Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor)

นักอ่านสามก๊กทั่วโลกต่างยินยอมพร้อมใจกันยกย่องให้ สามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor) เป็นงานแปลชิ้นเอกที่เปิดโลก นำวรรณกรรมจีนเอกเรื่องนี้ออกสู่สายตาชาวโลก อย่างไม่มีเงื่อนไขหรือข้อโต้แย้งใด ๆ แต่ในทางกลับกัน .... ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ ผู้ที่เป็นข้าราชการชั้นสูง มีผลงานเด่นระดับโลก กลับมีชะตาชีวิตที่สุดแสนจะรันทด ยากเกินกว่าที่คน ๆ หนึ่งจะพบเจอได้
หน้าปกหนังสือสามก๊กภาษาอังกฤษ ของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท เทเลอร์
"ประวัติของผู้แปลเรื่องสามก๊กจากภาษาจีนเป็นอังกฤษ"
     นักอ่านสามก๊กทั่วโลกต่างยินยอมพร้อมใจกันยกย่องให้ สามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor) เป็นงานแปลชิ้นเอกที่เปิดโลก นำวรรณกรรมจีนเอกเรื่องนี้ออกสู่สายตาชาวโลก อย่างไม่มีเงื่อนไขหรือข้อโต้แย้งใด ๆ

     แต่ในทางกลับกัน .... ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ ผู้ที่เป็นข้าราชการชั้นสูง มีผลงานเด่นระดับโลก กลับมีชะตาชีวิตที่สุดแสนจะรันทด ยากเกินกว่าที่คน ๆ หนึ่งจะพบเจอได้

Public Success, Private Sorrow

     Public Success, Private Sorrow:The Life and Times of Charles Henry Brewitt-Taylor (1857-1938), China Customs Commissioner and Pioneer Translator เป็นหนังสือที่ตีแผ่ชีวประวัติของบริวิท-เทเลอร์ ประพันธ์โดย Isidore Cyril Cannon ผู้ที่สนใจในความขัดแย้งอย่างสุดขั้วของชายผู้นี้

Public Success, Private Sorrow หนังสือที่ตีแผ่ชีวิตรันทดของผู้แปลสามก๊ก C.H.Brewitt-Taylor
Public Success, Private Sorrow หนังสือที่ตีแผ่ชีวิตรันทดของผู้แปลสามก๊ก C.H.Brewitt-Taylor
     "สำเร็จแต่เบื้องหน้า มีโศกาเป็นเบื้องหลัง" ชีวิตของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ ผู้แปลเรื่องสามก๊กให้เราอ่านจะอาภัพขนาดไหนนั้น สามก๊กวิทยา จะขอนำมาให้ทุกท่านทราบโดยสรุปย่อไว้ดังนี้

บิดา ฆ่าตัวตาย

      บริวิท-เทเล่อร์ (บีที) เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.1857 ในเมืองคิงส์ตัน, ซัสเซก (Kingston, Sussex) ประเทศอังกฤษ เขาเกิดในครอบครัวยากจน บิดาเป็นกลาสีเรือ มารดาเป็นช่างเย็บผ้า พอหาเลี้ยงประทังชีวิต แต่ต่อมา บิดาต้องลาออกจากงานเพราะป่วยหนัก

     ด้วยความจนยาก บิดาของเขาจึงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือฆ่าตัวตายในเดือนตุลาคม ค.ศ.1868 ทิ้งให้หนูน้อยบีที วัย 11 ปี อยู่กับมารดาเพียงลำพัง

     การเสียชีวิตของบิดา พอจะมีด้านดีอยู่บ้าง เพราะเมื่อบีทีน้อยกลายเป็นเด็กอนาถา เขาได้รับการอุปถัมป์ให้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนพยาบาลหลวง (Royal Hospital School) เมืองกรีนิช (Greenwich) โรงเรียนที่ทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ในวิชาเดินเรือและดาราศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้เขาได้เข้ารับราชการในกาลภาคหน้า

บ้านทะลาย เมียตายจาก

การรบที่ฝูโจว
การรบที่ฝูโจว ทำให้บ้านของบริวิท-เทเลอร์ พินาศย่อยยับ
     บีทีในวัย 22 ปีแต่งงานกับนางอลิซ แมรี่ เวล (Alice Mary Vale) แล้วย้ายไปเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเดินเรือที่โรงเรียนนายเรือฝูโจว ประเทศจีน

     ณ ที่นี้เองที่เขาได้กลายเป็นเพื่อนสนิทของท่านรองกงสุล เฮอร์เบิร์ต ไจล์ส (Vice-Consul, H. A. Giles) ผู้คิดค้นระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) และเป็นแรงบันดาลให้ให้บีทีศึกษาภาษาจีนอย่างจริงจัง จนสามารถแต่งตำราภาษาจีนได้หลายเรื่อง

     โชคร้ายเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1885 เมื่อเกิดเหตุการณ์ สงครามจีน-ฝรั่งเศส กองเรือของฝรั่งเศสได้ระดมยิงฝั่งที่เมืองฝูโจว ทำให้บ้านของบีทีถูกถล่มพังยับ

     เสียบ้านยังพอสร้างได้ใหม่ บีทีเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว ครอบครัวมีทั้งทุกข์และสุข เขามีลูกหลายคน แต่ก็เหลือรอดเพียงบุตรชาย  2 คน แต่เคราะห์กรรมที่สาหัสเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1891 เมื่อภรรยาคลอดบุตรคนสุดท้าย เธอได้ล้มป่วยลงและเสียชีวิต สร้างความเสียใจให้กับบีทีเป็นอย่างมาก

บ้านถูกเผา ข้าเก่าเมียรัก

ฝรั่งต่างชาติกำลังตัดแบ่งประเทศจีน
ฝรั่งต่างชาติกำลังตัดแบ่งประเทศ ชาวจีนจึงตั้งกลุ่ม "กบฎนักมวย" เพื่อขับไล่
     บีทีพ่อลูกติด พาบุตรชาย 2 คน เลียวนาร์ดกับเรย์มอนด์ วัย 7 และ 4 ขวบ เดินทางไปอยู่เมืองเทียนจิน ทำงานให้กับกรมพาณิชยนาวีของราชสำนักจีน พร้อมกันนั้นเขาได้เริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่อีกครั้งโดยแต่งงานกับนางแอน มิชชี่ย์ (Ann Michie) ลูกสาวของ อเล็กซานเดอร์ มิชชี่ย์ (Alexander Michie) เจ้าของสำนักพิมพ์ The China coast และ China Times

    ปี ค.ศ.1900 เกิดกบฎนักมวย (Boxer Rebellion) ต่อต้านชาวต่างชาติ บีทีและครอบครัวจึงต้องหลบไปพักอาศัยอยู่ในบริเวณสถานฑูตอังกฤษ ทำให้บ้านของเขาถูกเผาทำลายทิ้ง ของมีค่าสูญหายหมดสิ้น แต่ของสิ่งใดก็ไม่มีค่าเท่า "ต้นฉบับสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษ" ที่ถูกเผาไปพร้อมกับตัวบ้าน

     หลังเหตุการณ์สงบลง บีทีย้ายไปพักอาศัยอยู่ในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ แต่ไม่ชอบความแออัด อึกทึกครึกโครม เขาจึงพาครอบครัวเดินทางย้ายไปอยู่มณฑลยูนนาน ใกล้ชายแดนอินโดจีน(เวียดนาม) แต่ด้วยความที่เขารักการเดินทางและงานสำรวจ เขาจึงออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศจีนโดยทิ้งให้ภรรยาอยู่บ้านตามลำพัง

    เรื่องร้ายมาเกิด เมื่อครั้งหนึ่งเขาเป็นห่วงความปลอดภัยของภรรยาจึงส่งข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาให้มาช่วยดูแล ชายหนุ่มหญิงสาวอยู่ด้วยกันนานวันเข้าก็ลักลอบมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว บีทีโมโหมากไล่ข้าราชการคนนั้นออกจากงาน ส่วนภรรยาของเขาก็กลายเป็นคนวิกลจริต ต้องส่งตัวไปรักษาอาการประสาทหลอนที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาการไม่หายขาด ต้องเทียวเข้าเทียวออกโรงพยาบาลอยู่ตลอดทั้งชีวิต

     ตรงข้ามกับชีวิตส่วนตัว งานราชการของบีทีเจริญก้าวหน้า เขาได้เป็นกรรมาธิการของมหาวิทยาลัยในปักกิ่ง รวมทั้งเป็นอธิบดีกรมศุลกากรในเมืองมุกเดน (ปัจจุบันคือเมืองเสิ่นหยาง) ก่อนไปเกษียณอายุราชการที่เมืองจุงกิง ในปี ค.ศ.1920 ด้วยวัย 62 ปี

ลูกชายสองคน ก็ไม่เหลือ

สงครามโลกครั้งที่ 1 พรากชีวิตลูกชายคนรองของบีทีไป
สงครามโลกครั้งที่ 1 พรากชีวิตลูกชายคนรองของบีทีไป
     เรื่องน่าเศร้าที่สุดในชีวิตของพ่อคนแม่คน คือลูกตายก่อนพ่อแม่ เคราะห์ร้ายของบีทียังไม่จบไม่สิ้น เมื่อเกษียณอายุราชการเขากลับมาอาศัยอยู่ในสกอตแลนด์กับภรรยา

     เรย์มอนด์ บุตรชายคนรองทำงานให้กับหน่วยแพทย์ทหาร เสียชีวิตจากการรบในแนวหน้าในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยวัยเพียง 30 ปี ตายโดยที่ยังไม่เคยได้เห็นหน้าลูกของเขา ส่วนเลียวนาร์ด บุตรชายคนโตเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ด้วยวัย 48 ปี

     ชีวิตคนเป็นพ่อ ของผู้ชายที่ชื่อ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ จึงช่างน่าสงสารยิ่งนัก

การตีพิมพ์หนังสือสามก๊ก

     แม้ว่าชีวิตของบีทีจะพบเจอกับอุปสรรค์ขวากหนามและเรื่องสะเทือนใจมากมาย แม้ว่าต้นฉบับสามก๊กภาษาอังกฤษของเขาจะถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเหตุการ์กบฎนักมวย แต่เขาก็ไม่เคยละความพยายามที่จะแปลสามก๊กให้สำเร็จ

     หนังสือสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษเล่มแรก ได้ตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1925 โดยสำนักพิมพ์ Kelly and Walsh สามก๊กและงานเขียนอื่น ๆ ของเขาได้รับการตีพิมพ์เรื่อยมาอีกหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลาย ๆ ประเทศ จนกลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่ง

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.
Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo, or, Romance of the Three Kingdoms. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925. Various reprints.

อุทิศแด่ บีที

ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor)
ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor)
     บีที เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1938 ด้วยวัย 80 ปี หลังจากนั้น 9 ปี แอน มิชชี่ย์ ภรรยาของเขาก็เสียชีวิตตามไป ทั้งสองถูกฝังอย่างสงบเคียงคู่กัน ใต้เนินดินธรรมดา ๆ ไม่มีแผ่นหินจารึกหน้าหลุมฝังศพ ที่สุสานในเมือง Elie, Fife ประเทศสกอตแลนด์

    ชีวิตของเขาต้องพบเจอกับปัญหามากมาย แต่เขาก็เข้มแข็ง อดทนเอาชนะมันได้เสมอ ในทางส่วนตัวของบีที แม้ว่าชีวิตจะเต็มไปด้วยเรื่องน่าสังเวชใจ แต่เขาก็ไม่เคยนำมันมาเป็นปัญหา ให้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน คนเราสามารถประสบความสำเร็จได้ แม้จะมีเรื่องสะเทือนใจผ่านเข้ามาในชีวิต

    เรื่องราวของชายที่ชื่อ "ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์" จึงให้ข้อคิดและกำลังใจเรา ไม่แพ้วรรณกรรมเรื่อง "สามก๊ก" งานแปลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกใบนี้เลย .....

Elie, Fife, the Parish Church
Elie, Fife, the Parish Church
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 1
  1. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2557 เวลา 11:52

    เป็นแรงบันดาลใจได้ดีจริงๆ อนิจจาตัวเราดั่งมังกรต้องขังในบ่อ แม้แต่ปลาเล็กปลาน้อยก็ยังดูถูก

    ตอบลบ

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor)
ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor)
นักอ่านสามก๊กทั่วโลกต่างยินยอมพร้อมใจกันยกย่องให้ สามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor) เป็นงานแปลชิ้นเอกที่เปิดโลก นำวรรณกรรมจีนเอกเรื่องนี้ออกสู่สายตาชาวโลก อย่างไม่มีเงื่อนไขหรือข้อโต้แย้งใด ๆ แต่ในทางกลับกัน .... ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ ผู้ที่เป็นข้าราชการชั้นสูง มีผลงานเด่นระดับโลก กลับมีชะตาชีวิตที่สุดแสนจะรันทด ยากเกินกว่าที่คน ๆ หนึ่งจะพบเจอได้
https://4.bp.blogspot.com/-L6ujchFkjDk/U7ZeL9_KlII/AAAAAAAAfeU/_IoKArBMH3A/s1600/RoTK-Brewitt-Taylor-cover.jpg
https://4.bp.blogspot.com/-L6ujchFkjDk/U7ZeL9_KlII/AAAAAAAAfeU/_IoKArBMH3A/s72-c/RoTK-Brewitt-Taylor-cover.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2014/07/charles-henry-brewitt-taylor.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2014/07/charles-henry-brewitt-taylor.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ