Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

ในสมัยสามก๊ก 'ลาว' คือผู้เป็นใหญ่

ชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊กนี้มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าเก่าแก่เมื่อประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาชื่อชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊ก จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของคนลาวและประเทศลาวทุกวันนี้หรือไม่ ? อย่างไร ? และยังไม่มีใครรู้ว่า ชื่อชนเผ่าลาว สมัยสามก๊กนั้นมีความหมายอย่างไร ?
ในสมัยสามก๊ก 'ลาว' คือผู้เป็นใหญ่
"ลาว คือ ผู้เป็นใหญ่"
     สมัยสามก๊ก มีเอกสารจีนระบุชนเผ่าหนึ่งซึ่งอยู่ทางภาคใต้ชื่อว่า "ลาว(獠、僚)"

     เจีย แยนจอง (謝遠章 ยรรยง จิระนคร นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องคนไทยในเมืองจีน แห่งสถาบันเอเชียอาคเนย์ เมืองคุนมิง มณฑลยูนนาน) บอกว่าชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊กนี้มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าเก่าแก่เมื่อประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาชื่อชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊ก จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของคนลาวและประเทศลาวทุกวันนี้หรือไม่ ? อย่างไร ? และยังไม่มีใครรู้ว่า ชื่อชนเผ่าลาว สมัยสามก๊กนั้นมีความหมายอย่างไร ?

     เมื่อถึงสมัยราชวงศ์จิ้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 9 - 10) แล้ว คุณเจียแยนจองบอกอีกว่าชื่อของชนเผ่าลาวนั้นเปลี่ยนไปเป็น "หลัง(狼)" จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซ้อง (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 19) จะนิยมเรียกชนเผ่านี้ว่า "จ้วง(僮)" (หรือเรียกตามสำเนียงท้องถิ่นว่า ผู้จ่อง) ที่น่าสนใจอีกชนเผ่าหนึ่งก็คือพวก "มู่หล่าว(仫佬)" คุณเจียแยนจองบอกอีกว่าพวกมู่หล่าวเรียกตนเองอีกชื่อหนึ่งว่า "มู่ลำ(仫伶)" คำว่า มู่ ในภาษาของมู่หล่าวแปลว่า คน แต่บางทีเรียกว่า "พูเคียม(布僅)" หรือ ผู้เคียม ซึ่งคำว่า พู หรือ ผู้ แปลว่า คน

ชนชาติเกอเหล่า ชาวลาวในจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จีน
ชนชาติเกอเหล่า ชาวลาวในจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จีน

     เอกสารจีนสมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิงระบุว่าพวกมู่หล่าวอาศัยอยู่ที่ "หลอเฉิน(羅城)"คุณเจียแยนจอง บอกว่าชื่อหลอเฉินนี้ หากเรียกตามไวยากรณ์ไทย ก็คือ "เชียงลอ" คำว่า เชียง ตามภาษาจีนอ่านว่า เฉิน (ถ้าสำเนียงกวางตุ้งว่า ฉิ่ง) ซึ่งแปลว่า เมือง ซึ่งเป็นคำของชนเผ่ากลุ่มที่พูดตระกูลภาษาไทย-ลาวแต่โบราณ นอกจากนั้นในท้องถิ่นที่ชนเผ่าจ้วงหรือผู้จ่องอาศัยอยู่นั้น จะมีชื่อเมืองที่เรียกเป็นเชียงถึง 20 แห่ง

     ทุกวันนี้พวกมู่หล่าวอยู่ในท้องที่อำเภอหลอเฉินแห่งมณฑลกวางสีประมาณ 7 หมื่นคน นอกจากจะกินข้าวโพดและข้าวเจ้าเป็นอาหารแล้ว ยังนิยมกินข้าวเหนียวและอาหารที่มีรสเปรี้ยวด้วย

     แต่เรื่องราวทั้งหมดนี้ยังมิได้มีการศึกษาว่ามีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในประเทศลาวอย่างไรบ้างหรือไม่ ?

     ประเด็นน่าสนใจอยู่ที่รายงานของ Princeton S. HSU (นักวิชาการอยู่ฮ่องกงมีมารดาเป็นชนชาติจ้วง ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ อ้างถึง) โดยกล่าวว่าค้นพบการใช้คำว่า ลาว ในภาษาจ้วงและภาษาในพื้นมณฑลกวางตุ้งและกวางสี และแปลว่า คน

     กรณีนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ เพิ่มเติมอีกว่าดูเหมือนจะไม่ได้แปลว่าคนเฉยๆ ในความหมายที่แยกจากสัตว์ หากมีความหมายถึงอารยชน หรือ ชนผู้เป็นนาย นั่นคือทำนองเดียวกันกับชนชาติอารยันเรียกตนเองเพื่อแสดงว่าตนเป็นอารยะ

ไท-คน (คนไท ทิ้งแผ่นดิน) ลาว-จ้าว (จ้าวลาว) = คนผู้เป็นใหญ่
ไท-คน (คนไท ทิ้งแผ่นดิน) ลาว-จ้าว (จ้าวลาว) = คนผู้เป็นใหญ่

     ตำนานสิงหนวัติกุมาร (ฉบับสอบค้น ของ มานิต วัลลิโภดม : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่ : 2516) ระบุหัวหน้าคนพื้นเมืองซึ่งอาศัยอยู่สองฟากแม่น้ำโขงบริเวณตอนเหนือของไทยและลาวทุกวันนี้ว่าชื่อ "ลาวกะยู" เมื่อสิ้นลาวกะยูแล้วผู้ที่มีชื่อว่า "ปู่เจ้าลาวจก" ก็สืบทอดเป็นหัวหน้าคนพื้นเมือง

     เหตุที่เรีกชื่อว่าผู้เจ้าลาวจก ก็เพราะผู้นี้เป็นหัวหน้าใหญ่ที่มี "จก"(คนทั่วไปไม่มี) จึงเรียก ลาวจก จก คือ จอบขุดดิน ซึ่งปู่เจ้าลาวจกมีมากกว่า 500 เล่มขึ้นไปสำหรับแจกจ่ายให้หมู่บริวารเช่ายืมไปทำไร่ ขอบเขตของคนพื้นเมืองกลุ่มนี้อยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำโขง บริเวณที่เป็นอำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ต่อเนื่องไปจนถึงเมืองเชียงตุงของพม่า (พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) : พงศาวดารโยนก : สำนักพิมพ์คลังวิทยา 2517 : หน้า 135)

ที่มา : จากหนังสือ เจ๊กปนลาว หน้า 14

NOYd9 (FB : นอย 'ดี นายน์ )
___________________

หมายเหตุ

     บทความนี้เรียบเรียงโดย คุณ นอย ดี' นายน์ (NOYd9) ที่ส่งเข้ามาร่วมแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ ผู้รักในวิชาสามก๊กทุกคน ....

     สามก๊กวิทยา จึงขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: ในสมัยสามก๊ก 'ลาว' คือผู้เป็นใหญ่
ในสมัยสามก๊ก 'ลาว' คือผู้เป็นใหญ่
ชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊กนี้มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าเก่าแก่เมื่อประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาชื่อชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊ก จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของคนลาวและประเทศลาวทุกวันนี้หรือไม่ ? อย่างไร ? และยังไม่มีใครรู้ว่า ชื่อชนเผ่าลาว สมัยสามก๊กนั้นมีความหมายอย่างไร ?
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhnuyJ59vDMKKYc6bfgruifjhyZuntDonl1WpQ9zfxqvc4RzIIde3HZcxOpOXfunPd_v8r4Ficem4DWZabCuN8IAC3d5ks6UseRbo2DPdWJC7_0sB6uHepsmKRjA4nkZGDJbWH896-X1uhw/s1600/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7+%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD+%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259B%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%258D%25E0%25B9%2588.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhnuyJ59vDMKKYc6bfgruifjhyZuntDonl1WpQ9zfxqvc4RzIIde3HZcxOpOXfunPd_v8r4Ficem4DWZabCuN8IAC3d5ks6UseRbo2DPdWJC7_0sB6uHepsmKRjA4nkZGDJbWH896-X1uhw/s72-c/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7+%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD+%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259B%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%258D%25E0%25B9%2588.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2015/10/three-kingdoms-period-lao-is-great.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2015/10/three-kingdoms-period-lao-is-great.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ