Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

คำคม ซุนเซ็ก

ประวัติย่อ คารม และคำคม ซุนเซ็ก
ซุนเซ็ก

ประวัติย่อของซุนเซ็ก

     ซุนเซ็ก (จีนตัวเต็ม: 孫策 จีนตัวย่อ: 孙策 พินอิน: Sūn Cè สำเนียงจีนกลาง ซุนฉี) ค.ศ. 174-ค.ศ. 200 เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กของประเทศจีน

     ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของซุนเกี๋ยน ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับอ้วนสุด และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับจิวยี่เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ และยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง

     ซุนเซ็กเป็นนักรบที่มีจิตใจห้าวหาญ ไม่กลัวใคร นับถือและชอบคบหากับผู้มีความสามารถ มีอุปนิสัยใช้คนอย่างไม่สงสัย ถ้าสงสัยไม่ใช้ สามารถเอาชนะใจไทสูจู้ด้วยการสู้รบกันตัวต่อตัวเป็นเวลานาน ซุนเซ็กมักไปไหนมาไหนด้วยตัวคนเดียว ไม่มีทหารติดตาม จึงถูกปองร้ายด้วยเกาทัณฑ์อาบยาพิษ ทำให้ได้รับบาดเจ็บ หมอผู้รักษาจึงเตือนว่าห้ามโกรธเป็นเวลาร้อยวัน แต่สุดท้ายซุนเซ็กก็ไม่สามารถระงับความโกรธได้และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยอายุเพียง 26 ปี ภายหลังซุนกวนน้องชายคนรอง ได้ขึ้นปกครองแทนกลายเป็นผู้นำของง่อก๊ก ซึ่งก่อนเสียซุนเซ็กได้สั่งเสียซุนกวนว่า "การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่"

     ภรรยาของซุนเซ็กคือ นางไต้เกี้ยวธิดาของเกี้ยวกงผู้เฒ่าแห่งเมืองกังตั๋ง พี่สาวของนางเสียวเกี้ยว ซึ่งเป็นภรรยาของจิวยี่

คำคม ซุนเซ็ก

  • “รบกันยังมิทันแพ้ชนะ แลท่านมาหนีเราดังนี้ เหมือนหนึ่งมิใช่ชาติทหาร” 
  • “กุยแกนั้นมีสติปัญญาประการใด จึงบังอาจว่ากล่าวหยาบช้าแก่เรานัก จำจะยกไปตีเอาเมืองฮูโต๋ให้จงได้ จะจับเอาตัวกุยแกฆ่าเสีย แล้วจะสับให้ละเอียดมิให้กากลืนแค้น” 
  • “ข้าพเจ้าไปทัพกับบิดา ก็ได้ฆ่าฟันผู้คนเสียเป็นอันมาก อุปมาเหมือนเมล็ดงาพ้นที่จะนับได้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีอันตราย ซึ่งข้าพเจ้าให้ฆ่าอิเกียด อันเป็นคนโกหกกลางเมืองเสียนั้น หวังจะบำรุงน้ำใจคนให้ตั้งอยู่ในความสัตย์ อย่าให้นับถือคนอันเป็นอสัตย์สืบไป”
  • “น้ำใจกูนี้ชังคนโกหกถือผี จึงฆ่ามึงเสีย บัดนี้มึงก็ตายแล้ว เหตุใดยังเป็นอสุรกายมาใกล้กู”
  • “ตัวเจ้าจะเป็นใหญ่ในเมืองกังตั๋งนี้ จงคิดตรึกตรองการสงครามให้ชำนาญ ในทางบกเรือเหมือนพี่ แต่ซึ่งการโอบอ้อมอารีเลี้ยงทหารนั้น เจ้ามีสติหนักหน่วงดีกว่าพี่ พี่นี้หากใจเร็วนัก อนึ่งเจ้าจะคิดอ่านการสิ่งใดซึ่งบิดากับพี่ซ่องสุม จัดแจงไว้ได้นั้นด้วยความยากลำบาก จึงมีบริบูรณ์เพียงนี้ เจ้าจงหมั่นบำรุงรักษา อย่าให้ข้าวของเป็นอันตรายได้”
  • “อันซุนกวนนี้ถึงเป็นเด็กก็จริง แต่สติปัญญามากกว่าข้าพเจ้าสิบส่วนอีก เห็นจะว่าการเมืองนี้ได้อยู่ อันการข้างในนั้นถ้าเหลือความคิด ก็ให้ปรึกษากับเตียวเจียว ซึ่งการทำสงครามนั้น ขัดสนประการใด ก็ให้คิดอ่านกับจิวยี่เถิด”

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,17,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,117,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,65,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: คำคม ซุนเซ็ก
คำคม ซุนเซ็ก
ประวัติย่อ คารม และคำคม ซุนเซ็ก
https://3.bp.blogspot.com/-cGmpi092vik/V35tANZJCJI/AAAAAAAAn-Y/wS7LXsC9Wlw7uRt1vKsApfhLQYro26QcQCPcB/s640/00000007_00521.jpg
https://3.bp.blogspot.com/-cGmpi092vik/V35tANZJCJI/AAAAAAAAn-Y/wS7LXsC9Wlw7uRt1vKsApfhLQYro26QcQCPcB/s72-c/00000007_00521.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2014/01/Sun-Ce-Quotes.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2014/01/Sun-Ce-Quotes.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ