Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

สมีกำ - อิเกียด

ในสมัยสามก๊กเองมีนักบวชผู้อวดคุณวิเศษมากมาย แม้จะไม่ได้เป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรือไม่อาจเรียกว่าเป็น "สมี" ได้เต็มปากเต็มคำนัก ยกตัวอย่างเช่น "เตียวก๊ก" ผู้วิเศษที่อ้างว่าได้คำภีร์ไทเผงเยาสุดมาจากเทพเทวดา แล้วสร้างศรัทธาหลอกลวงประชาชนให้กลายเป็นโจรโพกผ้าเหลือง สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่ว เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทั้งมวลในเรื่องสามก๊ก นอกจากเตียวก๊กแล้ว เรายังมี "สมี" อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตน่าสนใจ เพราะเขาคนนี้มีกำเนิดคล้ายคลึงกันกับเตียวก๊ก เพียงแต่ว่าถูกกำจัดไปเสียก่อน นั่นก็คือ "อิเกียด" (于吉 , Yu Ji)
สมีกำ - อิเกียด

     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ระบุความหมายของคำว่า "สมี" คำที่โด่งดังอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ ในปัจจุบันว่าเป็น "คําเรียกพระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก" ซึ่งในพจนานุกรมของ อ.เปลื้อง ณ นคร ก็ได้ให้ความหมายไปในแนวทางเดียวกันว่า "คำเรียกคนถูกไล่สึกจากพระ เพราะต้องอาบัติปาราชิก บุคคลที่เป็นสมีจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต"

     พระที่ต้องอาบัติปาราชิกนั้น เกิดจากการกระทำ 4 ข้อ คือ
  1. เสพเมถุน
  2. ลักขโมย
  3. ฆ่ามนุษย์
  4. พูดอวดคุณวิเศษ
     ในสมัยสามก๊กเองมีนักบวชผู้อวดคุณวิเศษมากมาย แม้จะไม่ได้เป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรือไม่อาจเรียกว่าเป็น "สมี" ได้เต็มปากเต็มคำนัก ยกตัวอย่างเช่น "เตียวก๊ก" ผู้วิเศษที่อ้างว่าได้คำภีร์ไทแผงเยาสุดมาจากเทพเทวดา แล้วสร้างศรัทธาหลอกลวงประชาชนให้กลายเป็นโจรโพกผ้าเหลือง สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่ว เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทั้งมวลในเรื่องสามก๊ก

      นอกจากเตียวก๊กแล้ว เรายังมี "สมี" อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตน่าสนใจ เพราะเขาคนนี้มีกำเนิดคล้ายคลึงกันกับเตียวก๊ก เพียงแต่ว่าถูกกำจัดไปเสียก่อนที่จะสร้างศรัทธาขนาดกลายเป็นกองกำลังป่วนเมือง นั่นก็คือ "อิเกียด" (于吉 , Yu Ji)

 ประวัติย่อของอิเกียด 

ผีอิเกียดมาหลอกหลอนซุนเซ็ก
ผีอิเกียดมาหลอกหลอนซุนเซ็ก
     ในหนังสือ "พิชัยสงครามสามก๊ก" ของคุณสังข์ พัธโนทัย เขียนถึงอิเกียดไว้ว่า

    "อิเกียด (于吉 , Yu Chi) เป็นชาวหลงเสีย ( หลังเอ๋ย์ ) มณฑลซานตุง ตั้งตัวเป็นเต้าหยินผู้วิเศษ เข้าไปหลอกลวงประชาชนในเขตแคว้นกังตั๋ง ซึ่งซุนเซ็กเป็นผู้ปกครอง มีผู้นิยมเลื่อมใสมาก ซุนเซ็กไม่เชื่อถือ และเกรงว่าอิเกียดจะซ่องสุมผู้คนก่อการร้ายเป็นภัยแก่ตน จึงให้ทหารจับตัวไปฆ่าเสีย แล้วเอาศพประจานไว้ ณ ทางสามแพ่ง คืนนั้นซุนเซ็กเห็นรูปอิเกียดเดินกรายแขนเข้ามาตรงหน้า ก็โกรธ ชักกระบี่ออกฟัน แล้วล้มสลบและล้มเจ็บ ไม่ช้าก็ตายตามอิเกียดไปด้วย"

 ทัศนะทั่วไปเกี่ยวกับอิเกียด 

"อิเกียด" มีชื่อจริงว่า "กำเกียด"
"อิเกียด" มีชื่อจริงว่า "กำเกียด"
     ส่วนมากเมื่อพูดถึงอิเกียด เรามักจะคิดว่านี่เป็นเรื่องแต่งอีกเรื่องหนึ่งของหลอกว้านจง เพราะในบันทึกสามก๊กจี่ หรือสามก๊กฉบับประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏว่า อิเกียดเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของซุนเซ็กแต่อย่างใด

     แต่คนอัจฉริยะระดับหลอกว้านจง "ไม่มีมูล" เขาคงไม่นำมาเขียนเป็นเรื่องราว เพราะเรื่องของอิเกียดนั้น ต่อมาภายหลังได้มีการตรวจชำระประวัติศาสตร์ใหม่ และค้นพบว่าเรื่องของอิเกียดนั้นมีบันทึกอยู่จริง เพียงแต่ว่าปรากฏในบันทึกอื่นที่ไม่ใช่สามก๊กจี่ เช่นในจดหมายเหตุโห้ฮั่นสู่ (后汉书) หรือจดหมายเหตุฮั่นยุคหลัง ของนักประวัติศาสตร์จีนชื่อ ฟานเย่ว์ (范晔)  (398–445) และบันทึกเจียงเปียวจ้วน (江表傳) ที่เผยซงจื่อนำมาใช้เขียนเป็นอนุทินต่อท้ายสามก๊กจี่อยู่บ่อย ๆ

      ที่สำคัญก็คือนักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า "อิเกียด" เป็นชื่อที่เขียนผิด และควรจะเขียนเป็น "กานจี๋" (干吉 , Gan Ji) มากกว่า


      "กานจี๋" เขียนด้วยตัวอักษรจีนว่า "干吉" ส่วน "อิเกียด" เขียนว่า "于吉"(อ่านว่า อวี่จี๋) หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าตัวอักษรจีนตัวแรกนั้นแตกต่างกัน ตรงที่ตัวหนึ่งมีหัวแต่อีกตัวไม่มี นั่นจึงหมายความว่าเกิดการผิดพลาดในการถ่ายทอดคำในหนังสือสามก๊ก ทำให้ชื่อ กานจี๋ จึงกลายมาเป็น อวี่จี๋

      ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับการออกเสียงสมัยเจ้าพระยาพระคลัง(หน) รวมทั้งให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (พระที่เสพเมถุน อวดคุณวิเศษ ใส่ Ray-Ban หิ้วกระเป๋า Louis Vuitton) ผมจะขอเรียก "กานจี๋" ว่า "กำเกียด" และเรียกแบบเหน็บแนมว่า "สมีกำ"

 ประวัติของกำเอียด 

     Dr.Rafe de Crespigny ผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองจีนและเอเซีย ได้เขียนประวัติของกำเกียดไว้ในหนังสือชื่อว่า "A BIOGRAPHICAL DICTIONARY OF LATER HAN TO THE THREE KINGDOMS (23-220 AD)" ซึ่งเป็นสารานุกรมเล่มโตเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญของจีนสมัยฮั่นยุคหลังจนถึงยุคสามก๊ก แปลจากอังกฤษเป็นไทย ได้ดังนี้

กำเกียด (Gan Ji , 干吉) หรือ อิเกียด (Yu Ji ,于吉)
กำเกียด (Gan Ji , 干吉) หรือ อิเกียด (Yu Ji ,于吉)
     กำเกียด (Gan Ji , 干吉) หรือ อิเกียด (Yu Ji ,于吉) (เสียชีวิต ปี ค.ศ.200) ; ชาวเมืองลงเสีย (Langye) ในเอกสารและบันทึกสมัยใหม่เขียนสกุลของเขาว่า อิ, ซึ่งก็ดูเป็นปกติแต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการถกเถียงกันว่า การออกเสียงที่ถูกต้องควรเรียกว่า กำ ,และเป็นที่ยอมรับของข้าพเจ้า

      ในปี ค.ศ.200 กำเกียดมีอาชีพเป็นครูสอนศาสนา อยู่ในแคว้นยังจิ๋วทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งดินแดนแถบนั้นปกครองโดยขุนพลหนุ่มนามว่าซุนเซ็ก เนื่องจากผู้คนเคารพยกย่องกำเกียดมาก ซุนเซ็กจึงไม่พอใจ

     มีเรื่องราวความโกรธของซุนเซ็กหลายเรื่อง เรื่องแรกคือ ระหว่างที่ซุนเซ็กกำลังให้โอวาทกับกองทหารอยู่ กำเกียดได้เดินทางผ่านมาพอดี เหล่าทหารของซุนเซ็กจึงหันไปให้ความสนใจแก่กำเกียดมากกว่า ส่วนเรื่องที่สองเล่าว่า กำเกียดอยู่ในกองทัพของซุนเซ็ก เขาเรียกฝนมาเพื่อช่วยให้เรือขนส่งเดินทางไปต่อได้ แต่ซุนเซ็กกลับไม่พอใจ เพราะเห็นเหล่าทหารชื่นชมกำเกียดมากกว่าตน ซุนเซ็กจึงสังหารกำเกียด

     ลูกศิษย์ของกำเกียดอ้างว่า กำเกียดมิได้ถูกฆ่าตาย เพราะเขาเป็นอมตะ ในเรื่องเล่ายังกล่าวต่อว่า ต่อมาเมื่อซุนเซ็กได้รับบาดเจ็บ เขามองดูกระจกแล้วพบว่าใบหน้าของเขากลายเป็นหน้าของกำเอียด ซุนเซ็กจึงคลุ้มคลั่งสังเวชใจ จนพิษบาดแผลกำเริบและเสียชีวิตในที่สุด

       ในวิชาคำสอนและพิธีกรรมของกำเกียดนั้น ประกอบด้วยการรักษาโรค ซึ่งคล้ายคลึงกับวิชาของเตียวก๊ก หัวหน้าโจรโพกผ้าเหลือง และเตียวเหลง จ้าวลัทธิทางภาคตะวันตก (ปู่ของเตียวฬ่อ ลัทธิห้าทะนานข้าวสาร) มีความเกี่ยวเนื่องกันมาตามตำราวิเศษ ชื่อ ไทแผงจิ้ง (Taiping Jing , 太平經)

     ในประวัติของเซียงกาย (Xiang Kai) ขุนนางสมัยพระเจ้าฮวนเต้ ปี ค.ศ.166 (จากจดหมายเหตุโห้ฮั่นสู่ , Hou Han Shu , History of the Later Han) ได้กล่าวว่าตำราวิเศษเล่มนี้ ลูกศิษย์ของกำเกียดชื่อว่า กงฉง (Gong Chong) เคยนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระเจ้าชุนเต้ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเซียงกายก็อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย โดยในชีวประวัติของเซียงกาย เขียนไว้ว่าตำรานี้ชื่อ ไทแผงชิงเหลงสู่/เต้า (Taiping qingling shu/dao , 太平清领书/ ) แปลว่า "หนทางสู่ความสงบสุข , หัวเขียว" มีเนื้อหารวม 170 บท เขียนบทผืนผ้าไหมสีเขียวอ่อน ขอบสีแดงชาด หัวเรื่องเขียนด้วยสีเขียวเข้ม ชื่อเรื่องเขียนด้วยสีแดงชาด อันสีเขียวและสีแดงชาดเป็นสีของความศักดิ์สิทธิ์

     กำเอียด และกงฉง เป็นผู้ค้นพบตำราเล่มนี้ที่น้ำพุกู่หยัง (Quyang) เมืองแห้ฝือ เนื้อหาเกี่ยวกับสรวงสวรรค์ หยิน-หยาง ธาตุทั้งห้า และพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ทางราชสำนักจึงไม่ยอมรับตำราเล่มนี้ โดยเซียงกายได้ลงความเห็นว่าเป็นตำราที่ไร้ประโยชน์ ต่อมาภายหลังตำราเล่มนี้จึงตกไปอยู่ในมือของเตียวก๊ก

 ความเป็น "สมี" 

อิเกียดกับซุนเซ็ก
อิเกียดกับซุนเซ็ก จากสามก๊ก1994 โปรดสังเกตความอลังการของขบวนแห่ว่าต่างกันขนาดไหน
     เรื่องของกำเกียด แม้จะมีชื่ออยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายฉบับ แต่ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงของนักประวัติศาสตร์อยู่ว่า เขามีตัวตนจริงหรือไม่ ? เพราะบ้างก็อ้างว่าเป็นเรื่องที่แต่งเติมขึ้นเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ลัทธิเต๋าสายของเตียวก๊ก และเตียวเหลง ให้เห็นถึงความวิเศษที่สามารถเรียกลมเรียกฝน เสกน้ำมนต์รักษาโรคร้าย ล่องหนหายตัว หรืออยู่ยงคงกระพัน

     กระนั้นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงเช่นนี้ ก็ต้องตามตำราและเข้าข้ายของการเป็น "สมี" ทั้งสิ้น

     ในวรรณกรรมสามก๊ก ซุนเซ็กสังหารกำเกียดก็เพราะเห็นว่า กำเกียดมีวิชาและแนวทางการประพฤติตนไม่ต่างจากเตียวก๊ก อาศัยคุณวิเศษ สร้างความเคารพศรัทธา และแสวงหาอำนาจใส่ตัว ขืนปล่อยไว้เหตุการณ์จะซ้ำรอยเมื่อครั้งโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กไม่ยอมรับว่ากำเกียดเป็นนักบวชผู้ทรงศีล แต่เป็นแค่สมีธรรมดา

อิเกียดจากสามก๊ก 1994
อิเกียดจากสามก๊ก 1994 ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ใด ๆ และตายในดาบเดียว
     ส่วนในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดสามก๊ก ปี1994 ที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาพยนตร์สามก๊กที่สมบูรณ์และคงโครงเรื่องของหลอกว้านจงไว้มากที่สุด ก็ยังถูกทางการจีนตัดฉากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ของกำเกียดออก (รวมทั้งเตียวก๊กด้วย) เพราะล้วนเป็นเรื่องของ "สมี" หลอกลวงผู้คนให้งมงาย

     "สมีกำ" จบชีวิตไปนานแล้ว แต่เขายังอยู่ยงคงกระพัน ไม่ตายหายไปไหน ลัทธิเต๋าสายสมีกำ ปัจจุบันในแผ่นดินจีนก็ยังคงมีผู้สืบทอดนับถือกันเรื่อยมาถึงทุกวันนี้ ส่วนแนวทางของการเป็น "สมี" ก็ยังมีคนใช้หากิน มีคนเชื่อ หลงศรัทธางมงายไม่ขาด

    จะคนในสมัยสามก๊ก หรือคนในยุคดิจิตอล "สมี" ก็ยังหลอกคนได้ หลอกคนดี ... ทุกวันนี้ยังล่องหน หาไม่ยักเจอ ...

  สามก๊ก1994 ตอน ซุนเซ็กสิ้นชีพ 


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ภาพกำเกียดเสกน้ำมนต์ จากการ์ดเกมของจีน
ภาพกำเกียดเสกน้ำมนต์ จากการ์ดเกมของจีน

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 2
  1. ไม่ระบุชื่อ8 ตุลาคม 2556 เวลา 17:34

    ทั้งชื่อทั้งนามสกุลทำให้จำสับสนกับ อิกิ๋ม (Yu Jin)

    ตอบลบ
  2. โห..ผมผ่านบทความนี้มาได้ไงเนี่ย
    ขอบคุณ บล็อค สามก๊กมากครับ
    ได้ความรู้สุดยอดเลย

    ตอบลบ

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,17,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,117,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,65,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: สมีกำ - อิเกียด
สมีกำ - อิเกียด
ในสมัยสามก๊กเองมีนักบวชผู้อวดคุณวิเศษมากมาย แม้จะไม่ได้เป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรือไม่อาจเรียกว่าเป็น "สมี" ได้เต็มปากเต็มคำนัก ยกตัวอย่างเช่น "เตียวก๊ก" ผู้วิเศษที่อ้างว่าได้คำภีร์ไทเผงเยาสุดมาจากเทพเทวดา แล้วสร้างศรัทธาหลอกลวงประชาชนให้กลายเป็นโจรโพกผ้าเหลือง สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่ว เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทั้งมวลในเรื่องสามก๊ก นอกจากเตียวก๊กแล้ว เรายังมี "สมี" อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตน่าสนใจ เพราะเขาคนนี้มีกำเนิดคล้ายคลึงกันกับเตียวก๊ก เพียงแต่ว่าถูกกำจัดไปเสียก่อน นั่นก็คือ "อิเกียด" (于吉 , Yu Ji)
https://1.bp.blogspot.com/-1cNa_orUnZo/UinUzlLIzJI/AAAAAAAAcv8/MtskzKAPkXU/s1600/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B3-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94.jpg
https://1.bp.blogspot.com/-1cNa_orUnZo/UinUzlLIzJI/AAAAAAAAcv8/MtskzKAPkXU/s72-c/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B3-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2013/09/Yu-Ji-Gan-Ji.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2013/09/Yu-Ji-Gan-Ji.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ