Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

ลักษณะรูปงิ้วในเรื่องสามก๊ก สมัย ร.5

"สามก๊ก" เป็นวรรณกรรมจีนชั้นเอก ที่นิยมกันแพร่หลายไปทั่วโลก และอย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศไทยของเรามีการแปลเรื่องสามก๊กมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 เมื่อปี พ.ศ. 2345 ซึ่งอำนวยการแปลออกจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยโดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน) คนไทยเราจึงรู้เรื่องราวของสามก๊กพอ ๆ กับคนจีน และยกให้เป็นยอดแห่งนิทาน นอกเหนือจากหนังสือแล้ว คนไทยในสมัยก่อนยังมีโอกาสได้ชมงิ้วเรื่องสามก๊ก หรืออุปรากรจีน ที่ชาวจีนได้นำมาเผยแพร่อีกด้วย
ลักษณะรูปงิ้วในเรื่องสามก๊ก สมัย ร.5
อีกหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก
     "สามก๊ก" เป็นวรรณกรรมจีนชั้นเอก ที่นิยมกันแพร่หลายไปทั่วโลก และอย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศไทยของเรามีการแปลเรื่องสามก๊กมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 เมื่อปี พ.ศ. 2345 ซึ่งอำนวยการแปลออกจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยโดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน)

     คนไทยเราจึงรู้เรื่องราวของสามก๊กพอ ๆ กับคนจีน และยกให้เป็นยอดแห่งนิทาน นอกเหนือจากหนังสือแล้ว คนไทยในสมัยก่อนยังมีโอกาสได้ชมงิ้วเรื่องสามก๊ก หรืออุปรากรจีน ที่ชาวจีนได้นำมาเผยแพร่อีกด้วย 

     ตามหลักฐานที่ปรากฏเช่น "จดหมายเหตุลาลูแบร์" ของราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสนั้น เล่าว่าไทยเรารู้จักการแสดงงิ้วตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ราว ๆ ปี พ.ศ. 2230 แต่ยุคที่การแสดงงิ้วได้รับความนิยมสูงสุดนั้นตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่เรามีงิ้วทั้งคณะไทยและจีน รวมทั้งยังมีการเปิดโรงเรียนสอนงิ้วกับโรงงิ้วแสดงเป็นประจำมากมาย บนถนนเยาวราช

     ทั้งนี้ผมได้สืบค้นไปเจอเอกสารสำคัญสมัย รัชกาลที่5 ฉบับหนึ่งจากเว็บไซต์ "หนังสือเก่าชาวสยาม" ซึ่งบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ  ลักษณะรูปงิ้วไว้โดยละเอียด เพราะอธิบายลักษณะกายแต่งกายของตัวละครสำคัญจากวรรณกรรมจีน อาทิเช่น เลียดก๊ก ไซ่ฮั่น และ สามก๊ก

     เอกสารสำคัญฉบับนี้คือหนังสือชื่อ “วารสารวชิรญาณวิเศษ” วารสารสมัย ร.5 ที่ออกในนามหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระบรมราชตระกูล ซึ่งในเล่ม 5 ฉบับวัน อาทิตย ที่ 5 เดือน ตุลาคม รัตนโกสินทร ศก 109 (พ.ศ. 2433) มีตอนสำคัญที่เรากล่าวถึงในชื่อเรื่องว่า "ลักษณรูปงิ้ว ที่กรมพระราชวังบวรทรงไว้" 

     เพื่อเป็นเครื่องระลึก ความทรงจำ และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ "สามก๊กวิทยา" จึงขออนุญาตคัดลอกบทความ "ลักษณรูปงิ้ว ที่กรมพระราชวังบวรทรงไว้"  มาบันทึกไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

วารสารวชิรญาณวิเศษ

ลักษณรูปงิ้ว ที่กรมพระราชวังบวรทรงไว้

เลียดก๊ก

กงจูกีกอง   หน้าสิวเซง   หมวกไทรือ  ปักขนนก  เสื้อมังกร
ง่อจูสู หน้าเล่าเซง หมวกสักหลาดแดงมีหาง เสื้อสั้น
ทหารรอง หน้าขาวดุ สิวเซง หมวกพับข้าง เสื้อสั้น
จวนจู หน้าดำ หนวดเคราสั้น หมวกสาน รองเท้าปอ
อองเหลียวเจ้าเมือง หน้าแดง ปากนก หมวกไทจือ ปักขนนก
ทหารอองเหลี่ยวสองนาย หน้าแลชื่อมิได้ปรากฏ ยายแด่ท่านมารดาอองเหลียว เจ้าเมืองหงอ
เลงก๋งเจ้าเมืองติน หน้าตลก หมวกเหลี่ยม เสื้อมังกรแดง
กงเหลง หน้าเล่าเซง หมวกขุนนางใบโพพัด เสื้อปักนกยาง
อางฮู หน้าสิวเซง หมวกขุนนางใบโพกลม เสื้อปักนกยาง

ไซ่ฮั่น

พระเจ้าฮั่นอ๋อง หน้าเล่าเซงเครา หมวกอ๋อง เกราะน้อย ถือกระบี่สองมือ
ฮั่นสินแม่ทัพ หน้าเล่าเซง หมวกจิมเอง เกราะใหญ่ ถือทวน
เดียวเหลียง หน้าเล่าเซง หมวกแพรปัก เสื้ออาจารย ถือแซ่
หยินโป๊ หน้าดำ หมวกสี่สะ เสือปักขนนก เกราะใหญ่ ถือขวาน
ห้วนโกย หน้ากังสิน หมวกเล่าเปา เกราะเล็ก ถือทวน
กวนหยิน หน้าเล่าเซง หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือตะบอง
ลุยหวน หน้ากังสิน หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือขวาน
ตันบู หน้าสิวเซง หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือตะบอง
อองหลิน หน้าสิวเซง หมวกเล่าเปา เกราะเล็ก ถือทวน
โลกวน หน้าดุ หนวดสั้น หมวกปักเสื้ออ่อ ถือง้าว
พระเจ้าฌ้อปาอ๋อง หน้าดำ หมวกจิมเองใหญ่ เกราะเหลืองใหญ่ ถือทวน
ไตสุมาทางเบ็ก หน้าเล่าเซงแก่ หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือกระบี่สองมือ
จงลิมวย หน้าแดง เกราะใหญ่ หมวกเหลี่ยม ถือทวน
ควั่นฌอ หน้าดุ ตาโตหนวดสั้น หมวกเล่าเปา เกราะเล็ก ถือง้าว
กี๋โป้ หน้าสิวเซงดุ หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือง้าว
จิวอุน หน้าแดงอ่อน หมวกเล่าเปา เกราะเล็ก ถือทวน
ไทก๋ง หน้าเล่าเซงเคราแก่ หมวกเสื้ออย่างคนโทษ
ลองโจทหารใหญ่ หน้าดำ ใส่หมวกสีสะ เสื้อปักขนนก เกราะใหญ่
จิวลันทหาร หน้าเล่าเซง ใส่หมวกเล่าเปา เกราะใหญ่
ขันท์สำหรับกระษัตรี ๒ คน หน้าสิวเซง ใส่หมวกดำ เสื้อเหลือง มีครุย
ฮันสินงวนโซย หน้าสิวเซง ใส่หมวกจิมเอง เกราะใหญ่
โจฉำทหาร หน้าดำ ใส่หมวกเหลี่ยม เกราะใหญ่
ตันบูทหาร หน้าเล่าเซง ใส่หมวกเหลี่ยม เกราะกลาง
แฮเอาหยินทหาร หน้าเล่าเซงดุ หมวกเหลี่ยม เกราะกลาง
เจ๋อ๋องเจ้าเมืองเจ๋ หน้าเล่าเซงดุ ใส่หมวกเหลี่ยม เสื้อมังกร เกราะใหญ่
เตียนเหงทหาร หน้าแดง ใส่หมวกเล่าเปา เกราะใหญ่
สีเสงที่ปรึกษาฮั่นอ๋อง หน้าเล่าเซง ใส่หมวกขุนนาง เสื้อปักนกยาง

ลักษณรูปงิ้วในเรื่องสามก๊ก

แกฮัว หน้ากังสิน หนวดสั้น หมวกเสนากุดอย่างไทย เกราะเลว
เกงเหลี่ยง หน้าสิวเซงดุ หมวกขุนนาง เสื้อปักนกยาง
เกียงอุย หน้าแดง หมวกเล่าเปา เกราะใหญ่ ถือทวน
กวนอูทหารใหญ่ หน้าแดง หมวกเล่าเปาเขียวเกราะเขียว ถือง้าว
กวนหิน หน้าแดง ไม่มีหนวด หมวกเล่าเปาเขียว เกราะเขียวเล็ก ถือง้าว
นางเกียวก๊กโล้ หน้าเล่าเซงแก่ หมวกโจโฉเสื้อมังกรขาว
ขงเบ้ง หน้าเล่าเซง หมวกแพงปัก เสื้อลายตาตราง สวมประคำ ถือแซ่
ขันที สำหรับกระษัตริย์ ๒ คน หน้าสิวเซง หมวกดำ เสื้อเหลือง ...ครุย
เคาทู หน้าดำ หมวกสารเสือ เกราะดำใหญ่ ถือง้าว
นางงอก๊กไท ผู้หญิงแก่ เสื้อมังกรแดง มีกรอบหยก
งอลัน หน้าธรรมดา หนวดยาว หมวกเหลี่ยม
งออี้ หน้าตลก หนวดสั้น หมวกเหลี่ยม
งันเหลียง หน้าแดง หนวดยาว หมวกเล่าเปาแดง ปักขนนก
งุยซก หน้าตลก หนวดสั้น หมวกตลก
จูหลงทหารใหญ่ หน้าสิวเซง หมวกเล่าเปาขาว เกราะขาว ถือทวน
โจโฉ หน้ากังสิน หนวดยาว หมวกกุนซือ
โจหอง หน้าแดง หมวกเล่าเป่าแดง เกราะแดงใหญ่ ถือง้าว
จิวท้ายทหาร หน้าเล่าเซง หมวกสิวเซง
จิวยี่ทหารใหญ่ หน้าสิวเซง หมวกไตจือ ปักขนนก เกราะใหญ่ขาว
ชีสิ้ว หน้าเล่าเซง หมวกขุนนาง
ชีเส้งทหาร หน้าเล่าเซงเครา หมวกเหลี่ยมเกราะเล็ก
ซัวมอ หน้าดำ หนวดขาว หมวกเล่าเปา เกราะใหญ่ ถือง้าว
ซิหลง หน้าเล่าเซง หมวกเล่าเปาแดง เกราะแดงใหญ่
ซงเหียน หน้าขาวดุ หนวดยาว หมวกเหลี่ยม
ซุ่นเกียน หน้ากังสิน หนวดยาว หมวกเหลี่ยม เสื้อมังกร เกราะใหญ่ ถือง้าว
ซุ่นเซ็ก หน้าแดงดุ หนวดสั้น หมวกไทจือ ปักขนนก เกราะใหญ่ ถือทวน
ซุ่นกวน เจ้าเมืองกังตั๋ง หน้าสีเมล็ดมะปราง หนวดแดง หมวกอ๋อง ปักขนนก เสื้อมังกรเขียว
นางซุนฮูหยิน ผู้หญิงเด็ก เสื้อมังกรแดง มีกรอบหยก
ซุยฮูทหาร หน้าเล่าเซงเครา หมวกเหลี่ยม
ตั๋งโต๊ะ หน้ากังสินแก่ หมวกอ๋อง เสื้อมังกรแดง
เตงหองทหาร หน้าตลก หมวกตลก เสื้อเกราะเล็ก
เตงเหียน หน้าธรรมดา หมวกเล่าเป่า หนวดยาว
ตันเสง หน้าดำอ่อน หนวดยาว หมวกเล่าเปา เกราะเล็ก ถือง้าว
เตียวหุยทหารใหญ่ หน้าดำ หมวกเล่าเปาดำ เกราะดำ ถือทวน
เตียวเลี่ยว หน้าขาวดุ หมวกเหลี่ยม
เตียวหยิม หน้าแดงเล็ก หนวดยาว หมวกเล่าเปา
เตียวเฮา หน้าสิวเซงดุ หมวกตลก เกราะเล็กถือทวน
เตียวเปา หน้าดำ ไม่มีหนวด หมวกเล่าเปาดำ เกราะดำเล็ก ถือทวน
เตียวเอ๊ก หน้าดำอ่อน หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือง้าว
นางเตียวเสี้ยน หน้าขาว มีกรอบหน้า เสื้อดอกไม้ร่วงทอง
ถ้ำหยงทหาร หน้าดำ หนวดเครา หมวกเล่าเปาดำ
เทียเภา หน้าเล่าเซงเครา หมวกเล่าเปา เกราะใหญ่ ถือทวน
บังทอง หน้าม่วง หนวดเคราสั้น หมวกแพรปัก
บังเต๊ก หน้าสีคราม กระบังหน้าปักขนนก เกราะใหญ่ ถือง้าว
บุนทิว หน้าดำ หนวดยาว หมวกเล่าเปาดำปักขนนก
บิต๊ก หน้าเล่าเซง หมวกขุนนาง เสื้อปักนกยาง
โพเจียงทหาร หน้าดำดุ หมวกหงปักขนนก
ม้าเจ๊ก หน้าเล่าเซงตลก มีกระบังหน้า เกราะใน เบ๊กัวนอก
ม้าจุ้น หน้ากังสิน หมวกเหลี่ยม เกราะใหญ่ ถือทวน
ม้าเฉียว หน้าสิวเซง หมวกจิมเองใหญ่ เกราะขาวใหญ่ ถือทวน
ม้าต้าย หน้าสิวเซง หมวกเหลี่ยม เกราะน้อย เสื้อสั้น ถือทวน
ม้าเหลียง หน้าเล่าเซง หมวกเหลี่ยม
ลิก๋ง หน้าเล่าเซง หมวกเหลี่ยม เกราะเล็ก ถือทวน
ลิซก หน้าตลก หมวกขุนนาง ปักอิแปะ เสื้อปักนกยาง
ลิโป้ หน้าสิวเซง หมวกไทจือปักขนนก เกราะขาวน้อยถือทวน
ลิถอง หน้าสิวเซงดู หมวกเล่าเปาอ่อน เกราะน้อยถือทวน
ลิอิน หน้าเล่าเซง หมวกขุนนาง เสื้อปักนกยาง
ลิฮอม หน้าเล่าเซง หมวกขุนนาง เสื้อมังกรแดงมีกรอบหยก
โลซก หน้าเล่าเซง หมวกขุนนาง เสื้อปักนกยาง
เล่าปี่ เจ้าเมืองเกงจิ๋ว หน้าเล่าเซง หมวกอ๋อง เสื้อมังกรแดงมีกรอบหยก
เล่ากุย หน้าตลก หมวกเหลี่ยม หนวดสั้น
เล่าเจียง หน้าสิวเซง หมวกเหลี่ยม
เล่าชุน หน้าสิวเซง หมวกลิโป้
เล่าต้าย หน้าเล่าเซง หมวกเหลี่ยม
เล่าเปียว หน้าเล่าเซงแก่ หมวกเหลี่ยม เสื้อมังกร
เหลงเปา หน้าแดง หนวดแดง มีกระบังหน้าปักขนไก่
ลุยต๋อง หน้าตา หนวดยาว หมวกเล่าเปา
สุมาเจียว หน้าสิวเซง หมวกไทจือ ปักขนไก่ เกราะน้อยถือทวน
สุมาซือ หน้าแดงปนดำ มีปมหางตาขวา หมวกไทจือ ปักขนไก่ ถือทวน
สุมาอี้ หน้าเล่าเซง หมวกจิมเอง
สิวเจ๊าทหาร หน้าตลก หมวกตลก
หองจอ หน้าตลก หนวดสั้น หมวกดอก เกราะเล็ก ถือดาบ
อองเป๋ง หน้าสิวเซง หมวกเหลี่ยม เกราะใน เบกัวนอก
อองต๋ง หน้าดำดุ หนวดสั้น หมวกเหลี่ยม
อองอุ่น หน้าเล่าเซงแก่ หมวกขุนนางปีกพัด เสื้อปักนกยาง
อ้วนเสี้ยว หน้ากังสิน หนวดยาว หมวกอ๋อง
อุยกาย หน้าแดงอ่อน หนวดขาว หมวกเหลี่ยม เสื้อเบ๊กัว ทับเกราะ ถือง้าว
อุยเอี๋ยนทหาร หน้าม่วง หมวกเล่าเปาม่วง เกราะม่วง ถือง้าว
เอียวเป๊ก หน้าเล่าเซงเครา กังสิน หมวกเหลี่ยม เกราะใหญ่ ถือง้าว
ฮันซุย หน้าเล่าเซง หมวกจิมเองปักนก เสื้อมังกรเขียว
ฮันต๋งทหาร หน้าเล่าเซง หมวกเหลี่ยม เสื้อเบ๊กัวทับเกราะ ถือทวน
ฮ่องตงทหารใหญ่ หน้าแดงอ่อน หนวดขาว หมวกเล่าเปาเหลือง เกราะเหลือง

รูปภาพสแกนจากวารสารวชิรญาณวิเศษ

รูปภาพสแกนจากวารสารวชิรญาณวิเศษ

รูปภาพสแกนจากวารสารวชิรญาณวิเศษ

รูปภาพสแกนจากวารสารวชิรญาณวิเศษ

รูปภาพสแกนจากวารสารวชิรญาณวิเศษ

รูปภาพสแกนจากวารสารวชิรญาณวิเศษ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,17,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,117,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,65,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: ลักษณะรูปงิ้วในเรื่องสามก๊ก สมัย ร.5
ลักษณะรูปงิ้วในเรื่องสามก๊ก สมัย ร.5
"สามก๊ก" เป็นวรรณกรรมจีนชั้นเอก ที่นิยมกันแพร่หลายไปทั่วโลก และอย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศไทยของเรามีการแปลเรื่องสามก๊กมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 เมื่อปี พ.ศ. 2345 ซึ่งอำนวยการแปลออกจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยโดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน) คนไทยเราจึงรู้เรื่องราวของสามก๊กพอ ๆ กับคนจีน และยกให้เป็นยอดแห่งนิทาน นอกเหนือจากหนังสือแล้ว คนไทยในสมัยก่อนยังมีโอกาสได้ชมงิ้วเรื่องสามก๊ก หรืออุปรากรจีน ที่ชาวจีนได้นำมาเผยแพร่อีกด้วย
https://1.bp.blogspot.com/-G45bulQGz7Q/UrmaT5V20FI/AAAAAAAAdt4/HETI8tinb7w/s640/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A3.5.jpg
https://1.bp.blogspot.com/-G45bulQGz7Q/UrmaT5V20FI/AAAAAAAAdt4/HETI8tinb7w/s72-c/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A3.5.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2013/12/beijing-opeara-chulalongkorn.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2013/12/beijing-opeara-chulalongkorn.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ