบของสถาปัตยกรรมจีนร่วมสมัยอีกด้วย

สามก๊กในปัจจุบัน

สามก๊กเป็นวรรณกรรมจีนที่เป็นอมตะ ได้รับการกล่าวขานถึงการเป็นสุดยอดวรรณกรรมจีนที่ให้แง่คิดในเรื่องต่าง ๆ แม้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมานานแล้วในหลายยุคสมัย แต่ชื่อของตัวละคร สถานที่หรือลักษณะท่าทางต่าง ๆ ยังเป็นที่จดจำและกล่าวขานต่อ ๆ กันมาทุกยุคสมัย ในปัจจุบันสามก๊กกลายเป็นชื่อที่คุ้นหูคนไทยมาโดยตลอดและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับสามก๊กออกมาตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นหนังสือ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ รวมทั้งเกมวางแผน ซึ่งได้หยิบยกเรื่องราวและตอนสำคัญบางส่วนของสามก๊กนำมาทำเป็นเกมจำนวนมาก ซึ่งกล่าวได้ว่าสามก๊กนั้นเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อเนื่องตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน

หนังสือ

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีผู้นำไปตีความในแง่มุมต่าง ๆ เกิดเป็นหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกับสามก๊กอีกมากมาย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนหนังสือชุด "สามก๊ก ฉบับนายทุน" ขึ้นเป็นทำนองล้อเลียนฉบับวณิพกของยาขอบ โดยตีความเรื่องราวในวรรณกรรมสามก๊กไปในทางตรงกันข้าม ด้วยสมมุติฐานว่าผู้เขียนเรื่องสามก๊กตั้งใจจะยกย่องฝ่ายเล่าปี่เป็นสำคัญ หากผู้เขียนเป็นฝ่ายโจโฉเรื่องก็อาจบิดผันไปอีกทางหนึ่ง งานเขียนที่สืบเนื่องจากสามก๊กของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ได้แก่ โจโฉนายกตลอดกาลและ เบ้งเฮ็กผู้ถูกกลืนทั้งเป็น ซึ่งในหนังสือเล่มหลังนี้นำเสนอแนวคิดว่าแท้จริงแล้วเบ้งเฮ็กอาจจะเป็นบรรพบุรุษของคนไทยที่อพยพหนีลงมาจากสงครามก็ได้

นอกจากนี้ยังมีงานเขียนที่เกี่ยวเนื่องกับสามก๊กอีกมากมายเช่น สามก๊กฉบับคนเดินดินของเล่าชวนหัว สามก๊กฉบับคนขายชาติของเรืองวิทยาคม เจาะลึกสามก๊กฉบับวิจารณ์ของวิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ CEO ในสามก๊กของเปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป เป็นต้น

ละครโทรทัศน์

สามก๊กในแบบฉบับละครโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์ชุด สามก๊ก เป็นละครที่ผลิตขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อเป็นการเชิดชูวรรณกรรมอมตะของจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ด้วยความร่วมมือกับทางประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที สามก๊กในแบบฉบับละครโทรทัศน์ได้รับการนำเข้ามาออกอากาศครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดียส์ ออฟ มีเดีย จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และออกอากาศซ้ำอีกครั้งทางช่องเอ็มวีทีวีวาไรตี้แชนแนล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551

ปัจจุบันได้นำสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์มาออกอากาศอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.30 น. - 23.23 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 และได้มีการปรับช่วงเวลาในการการออกอากาศเป็นเวลา 22.00 น. - 22.53 น. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน ลิขสิทธิ์การจัดจำหน่ายวีดิทัศน์ของละครโทรทัศน์ชุดนี้ในประเทศไทย เป็นของบริษัทมูฟวี่โฮมวิดีโอ จำกัด ในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี

สามก๊ก ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้ง โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และออกฉายทางโทรทัศน์ครั้งแรกทางช่องเจียงซู ช่องอันฮุย ช่องฉงชิ่ง และช่องเทียนจิน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2553 โดยละครชุดสามก๊ก ชุดใหม่นี้มีทั้งหมด 95 ตอน กำกับโดย เกาซีซี

ภาพยนตร์

วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ถูกนำมาถ่ายทอดในรูปแบบของภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จำนวน 3 เรื่องคือสามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร (อังกฤษ: Three Kingdoms: Resurrection of the Dragon; จีน: 三國之見龍卸甲) สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ (อังกฤษ: Red Cliff, The Battle of Red Cliff; จีน: 赤壁) และ สามก๊ก เทพเจ้ากวนอู (อังกฤษ: The Lost Bladesman; จีน: 关云长)

สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกรนำแสดงโดย หลิวเต๋อหัว, แม็กกี้ คิว, หงจินเป่า, แวนเนส วู, แอนดี้ อัง, ตี้หลุง กำกับการแสดงโดย แดเนียล ลี ความยาว 102 นาที ออกฉายเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551 ในประเทศไทยฉายวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกรได้รับเสียงวิจารณ์ไปทางลบเป็นอย่างมาก เนื่องจากเนื้อเรื่องของภาพยนตร์เป็นการเจาะเฉพาะตัวละครเอกของเรื่องคือจูล่งเพียงคนเดียว โดยเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติของจูล่งตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงวัยชรา รวมทั้งเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ก็ไม่ได้เป็นไปตามวรรณกรรมอีกด้วย และมีตัวละครหลายตัวที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะเช่น โจอิง หรือ หลอผิงอัน เป็นต้น และอีกหลายส่วนในเรื่องก็ไม่เป็นไปตามวรรณกรรมเช่นชุดเกราะของจูล่งที่ในวรรณกรรมระบุว่าสวมเกราะสีเงิน แต่ในภาพยนตร์กลับสวมเกราะที่มีลักษณะคล้ายเกราะของซามูไรมากกว่า จึงทำให้ในเว็บไซต์ IMDb ให้เครดิตภาพยนตร์เรื่องนี้เพียง 5.7 ดาว จาก 10 ดาวเท่านั้น

สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ขนาดยาวที่ร่วมทุนสร้างระหว่างจีนและฮ่องกง ออกฉายพร้อมกันทั่วทวีปเอเชียในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน สร้างจากวรรณกรรมชิ้นเอกของจีนเรื่อง สามก๊ก ในตอน โจโฉ แตกทัพเรือหรือศึกผาแดง อำนวยการสร้างและกำกับโดย จอห์น วู ด้วยทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์เอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ด้วยกันเฉพาะในเอเชีย ส่วนประเทศอื่น ๆ จะฉายในตอนเดียวจบในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง นำแสดงโดยเหลียงเฉาเหว่ย, ทาเคชิ คาเนชิโร่, หลินจื้อหลิง, จางเฟิงอี้, ฉางเฉิน, เจ้า เวย, ฮูจุนและชิโด นากามูระ

สามก๊ก เทพเจ้ากวนอู เป็นภาพยนตร์ฮ่องกงอิงประวัติศาสตร์ ดัดแปลงจากวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก ในตอนที่กวนอูพาภรรยาของเล่าปี่ฝ่าด่าน 5 ด่านและสังหารขุนพลของโจโฉ 6 นาย นำแสดงโดยดอนนี่ เยน กำกับโดยอลัน มัก และเฟลิกซ์ ชอง ออกฉายเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 และฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การ์ตูนและเกม

สามก๊กในแบบฉบับเกมคอมพิวเตอร์


วรรณกรรมสามก๊ก ถูกนำมาถ่ายทอดในรูปแบบของการ์ตูนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเช่น การ์ตูนเรื่องสามก๊ก (ญี่ปุ่น: 横山光輝 三国志 โรมาจิ: Yokoyama Mitsuteru Sangokushi) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาว ที่แปลมาจากวรรณกรรรมอมตะของจีนเรื่องสามก๊ก วาดภาพโดยมิตสึเทรุ โยโกยามะ ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นอนิเมะ ในปี พ.ศ. 2534 ออกอากาศทางสถานีทีวีโตเกียวและสร้างเป็นเกมสำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส ในปี พ.ศ. 2550 เนื้อเรื่องในการ์ตูนสามก๊กฉบับการ์ตูนญี่ปุ่นแปลมาจากหนังสือสามก๊กฉบับภาษาญี่ปุ่นของเออิจิ โยชิคาวะ ซึ่งมีความแตกต่างจากสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือสามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบเล็กน้อย สามก๊กเป็นนิยายจีนอิงประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยแผนการรบและกลอุบาย จนมีคำกล่าวว่า อ่านสามก๊กครบสามจบ คบไม่ได้ ในประเทศไทย สำนักพิมพ์จัมโบ้เป็นผู้จัดพิมพ์การ์ตูนสามก๊กเป็นเล่มใหญ่ โดยแบ่งเป็น 15 เล่มจบ

หงสาจอมราชันย์ เป็นการ์ตูนฮ่องกง เรื่องโดยเฉินเหมา นักเขียนการ์ตูนชาวฮ่องกง ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เรื่องราวหยิบยกเอาเหตุการณ์ในสามก๊ก จากทั้งวรรณกรรมและพงศาวดารมาเป็นโครงเรื่อง ซึ่งบางส่วนมีการตีความลักษณะของตัวละครขึ้นมาใหม่จากความคิดของเฉินเหมาเอง โดยมีสุมาอี้และเหลี่ยวหยวนหว่อหรือจูล่งเป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก ปัจจุบันนอกจากฮ่องกงกับไต้หวันแล้ว หงสาจอมราชันย์ยังถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปตีพิมพ์ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม สิงคโปร์ และไทย

สามก๊ก มหาสนุก เป็นงานเขียนการ์ตูนเรื่องสามก๊ก เรื่องและภาพโดยหมู นินจา ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2550 ภายหลังได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มเป็นการ์ตูนสีรวมทั้งหมด 45 เล่ม และบริษัทวิธิตาได้นำเรื่องสามก๊กมาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นจำนวน 2 ภาค ล่าสุดได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลี จัดจำหน่ายโดย บริษัท พีเอ็มจี โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซัมซุง บุ๊ค พับลิเชอร์

Dynasty Warriors (ญี่ปุ่น: 真・三國無双 โรมาจิ: Shin Sangokumusō ทับศัพท์: lit. "True - Unrivaled Three Kingdoms") เป็นเกมต่อสู้จัดทำและพัฒนาโดย Koei วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ในเพลย์สเตชัน Dynasty Warriors เป็นเกมที่จำลองวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่อง, อาวุธ, ลักษณะท่าทางและตัวละครที่ปรากฏในเกมล้วนแล้วมาจากเรื่องสามก๊กทั้งสิ้น

ในประเทศญี่ปุ่นเกมนี้ใช้ชื่อว่า Sangokumusō ซึ่งภายหลังได้มีการจำหน่าย Dynasty Warriors 2 ที่ดัดแปลงจากภาค 1 ให้มีภาพที่สวยงามและเล่นสนุกขึ้น ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นได้ให้ชื่อ Dynasty Warriors 2 ไว้ว่า Shin Sangokumusō ในปัจจุบัน Dynasty Warriors เป็นเกมที่มีผู้เล่นเยอะมากที่สุดเกมหนึ่งของโลก และมีวางออกจำหน่ายแล้วถึง 12 ภาคด้วยกัน

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,17,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,117,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,65,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
static_page
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms)
สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms)
สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms ; 三国演义; 三國演義; Sānguó yǎnyì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอไปทั่วโลก
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/p/romance-of-three-kingdoms-review.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/p/romance-of-three-kingdoms-review.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ