"การก้าวขึ้นสู่อำนาจของลกซุน"
"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" คอลัมน์พิเศษเกี่ยวกับวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ผลงานชิ้นล่าสุดจากปลายปากกาของสื่อมวลชนอาวุโส "เสถียร จันทิมาธร" ที่จะวิเคราะห์ เจาะลึกถึงประวัติความเป็นมา และวีรกรรมของยอดแม่ทัพหนุ่มแห่งดินแดนกังตั๋ง "ลกซุน"
คุณเสถียร จันทิมาธร ได้เขียนบทความพิเศษในคอลัมน์ "วิถีแห่งอำนาจ" ไว้หลายชุด ทั้งในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนสุดสัปดาห์ อาทิเช่น
"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" จึงเป็นบทความชิ้นที่สาม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก ต่อจาก วิถีแห่งอำนาจสุมาอี้ และวิถีแห่งอำนาจโจโฉ ส่วนเนื้อหาก็จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับ "ลกซุน" กุนซือหนุ่มผู้ที่รับช่วงอำนาจแม่ทัพแห่งเมืองง่อต่อจาก จิวยี่ โลซก และลิบอง โดยมีผลงานสำคัญอยู่ที่การปราบทั้งกองทัพของพระเจ้าเล่าปี่ และกองทัพพระเจ้าโจผี ที่มารุกรานแผ่นดินได้อย่างราบคาบ
คอลัมน์นี้จะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และในเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ อย่างต่อเนื่องทุกวันจันทร์-ศุกร์ ท่านผู้ใดสนใจสามารถติดตามอ่านกันได้ตามสื่อดังกล่าว
ทั้งนี้ สามก๊กวิทยา ได้นำตัวอย่างบทความตอนที่ 1 "สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน" มาให้ชมกันก่อน รวมทั้งจะจัดทำ Link ของบทความแต่ละตอนไปยังหน้าของเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ มาให้ชมกันเป็นระยะ ๆ ครับ
แต่นั่นก็มิได้เป็นจุดเริ่มแห่งยุคของ "สามก๊ก" ในทางเป็นจริง
เพราะว่าทางเหนือสุดยังมีม้าเท้งครองเสเหลียง ทางใต้ยังมีซุนเซกยึดครองกังตั๋ง พื้นที่เกงจิ๋วมีเล่าเปียว ลึกไปทางฮั่นตงมีเตียวล่อ ลึกไปทางเช็งโต๋มีเล่าเจี้ยง
ขณะที่เล่าปี่ก็ยังระเหเร่ร่อนไปพึ่งใบบุญของเล่าเปียวในเกงจิ๋ว
กล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โจโฉเกิดเมื่อปี ค.ศ.155 ปีเดียวกับซุนเกี๋ยนบิดาของซุนเซก ซุนกวน ขณะที่เล่าปี่เกิดเมื่อปี ค.ศ.166
โจโฉจึงอยู่ในฐานะอาวุโสสูงสุด
ขณะเดียวกัน การดำเนินแผน "บีบบังคับฮ่องเต้ แล้วใช้ราชโองการฮ่องเต้มาออกคำสั่งกับบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้น" เมื่อปี ค.ศ.196 ตามข้อเสนอจากมอกายและซุนฮก ทำให้การแผ่อำนาจของโจโฉมีความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น
เพราะไม่เพียงแต่สามารถบีบอ้วนเสี้ยว บีบอ้วนสุด บีบลิโป้ บีบเล่าปี่ บีบเล่าเจี้ยง หากแม้กระทั่งซุนเซกแห่งแคว้นกังตั๋งก็ไม่มีเว้น
แล้วอำนาจของซุนกวนเริ่มต้นขึ้นอย่างไร
ซุนเซกขึ้นครองอำนาจในแคว้นกังตั๋งหลังซุนเซกเสียชีวิตเพราะถูกลอบสังหารในปีค.ศ.200 ขณะโจโฉทำศึกกัวต๋อกับอ้วนเสี้ยว
คำสั่งเสียสุดท้ายจากซุนเซก พี่ชายคือ
"ขอเตียวเจียวและท่านทั้งหลายจงคอยประคับประคองช่วยเหลือน้องชายข้าพเจ้าด้วย ถ้ารบทัพกังตั๋งเข้ารบพุ่งชิงชัยในใต้ฟ้านี้กับผู้ใดแล้วไซร้น้องยังสู้พี่ มิได้ แต่ถ้าอาศัยคนดีมีวิชาสามารถคุ้มครองป้องกันกังตั๋งแล้วพี่สู้น้องมิได้ ขอน้องจงดูตัวอย่างแห่งความยากลำบากที่พ่อและพี่ได้ทำไว้แล้วไตร่ตรองแล้ว ใช้ให้เกิดผลดีด้วยสติปัญญาของเจ้าเถิด"
คุณเสถียร จันทิมาธร ได้เขียนบทความพิเศษในคอลัมน์ "วิถีแห่งอำนาจ" ไว้หลายชุด ทั้งในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนสุดสัปดาห์ อาทิเช่น
- วิถีแห่งอำนาจ สุมาอี้ (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจจางเหลียง (ข่าวสด, ยังไม่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่ม)
- วิถีแห่งอำนาจ ถังไท่จง (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง (ข่าวสด, ยังไม่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่ม)
- วิถีแห่งอำนาจ โจโฉ (มติชนสุดสัปดาห์, ยังไม่จบ)
"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" จึงเป็นบทความชิ้นที่สาม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก ต่อจาก วิถีแห่งอำนาจสุมาอี้ และวิถีแห่งอำนาจโจโฉ ส่วนเนื้อหาก็จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับ "ลกซุน" กุนซือหนุ่มผู้ที่รับช่วงอำนาจแม่ทัพแห่งเมืองง่อต่อจาก จิวยี่ โลซก และลิบอง โดยมีผลงานสำคัญอยู่ที่การปราบทั้งกองทัพของพระเจ้าเล่าปี่ และกองทัพพระเจ้าโจผี ที่มารุกรานแผ่นดินได้อย่างราบคาบ
คอลัมน์นี้จะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และในเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ อย่างต่อเนื่องทุกวันจันทร์-ศุกร์ ท่านผู้ใดสนใจสามารถติดตามอ่านกันได้ตามสื่อดังกล่าว
ทั้งนี้ สามก๊กวิทยา ได้นำตัวอย่างบทความตอนที่ 1 "สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน" มาให้ชมกันก่อน รวมทั้งจะจัดทำ Link ของบทความแต่ละตอนไปยังหน้าของเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ มาให้ชมกันเป็นระยะ ๆ ครับ
![]() |
ซุนกวน |
สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน (1)
ศึกกัวต๋อเมื่อปี ค.ศ.200 อาจมีผลให้โจโฉสามารถกำราบอ้วนเสี้ยวลงได้ ทำให้อำนาจนำของโจโฉในภาคเหนือดำเนินไปอย่างเกือบเบ็ดเสร็จแต่นั่นก็มิได้เป็นจุดเริ่มแห่งยุคของ "สามก๊ก" ในทางเป็นจริง
เพราะว่าทางเหนือสุดยังมีม้าเท้งครองเสเหลียง ทางใต้ยังมีซุนเซกยึดครองกังตั๋ง พื้นที่เกงจิ๋วมีเล่าเปียว ลึกไปทางฮั่นตงมีเตียวล่อ ลึกไปทางเช็งโต๋มีเล่าเจี้ยง
ขณะที่เล่าปี่ก็ยังระเหเร่ร่อนไปพึ่งใบบุญของเล่าเปียวในเกงจิ๋ว
กล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โจโฉเกิดเมื่อปี ค.ศ.155 ปีเดียวกับซุนเกี๋ยนบิดาของซุนเซก ซุนกวน ขณะที่เล่าปี่เกิดเมื่อปี ค.ศ.166
โจโฉจึงอยู่ในฐานะอาวุโสสูงสุด
ขณะเดียวกัน การดำเนินแผน "บีบบังคับฮ่องเต้ แล้วใช้ราชโองการฮ่องเต้มาออกคำสั่งกับบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้น" เมื่อปี ค.ศ.196 ตามข้อเสนอจากมอกายและซุนฮก ทำให้การแผ่อำนาจของโจโฉมีความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น
เพราะไม่เพียงแต่สามารถบีบอ้วนเสี้ยว บีบอ้วนสุด บีบลิโป้ บีบเล่าปี่ บีบเล่าเจี้ยง หากแม้กระทั่งซุนเซกแห่งแคว้นกังตั๋งก็ไม่มีเว้น
แล้วอำนาจของซุนกวนเริ่มต้นขึ้นอย่างไร
ซุนเซกขึ้นครองอำนาจในแคว้นกังตั๋งหลังซุนเซกเสียชีวิตเพราะถูกลอบสังหารในปีค.ศ.200 ขณะโจโฉทำศึกกัวต๋อกับอ้วนเสี้ยว
คำสั่งเสียสุดท้ายจากซุนเซก พี่ชายคือ
"ขอเตียวเจียวและท่านทั้งหลายจงคอยประคับประคองช่วยเหลือน้องชายข้าพเจ้าด้วย ถ้ารบทัพกังตั๋งเข้ารบพุ่งชิงชัยในใต้ฟ้านี้กับผู้ใดแล้วไซร้น้องยังสู้พี่ มิได้ แต่ถ้าอาศัยคนดีมีวิชาสามารถคุ้มครองป้องกันกังตั๋งแล้วพี่สู้น้องมิได้ ขอน้องจงดูตัวอย่างแห่งความยากลำบากที่พ่อและพี่ได้ทำไว้แล้วไตร่ตรองแล้ว ใช้ให้เกิดผลดีด้วยสติปัญญาของเจ้าเถิด"
ซุนกวนร้องไห้โฮ กระทำคำนับรับตราประจำตำแหน่งไว้
จากนั้น ซุนเซกเรียกนางเกียวฮูหยินผู้เป็นภรรยามาสั่งเสียว่า
"ตัวข้าหาบุญไม่แล้วจำต้องจากเจ้าไป เจ้าอยู่หลังจงช่วยดูแลแม่ของข้าด้วย ถ้าเจ้าได้พบน้องสาวของเจ้าเมื่อใดก็ขอสั่งถึงจิวยี่ว่าให้ช่วยดูแลรักษา น้องชายของข้าขออย่าได้ห่างเหินไปเสีย"
จากนั้นกล่าวกับมารดาว่า "น้องคนนี้มีความสามารถกว่าลูกถึง 10 เท่าเชื่อว่าจะปกครองบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี สำหรับการปกครองภายในนั้นหากเหลือความคิดขอให้ปรึกษากับเตียวเจียว ส่วนการภายนอกขอให้ปรึกษากับจิวยี่"
แล้วเรียกน้องคนอื่นๆ มาสั่งเสียว่า
"เมื่อพี่ตายไปแล้วน้องทุกคนจะต้องเป็นกำลังช่วยซุนกวนให้ตลอดรอดฝั่ง ในตระกูลของเรานั้นหากมีใครคิดนอกใจขอจงร่วมกันสังหารมันเสีย เมื่อเนื้อกับกระดูกทรยศกันเองแล้วไซร้ตายไปอย่าเอาไปฝังร่วมในเขตสุสานของ บรรพบุรุษของเราเป็นอันขาด"
บรรดาน้องๆ รับคำแล้วก็ร้องไห้กันทุกคน ซุนเซกพูดจบก็หลับตาสิ้นใจ รวมอายุได้ 26 ปี ซุนกวนร้องไห้ฟุบหน้าอยู่ข้างเตียง
เตียวเจียว ที่ปรึกษาเห็นดังนั้นจึงเข้าไปปลอบ "จะมาร้องไห้อยู่ไย เร่งแต่งการศพให้เสร็จสิ้นแล้วเตรียมจัดการบ้านเมืองให้เรียบร้อยจึงจะชอบ"
นี่คือความเฉียบขาดของเตียวเจียว
เมื่อซุนกวนหยุดร้องไห้แล้วเตียวเจียวสั่งให้ซุนเจ้งจัดการศพ แล้วเชิญซุนกวนออกว่าราชการรับคำนับของขุนนางฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊
ขณะที่ซุนกวนกำลังจัดแจงราชการบ้านเมืองอยู่จิวยี่ยกทัพจากด่านปากิ๋วเข้ามา แล้วเข้าไปร้องไห้อยู่ข้างโลงศพ นางงอฮูหยินจึงเข้ามาหาจิวยี่แจ้งคำสั่งเสียของซุนเซกให้ทราบทุกประการ จิวยี่ก้มลงกระทำคำนับกับพื้นแล้วว่า
"ข้าพเจ้าขอเป็นหมาและม้าไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่"
สักครู่หนึ่งซุนกวนก็เข้ามาหาจิวยี่ เมื่อกระทำคำนับต่อกันแล้วซุนกวนพูดว่า
"ขอท่านอย่าลืมคำสั่งเสียของพี่ชายข้าพเจ้าเป็นอันขาด"
จิวยี่น้อมศีรษะลงพลางพูด "ข้าพเจ้ายอมตายเพื่อท่านได้ทุกกรณี"
ซุนกวนถามว่า "บัดนี้ข้าพเจ้าจำต้องรับภาระหน้าที่ของพ่อและพี่ต่อไป ข้าพเจ้าควรจะถือหลักในการปกครองอย่างไร"
"โบราณว่าไว้ มีคนดีไว้ใช้ย่อมรุ่งเรือง เสียคนดีย่อมมีแต่พินาศ ภาษิตนี้ยังใช้ได้ในปัจจุบัน ขอท่านจงสรรหาคนดี มีสติปัญญามาช่วยเป็นกำลังให้มากๆ รากฐานของท่านจึงจะมั่นคง" เป็นคำตอบจากจิวยี่
เป็นอันว่ากำลังหลักของซุนกวน 1 คือ เตียวเจียว 1 คือ จิวยี่
นี่คือจุดเริ่มต้นของซุนกวนเมื่อซุนเซกจากไปอย่างไม่ทันได้คาดคิดในปีค.ศ.200 เป็นจุดเริ่มต้นของชายหนุ่มที่มีอายุได้เพียง 19 ปี
รวม Link บทความวิถีแห่งอำนาจลกซุน
- สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน (1)
- รากฐาน ซุนกวน (2)
- โลซก จูกัดกิ๋น (3)
- ที่ปรึกษา ซุนกวน(4)
- สาแหรก ลกซุน(5)
- สภาพหลัง ค.ศ.200(6)
- ยุทธศาสตร์ แนวร่วม(7)
- ทำไม ต้อง เกงจิ๋ว (8)
- หนี้แค้น หองจอ (9)
- นายอำเภอ ลกซุน (10)
- การศึก ที่ฮุยเจี๋ยง (11)
- เป้าหมาย คือ เกงจิ๋ว (12)
- จุดยืน แน่วแน่ โลซก (13)
- ลิ้นลม ของ ขงเบ้ง(14)
- จิวยี่ ตัดสินใจ(15)
- บทวิเคราะห์ จิวยี่ (16)
- เทียเภา จิวยี่ (17)
- หลอกวนจง ขงเบ้ง (18)
- ลมบูรพา ขงเบ้ง (19)
- ขงเบ้ง ยืม เกาทัณฑ์ (20)
- สองด้าน ซุนกวน (21)
- สงคราม การข่าว (22)
- ลกซุน ใน เซ็กเพ็ก (23)
- เผด็จศึก เซ็กเพ็ก (24)
- ไฟ หรือ โรคระบาด (25)
- เริ่มยุค สามก๊ก (26)
- ลำกุ๋น เป็นเป้าหมาย (27)
- จิวยี่ ต้องเกาทัณฑ์ (28)
- จิวยี่ แสร้งตาย (29)
- เสียเกงจิ๋ว ซงหยง (30)
- ขงเบ้ง กับ โลซก (31)
- เกงจิ๋ว ยุทธภูมิสัญจร (32)
- การศึก ที่ หับป๋า (33)
- ย้อนกลับ เกงจิ๋ว (34)
- "ยืม" เมืองเกงจิ๋ว (35)
- จิวยี่ ซุนกวน โลซก (36)
- การตายของ จิวยี่ (37)
- คำสั่งเสีย จิวยี่ (38)
- โลซก เท่ากับ โง่ (39)
- นักการทูต โลซก (40)
- พระอาทิตย์ 2 ดวง (41)
- การทูต นำ การทหาร (42)
- โลซก กับ บังทอง (43)
- ขงเบ้ง อำลา เกงจิ๋ว (44)
- อนุสาสน์ ขงเบ้ง (45)
- จูกัดกิ๋น จูกัดเหลียง (46)
- หน้าเหล้า หน้าข้าว (47)
- การทหาร นำ การทูต (48)
- ศึกฮันต๋ง ศึกหับป๋า (49)
- เล่าปี่ คาย 3 เมือง (50)
- ซุนกวน สวามิภักดิ์ (51)
- กลยุทธ์ สุมาอี้ (52)
- กวนอู เหิมหาญ (53)
- ยกแรก ศึกอ้วนเสีย (54)
- แนวหลัง เกงจิ๋ว (55)
- กวนอู ทดน้ำ (56)
- หมันทอง สุมาอี้ (57)
- แม่ทัพง่อก๊ก ลิบอง (58)
- ลิบอง ทำ มารยา (59)
- อุบาย ของ ลกซุน (60)
- จังหวะก้าว ลกซุน (61)
- หนังสือ ลกซุน (62)
- ขึ้นเรือน ชักกระได (63)
- ชายชุดขาว ยึดเกงจิ๋ว (64)
- การเมือง การทหาร (65)
- กลยุทธ์ รบทางใจ (66)
- เกงจิ๋ว ปฏิเสธ กวนอู (67)
- เพลงฌ้อ 4 ทิศ (68)
- ลิบอง สยบ กวนอู (69)
- การตาย ของ ลิบอง (70)
- ศีรษะ กวนอู (71)
- 3 ปี ในความแค้น (72)
- จูล่ง จินปิด ทัดทาน (73)
- ทัพ 75 หมื่น เคลื่อน (74)
- ฐานะเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน (75)
- การทูต นำการทหาร (76)
- กลยุทธ์ ซุนกวน (77)
- การทหาร แพ้ราบ (78)
- บทบาท กำเต๊ก (79)
- แม่ทัพพิทักษ์ตะวันตก (80)
- ท่าทีฮันต๋ง จิวท่าย (81)
- แรงกดดัน ฮันต๋ง (82)
- ลกซุน จากมุมเล่าปี่ (83)
- ทัพลวง ทัพจริง (84)
- พระเจ้าโจผี ฟันธง (85)
- ขงเบ้ง วิเคราะห์ (86)
- 20 ค่าย เล่าปี่ราบ (87)
- การรุก ของ ลกซุน (88)
- เล่าปี่ พ่ายแพ้ ยับเยิน (89)
- ทัพวุยก๊ก เคลื่อน (90)
- ตีทัพ เมืองวุย ย่อยยับ (91)
- วาระสุดท้าย เล่าปี่ (92)
- กวนอู หรือ เกงจิ๋ว (93)
- อัตวิสัย เล่าปี่ (94)
- ถอยทางยุทธศาสตร์ (95)
- ได้ทีก็รุก รู้ยากก็ถอย (96)
- เกียรติภูมิ ลกซุน (97)
- ศึก 3 เส้า วุย จก ง่อ (98)
- กระบวนถอย ลกซุน (99)
- ข้าศึกแข็ง ให้เลี่ยง (100)
- ซุนกวน เป็นกษัตริย์ (101)
- ลกซุน ตรอมใจตาย (102)
- 62 ปี อันรุ่งโรจน์ (103)
- สถานการณ์ สร้างวีรบุรุษ(104)
- วิถี ขุนนาง ซื่อสัตย์ (105)
<< จบบริบูรณ์ >>
น่าอ่านมากครับ
ตอบลบงานเขียนของอาจารย์เสถียรชุด "วิถีแห่งอำนาจ" น่าอ่านและมีคุณภาพทุกชุดครับ
ลบส่วน "วิถีแห่งอำนาจลกซุน" คุณ Gene สามารถติดตามอ่านได้ที่หน้าบล็อกนี้เลย จะอัพเดท Link เรื่อย ๆ จบกว่าจะจบครับ
ตามอ่านมาตลอดส่วนตัวชอบลกซุนมากครับ
ตอบลบติดตามครับ
ตอบลบ