รวม วาทะ คำคม คารม ของตัวละครต่าง ๆ จากวรรณกรรมจีนเรื่อง สามก๊ก ทั้งจาก หนังสือสามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) และ หนังสือสามก๊ก ฉบับ วณิพก
คำคมสามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
กวนอู
- "ถ้าบุตรดีมารดาบิดาก็เป็นสุข แม้บุตรชั่วมารดาบิดาก็ทุกข์ด้วย" เป็นวาทะสามก๊กที่ กวนอูกล่าวแก่กัวเสียง ซึ่งมีบุตรไม่รักดี เอาแต่เที่ยวเล่น คบเพื่อนชั่วทำแต่เรื่องหยาบช้า
โจโฉ
-
"อันธรรมดาว่าสงคราม จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้ ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง" เป็นวาทะ สามก๊ก ของ โจโฉ ว่าแก่ โจหยิน ตอนถูก ชีซี ตีแตก
- "แม้เห็นว่าการใหญ่ก็ทำให้ใหญ่ ประมาณการน้อยก็ทำแต่น้อย" โจโฉกล่าวกับเล่าปี่เมื่อครั้งร่ำสุราถามหาวีรบุรุษ
-
"โบราณท่านว่าไว้แต่ก่อนว่า สิบคนจะหาผู้กล้าได้คนหนึ่ง
ร้อยคนจะหาผู้มีสติปัญญาได้คนหนึ่ง"
เป็นวาทะ สามก๊ก ของ สุมาเต็กโช ที่กล่าวแก่ เล่าปี่
-
"แผ่นดินจะกลับก็เหมือนไฟดับสิ้นแสง
ถ้ากบทูจะหักจะเอาไม้น้อยค้ำมิอาจทานกำลังไว้ได้
ชาวบ้านนอกผู้มีปัญญาย่อมแสวงหานายที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารี"
เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ร่ายบทกลอนสอนใจแก่ เล่าปี่ ให้เกิดความสนใจของ ตันฮก
-
"ตัวข้าพเจ้าอุปมาเหมือนหนึ่งกา จะมาเปรียบเทียบพญาหงส์นั้นไม่ควร
อันม้าอาชามีกำลังอันน้อยหรือจะมาเปรียบกับพญาราชสีห์ได้"
เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวเปรียบเทียบระหว่างตนเองและ จูกัดเหลียง ต่อ เล่าปี่ ของ
ตันฮก
-
"ถ้าจะทำการสงคราม พึงให้รู้ลักษณะในไส้ศึกก่อน
จึงจะทำการได้ชัยชนะโดยง่าย"
เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ห้ามปรามไม่ให้ โจหยิน ไปตี เล่าปี่ ของ ลิเตียน
-
"อันธรรมดาแม่ลูกกันนี้ก็เหมือนชีวิตเดียวกัน
เมื่อมีเหตุฉะนี้ก็เป็นประเพณีบุตรจะสงเคราะห์แก่มารดา
ใครห่อนจะทิ้งมารดาเสียได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวแก่ ตันฮก
เมื่อได้รับอุบายจดหมายของ โจโฉ ของ เล่าปี่
-
"ท่านผู้มีสติปัญญานั้น
ถึงมาตรว่าจะนั่งนอนหลับตาอยู่ในเรือนมิได้เห็นกิจการทั้งปวงเลย
ก็สามารถจะคิดเอาชัยชนะแก่ข้าศึกร้อยพันได้"
เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวเกลี้ยกล่อมให้ กวนอู และ เตียวหุย ยอมเชื่อฟัง จูกัดเหลียง ของ เล่าปี่
-
"ถึงมาตรว่าจะมีอันตรายประการใดก็ดี ตัวเราก็จะสู้ตาย
ซึ่งจะทรยศต่อผู้มีคุณนั้นเราทำมิได้"
เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ปฏิเสธการเข้ายึดเมืองเกงจิ๋วตามคำแนะนำของ จูกัดเหลียง ของ
เล่าปี่
- "โบราณท่านว่าไว้ ถ้าฟ้าคะนองให้ระวังตัวจงหนัก" เป็นวาทะของเล่าปี่ที่กล่าวขึ้นเพื่อเอาตัวรอดจากความระแวงสงสัยของโจโฉ เมื่อครั้งนั่งเสพสุรา สนทนากัน
- "ข้าพเจ้าตั้งภูมิฐานเป็นที่มั่นลงได้ก็จะกลัวอะไรแก่หัวเมืองทั้งปวง อุปมาดังลูกไก่อยู่ในเงื้อมมือข้าพเจ้า" เป็นวาทะของเล่าปี่ ขณะเสพสุราอยู่กับเล่าเปียว แล้วเผลอตัว พูดพลั้งปากออกมา ทำให้เห็นปณิธานที่ซ่อนอยู่ในใจ
- "ธรรมดาผู้มีปัญญาอันพิสดาร แม้จะคิดการสิ่งใดก็ลึกซึ้ง ผู้มีปัญญาน้อยหาหยั่งรู้ถึงตลอดไม่ อุปมาเหมือนพญาครุฑ แม้จะไปในทิศใดก็ย่อมบินโดยอากาศอันสูงสุดสายเมฆ มิได้บินต่ำเหมือนสกุณชาติซึ่งมีกำลังน้อย" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่กล่าวตอกหน้าแก่ เตียวเจียว ให้ได้รับความอับอาย เมื่อคราวไปกังตั๋งเพื่อเจรจาให้ ซุนกวน ยอมทำศึกกับ โจโฉ ของ จูกัดเหลียง
- "อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา" เป็น วาทะสามก๊ก ที่กล่าวแก่ โลซก ภายหลังจากลวงเอาเกาฑัณฑ์จำนวนมากจากโจโฉของ จูกัดเหลียง
-
"ผู้ใดกินข้าวแดงท่านแลฆ่าท่านผู้มีคุณเสีย ผู้นั้นเป็นคนหากตัญญูไม่
ผู้ใดอาศัยอยู่ในแผ่นดินของท่านแล้วคิดยกเอาแผ่นดินไปให้ผู้อื่นเสีย
ผู้นั้นเป็นคนหาความสัตย์ไม่"
ขงเบ้ง กล่าวแก่ เล่าปี่เนื่องจาก อุยเอี๋ยน นี้มิได้มีความสัตย์แลกตัญญู
- "อันธรรมดาเกิดมาเปนมนุษย์นี้ยากที่จะรู้การในอากาศ" ขงเบ้งกล่าวแก่จิวยี่ ที่ล้มป่วยลงเพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจต่อการทำศึก
-
"ธรรมดาเกิดมาเป็นชาย แม้จะแสวงหาเจ้านายซึ่งจะเป็นที่พึ่งนั้น
ก็ให้พิเคราะห์ดูน้ำใจเจ้านายซึ่งโอบอ้อมอารีเป็นสัตย์เป็นธรรมจึงให้เข้า
อยู่ด้วย
แล้วให้ตั้งใจทำราชการโดยซื่อสัตย์สุจริตประการหนึ่งให้มีใจทำไมตรีแก่ญาติ
พี่น้อง เพื่อนฝูงเก่าแก่ไว้อย่าให้ขาด แม้มาตรว่าจะมีภัยสิ่งใดมาถึงตัว
ก็จะเผอิญให้มีผู้มาช่วยแก้ไขพ้นจากอันตรายได้
ถ้าจะคิดการสิ่งใดเล่าก็จะสำเร็จ" เป็น วาทะสามก๊ก ที่กล่าวแก่เจียวก้าน
ถึงการเลือกนายผู้รับใช้ของชายชาติทหารของ จิวยี่
-
"ธรรมดาเกิดมาเป็นมนุษย์ อันโรคแลความตายนั้นจะกำหนดวันมิได้"
เป็น วาทะสามก๊ก ที่จิวยี่กล่าวแก่ ขงเบ้ง เมื่อ ขงเบ้ง มาเยี่ยมตนเองที่ป่วย
เพราะลมไม่เป็นใจ ขงเบ้ง จึงออกอุบายเรียกลมให้
- "เทพดาองค์ใดหนอ ซึ่งให้เราเกิดมาแล้ว เหตุใดจึงให้ขงเบ้งเกิดมาด้วยเล่า" เป็นคำตัดพ้อของจิวยี่ก่อนสิ้นลมหายใจ ที่มิอาจมีสติปัญญาความสามารถเทียบเท่าขงเบ้ง
- "ซึ่งจะเป็นหลักที่ยึดนั้น สุดแต่การเป็นประมาณ เมื่อการสิ่งใดมีมาจึงจะคิดต่อไป" เป็น วาทะสามก๊ก ที่ บังทอง กล่าวตอบ ซุนกวน ในตอนที่ โลซก ชวน บังทอง มาทำราชการด้วย
-
"อันประเพณีการสงคราม ควรจะให้นายทหารซึ่งมีฝีมือออกรบพุ่งให้สามารถก่อน
อันแม่ทัพจะยกออกก่อนนั้นไม่ควร"
เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ เตียวเหียน กล่าวตำหนิ ซุนกวน
ที่หุนหันนำทัพออกศึกจนเสียทีแก่ เตียวเลี้ยว
-
"ธรรมดานกแม้จะทำรังอาศัย ก็ให้ดูต้นไม้อันร่มชิดจึงจะได้อยู่เป็นสุข
อนึ่งเกิดมาเป็นชายก็ให้พึงพิเคราะห์ดูเจ้านายอันมีน้ำใจโอบอ้อมอารี
จึงเข้าอยู่ด้วย" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ ลิอิ๋น กล่าวแก่ เล่าปี่
เพื่อยอมสวามิภักดิ์ขอเป็นข้ารับใช้
-
"อันประเพณีการศึกมีหรือจะไม่ตาย แต่ผู้มีความคิด ย่อมเสียน้อยได้มาก"
เป็น วาทะสามก๊ก ที่ ลกซุน กล่าวแก่ ชีเซ่ง และ เตงฮอง เมื่อคราวรบกับ เล่าปี่
- "กินเบี้ยหวัดมาร้อยวันพันวัน จะเอาการแต่วันเดียวก็มิได้" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ สุมาอี้ กล่าวแก่ทหารที่เสียกำลังใจขณะเฝ้าด่าน กิก๊ก เพื่อเตรียมรับการบุกวุยก๊กครั้งที่สี่ของ ขงเบ้ง
- "ทำการสิ่งใดอย่าได้เบาความ จงตรึกตรองให้ละเอียดแล้วจึงทำ" คำสั่งเสียสุดท้ายของ สุมาอี้ ที่สอนลูกหลานให้ตั้งตนอยู่ในความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาท
- "อันโบราณกล่าวไว้ว่าเหตุการณ์นิดหนึ่งจะพาให้เสียการใหญ่" สุมาอี้ เตือนให้ทหารสงบสติอารมณ์ ไม่หวั่นไหวต่อคำยั่วยุของฝ่ายศัตรู
อองลุย
- "ยาดีกินขมปากแต่เป็นประโยชน์แก่คนไข้ คนซื่อกล่าวคำไม่เพราะหู แต่เป็นประโยชน์แก่กาลภายหน้า" เป็นคำกล่าวของอองลุยที่เตือนมิให้เล่าเจี้ยงรับเล่าปี่เข้าเมือง
- "วันคืนปีเดือนล่วงไปไม่หยุดเลย จะคอยท่าให้ได้ทีก็จะแก่เสียเปล่า" เป็นคำกล่าวของเกียงอุย ที่พูดขึ้นเพื่อโน้มน้าวให้บรรดาขุนนางเห็นพ้องกับตน ในการยกทัพไปบุกวุยก๊ก
- "มังกรอันมีฤทธิ์เดชก็อัศจรรย์ตกลงขังอยู่ในสระ ให้ปลาเล็กน้อยล่วงดูถูก"
- "มาตรว่ามีความชอบสักเท่าใดก็ดี ก็ควรจะเจียมตัวคำรบตามประเพณีข้ากับเจ้า"
โจสิด
- "คั่วถั่วเอากิ่งถั่วมาเป็นฟืนใส่ไฟ เมล็ดถั่วในกะทะจะไหม้ ก็เพราะกิ่งถั่วต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก " เป็นบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นในระยะเวลาเพียงเดินเจ็ดก้าว เพื่อเอาชีวิตรอดจากโทษประหารจากโจผี พี่ชายตนเอง
หลวงจีนเภาเจ๋ง
- "กงเกวียนกำเกวียนตัวฆ่าเขา ๆ ฆ่าตัว เมื่อท่านฆ่างันเหลียงบุนทิวแลนายด่านห้าตำบลเสีย ใครมาทวงศีรษะแก่ท่านบ้าง ครั้งนี้ท่านเสียทีแก่ข้าศึกถึงแก่ความตายแล้ว ท่านมาร้องทวงศีรษะแก่ใครเล่า" เป็นคำกล่าวของหลวงจีนเภาเจ๋งที่กล่าวเตือนสติให้แก่อสุรกายกวนอู เพื่อให้ระลึกถึงกฎแห่งกรรม ก่อนไปสู่สุขคติ
ซุยเป๋ง
- "ประเพณีแผ่นดินนี้ เกิดจลาจลแล้วก็เป็นสุขเล่า เป็นสุขแล้วก็เกิดจลาจลเล่า เป็นธรรมดามาแต่ก่อน" เป็นวาทะของซุยเป๋งที่กล่าวแก่เล่าปี่ เพื่อเตือนให้เข้าใจถึงสัจธรรม ความเป็นไปของบ้านเมือง
คำคมสามก๊ก ฉบับ วณิพก
- โจโฉ
- "ข้าพเจ้ายอมทรยศโลก ดีกว่าให้โลกทรยศข้าพเจ้า" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่แสดงความเด็ดเดี่ยว มั่นคงและแน่วแน่ของ โจโฉ
- "ความหยิ่งด้วยความโง่ ไม่มีค่าเหมือนผู้ที่หยิ่งด้วยความฉลาด" เป็น วาทะสามก๊ก ที่แสดงวิสัยทัศน์ของโจโฉ ที่แสดงความเหนือชั้นกว่า อ้วนเสี้ยว
- "ซึ่งจะมาถืออิศริยศในท่ามกลางศึกดังนี้ไม่ควร" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ โจโฉ กล่าวห้ามปรามในความเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างของ อ้วนเสี้ยว
- "คิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบา ทีได้ทีเสีย ยักย้ายถ่ายเทมิให้ผู้ใดล่วงรู้" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงลักษณะและคุณสมบัติของชายชาติทหารของโจโฉ
- จูล่ง
- "คนยาก แต่มิใช่เห็นเงินตาลุก ชาวเสียงสานต้องการดื่มเกียรติ" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่ปฏิเสธการปูนบำแหน็จรางวัลจากการออกศึกสงครามของ จูล่ง
- "ข้าพเจ้าทำศึกมาแต่หนุ่มจนอายุถึงเพียงนี้ ก็ยังไม่เพลี่ยงพล้ำเสียทีให้ข้าศึกดูหมิ่นได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่หวาดกลัวและย่อท้อในการทำศึกสงครามของ จูล่ง
- จิวยี่
- "มาตรว่าชีวิตเราจะตายในท่ามกลางข้าศึก ก็ให้เอาอานม้าปิดศพไว้ เร่งทำการต่อไป" เป็นวาทะสามก๊กที่สั่งการให้ทหารทำหน้าที่ของตนต่อไป โดยไม่ต้องกังวลของอาการป่วยของตนเองของ จิวยี่
- "สำหรับชายที่หยิ่งด้วยเกียรติของชายนั้น ในโลกนี้อันใดเล่าจะยิ่งใหญ่เสมอเหมือนกับที่ได้ยินข้อความล่วงเกินมาถึง หญิงอันเป็นสุดที่รักสุดเคารพของตน" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความโกรธแค้นโจโฉที่คิดจะพรากหญิงคนรักของตนไปเป็นนางบำเรอของ จิวยี่
- "ตัวเราเกิดมาเป็นชาย ได้ลั่นวาจาออกมาแล้วก็ไม่คืนคำเลย" เป็นวาทะสามก๊กที่ยืนกรานแสดงความหนักแน่นในการนำทัพเข้าตีเมืองลำกุ๋นของ จิวยี่
- กวนอู
- "ขึ้นชื่อว่าแก้วถึงจะแตกทำลายก็ไม่หายชื่อ เราจะขอทำศึกสงครามด้วยท่านกว่าจะสิ้นชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความไม่ย่อท้อในการทำศึกสงครามของกวนอู
- "บุตรของเรานี้เป็นชาติเชื้อเหล่าเสือ ไม่สมควรจะให้แก่สุนัข" เป็นวาทะสามก๊กที่ปฏิเสธการยกลูกบุตรสาวให้แก่ลูกชายของซุนกวนของกวนอู
- อ้วนเสี้ยว
- "ครั้นเราจะรุกก็ไม่แลเห็นชัยชนะ จะถอยเล่าก็รังแต่จะถูกเย้ยหยัน แต่เรายังไม่เสียเปรียบเลยในยุทธภูมินี้ ถอยเท่านั้นเป็นทางที่ดีที่สุด" เป็นวาทะสามก๊กในการตระเตรียมกำลังไพร่พลในการถอยทัพของ อ้วนเสี้ยว
- จูกัดเหลียง
- "ท่านอย่าทำการด้วยโทโส จงคิดผ่อนปรนให้จงดี อันวู่วามตามความโกรธนั้น ภายหลังก็จะเสียการไป" เป็นวาทะสามก๊กที่แสร้งเตือนจิวยี่ด้วยความปรารถนาดีของ จูกัดเหลียง
- "เมื่อมิได้พิเคราะห์ให้ตระหนักก่อน ด่วนมาโกรธฉะนี้ก็จนใจ" เป็นวาทะสามก๊กที่ยั่วให้ซุนกวนเกิดความโมโหเพื่อเป็นการหยั่งดูความสุขุม รอบคอบของ จูกัดเหลียง
- "ทั้งกายจะหางามสักหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นและอากาศ" เป็นวาทะสามก๊กในการเลือกนางอุยซีเป็นคู่ครอง ที่เต็มไปด้วยความเฉลี่ยวฉลาดมากกว่าความสวยงามของรูปร่างหน้าตาของ จูกัดเหลียง
- "ยากจะหาคนใดรู้โชคตน แต่ข้ามีกังวลเพราะเชื่อว่า ที่สุดวันวันหนึ่งคงจะมา ให้ข้าลานิเวกสุขเข้าคลุกงาน" เป็นวาทะสามก๊กที่ร่ายกลอนโศลกพรรณาของ จูกัดเหลียง
- ซุนฮูหยิน
- "เกิดมาเป็นหญิง จะให้มีชายต้องถึงสองคนก็ไม่ควรนัก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความมั่นคงต่อสามีและไม่อาจมีชายใดอื่นได้อีกของ ซุนฮูหยิน
- เล่าปี่
- "ธรรมดาภรรยาอุปมาเหมือนอย่างเสื้อผ้า ขาดแลหายแล้วก็จะหาได้ พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา ขาดแล้วยากที่จะต่อได้" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพี่น้องร่วมสาบาน ที่มีความสำคัญมากกว่าลูกเมียของเล่าปี่
- "ธรรมดาเกิดมาเป็นชาติทหารแล้ว ถ้าจะเสียทีก็อย่าเป็นทุกข์ ถึงจะได้ทีก็อย่ายินดี" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวปลอบใจทหารและให้เก็บอากัปกิริยาและควบคุมอารมณ์ใน การแสดงความรู้สึกของเล่าปี่
- "การจะทำลายล้างคนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นจากตนดังนี้ ใช่วิสัยชายชาตรีที่พึงทำ" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวแสดงความเห็นใจและให้โอกาสลิโป้ของเล่าปี่
- "ความโกรธความยินดี มิได้ปรากฏออกมาภายนอก" เป็นวาทะสามก๊กที่แสดงความสำรวมกายสำรวมใจและกิริยามารยาทของเล่าปี่
เล่าเจี้ยง
- "สิบผู้อื่นมิเท่าแซ่เดียวกัน" เป็นวาทะสามก๊กของเล่าเจี้ยง ที่พูดกับเล่าปี่เมื่อครั้งต้อนรับเล่าปี่เข้าเมืองเสฉวน
- ตั๋งโต๊ะ
- "จะหางามสามโลกก็เหลือหา สมเป็นนางพญาอันสูงสุด ไม่คู่ควรกับผู้ใดในมนุษย์ ควรสมมุติแต่กษัตริย์ขัตติยา" เป็นวาทะสามก๊กที่กล่าวถึงความงามอันหาที่ติมิได้ของหญิงสาวในตอนตั๋งโต๊ะ
- เตียวเสี้ยน
- "อย่าว่าแต่จะเสียตัวเพียงนี้เลย ถึงจะตายก็ไม่เสียดายชีวิต" เป็นวาทะสามก๊กที่ยอมพลีกายเพื่อกอบกู้แผ่นดินของนาง เตียวเสี้ยน
- "ทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็คิดว่า ถ้าท่านมีทุกข์สิ่งใด ข้าพเจ้าจะสนองคุณท่าน ถึงมาตรว่าชีวิตจะตายและกระดูกจะแหลกเป็นผงก็ดี" เป็นวาทะสามก๊กที่ยินดีสนองคุณอ้องอุ้นผู้เป็นบิดาบุญธรรมของนาง เตียวเสี้ยน
ฮัวหยง
- "ซึ่งจะฆ่าไก่และจะเอามีดฆ่าโคมาฆ่านั้นไม่ควร" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่แสดงความประมาทข้าศึกของ ฮัวหยง
อ้องอุ้น
- "ตัดต้นรานกิ่งแต่ไม่โก่นราก" เป็นวาทะ สามก๊ก ที่แสดงถึงความแพ้ภัยในความประมาทของตนเองของ อ้องอุ้น
ขงหยง
- "ให้ทุกห้องเต็มไปด้วยมิตร ให้น้ำสุรามฤตจงเปี่ยมทุกถ้วยอยู่ตลอดเวลา" เป็น วาทะสามก๊ก ที่แสดงความปกครองราษฏรด้วยความโอบอ้อมอารีของ ขงหยง
เตียวเจียว
- "ดุจแมลงหวี่อันจะต่อสู้ด้วยช้างสาร เหมือนแบกเอาฟางเข้าไปทุ่มที่กองเพลิง" เป็นวาทะสามก๊กของ เตียวเจียว ที่ห้ามปรามไม่ให้ซุนกวนร่วมมือกับ โลซก
-------------------------------------------------------------------
กรุณาแสดงความคิดเห็น